สาขาวิชาโรคข้อและรูมติสซึ่ม

 

 

สาขาวิชาโรคข้อและรูมติสซึ่ม
 (Division of Rheumatology)

 

               สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้บริการทางการแพทย์ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (autoimmune diseases) โดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มโดยตรง ทางหน่วยเน้นการให้บริการผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยจะมีแพทย์ที่เกี่ยวข้องหลายสาขาร่วมกันดูแลผู้ป่วย เช่น กุมารแพทย์โรคผิวหนัง กุมารแพทย์โรคไต กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศัลยกรรมกระดูกและข้อ  แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีแพทย์ จักษุแพทย์ ตลอดจนพยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยตรง นอกจากนี้หน่วยยังเป็นสถาบันการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดกุมารเวชศาสตร์อนุสาขาโรคข้อและรูมาติสซั่มแห่งแรกของประเทศไทย และทางหน่วยยังทำงานวิจัยเรื่องโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการรักษาผู้ป่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็กให้ทันสมัยและเหมาะสมกับระบบบริการสาธารณสุขของไทย และยังเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในโรคข้อและรูมาติสซั่มเพื่อเฝ้าระวังและสามารถดูแลตนเองได้ต่อไป

           1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.โสมรัชช์  วิไลยุค      หัวหน้าหน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก

                วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว.กุมารเวชศาสตร์,

                                          อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว

                                          ประกาศนียบัตรกุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก (Ambulatory Pediatrics)

                                          Cert. in Pediatric Rheumatology (USA)

           2.  อาจารย์ พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์    

                วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว.กุมารเวชศาสตร์

                                          ประกาศนียบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม

           3.  อาจารย์ พญ. บุษบง ฤกษ์วลีกุล

                วุฒิการศึกษา     พ.บ., ว.ว.กุมารเวชศาสตร์

                                          ประกาศนียบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม

           1.  นางสาวจุฑามาศ  แสนทวีสุข   พยาบาล

           2.  นางสาวปารมี  จารุพันธ์            เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

งานด้านบริการผู้ป่วย

     1. ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาโรคข้อและรูมาติสซั่ม

     2.  เป็นแหล่งศึกษาและพัฒนางานวิจัยในเรื่องโรคข้อและรูมาติสซั่ม เช่น โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ (Juvenile idiopathic arthritis)

          โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue diseases) โรคหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis)

     3.  ถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรในระบบสาธารณสุขทุกระดับ ตั้งแต่นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด กุมารแพทย์ แพทย์ทั่วไป

     4.  ให้คำปรึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อเฝ้าระวังและดูแลตัวเองในเบื้องต้นหากเป็น

          โรคกลุ่มภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (autoimmune diseases)

ตารางออกตรวจ

     คลินิกในเวลาราชการ

            คลินิกโรคข้อเด็ก (วันพฤหัสบดี 09.00 -12.00 น. และ 13.00-15.00 น.)

            นัดได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก 02-201-1234

            ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคข้อและรูมาติสซั่ม ให้การวินิจฉัยและรักษาโรคข้อและรูมาติสซั่มโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

โดยการรักษารวมถึงการให้ยา ดูดน้ำในข้อและฉีดยาเข้าข้อ โดยโรคที่ให้การรักษา ได้แก่

     1.  กลุ่มโรคข้ออักเสบ (arthritis)
              - แบบฉับพลัน เช่น ข้อสะโพกอักเสบชั่วคราว (transient synovitis of hip) ข้ออักเสบตามหลังการติดเชื้อ (post-infectious arthritis) ข้ออักเสบรีแอคทีฟ หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส (post-streptococcal reactive artrhtiis)
              - แบบเรื้อรัง  เช่น ขัออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (juvenile idiopathic arthritis)

     2.  กลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue diseases)
              - โรคลูปัส (systemic lupus erythematosus)
              - โรคกล้ามเนื้อและผิวหนังอักเสบ (juvenile dermatomyositis)
              - โรคหนังแข็ง (scleroderma)
              - โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดผสม (mixed connective tissue diseases)
     3.  กลุ่มหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis)
              - โรคหลอดเลือดอักเสบ Henoch schonlein purpura
              - โรคหลอดเลือดใหญ่อักเสบ ทากายาสุ (takayasu arteritis)
              - โรคหลอดเลือดขนาดกลางอักเสบ polyarteritis nodosa
              -  โรคหลอดเลือดเล็กอักเสบ Wegener’s granulomatosis, microscopic polyangiitis
     4.  กลุ่มอาการปวดข้อทั่วไป
              -  อาการเจ็บเข่าใต้ลูกสะบ้า (Patellofemoral syndrome)
              -  อาการเปวดข้อเรื้อรังจากภาวะข้อหลวม (Hypermobility syndrome)

คลินิกนอกเวลาราชการ

             อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ชั้น 3 นัดได้ที่ call center  02-200-3307-8

             คลินิกนอกเวลาราชการ

                      วันอังคารเย็น        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค

                      วันอาทิตย์เช้า       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค

              คลินิก premium อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ชั้น 3 นัดได้ที่ call center  02-200-3307-8

                       วันจันทร์เช้า        พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์

                       วันพุธบ่าย           ผศ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค

ด้านงานวิชาการ

การสอน
        สอนนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาโรคข้อและรูมาติสซั่ม กุมารแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์สาขาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จักษุแพทย์และแพทย์ทั่วไป เภสัชกร พยาบาล ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก ผู้สนใจสามารถติดต่อขอดูงานได้ที่หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม เบอร์โทรศัพท์ 02-201-1494 หรือภาควิชากุมารเวชศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 02-201-1488, 02-201-1498

การฝึกอบรม

        ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์

        ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร

            -  หลักสูตร 2 ปี สำหรับกุมารแพทย์ทั่วไป โดยได้รับการอนุมัติจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยให้เปิดการฝึกอบรมเพื่อประกาศนียบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
           -  หลักสูตร 1 ปี สำหรับกุมารแพทย์อนุสาขาโรคไตหรือกุมารแพทย์อนุสาขาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรระยะสั้นได้รับการอนุมัติจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีให้เปิดการฝึกอบรมเพื่อประกาศนียบัตรกุมารเวชศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก
โดยการสมัคร

              ทั้ง 2 หลักสูตรจะต้องสมัครเพื่อการสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์และอาจารย์หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก กุมารแพทย์ที่ประสงค์จะสมัครเข้ารับการอบรมสามารถติดต่อได้ที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หมายเลชโทรศัพท์ 02-201-1488, 02-201-1498

               *  ทั้งนี้กุมารแพทย์อนุสาขาโรคไต และโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันสามารถเลือกเรียนหลักสูตร 2 ปี
ได้ (รายละเอียดของหลักสูตรดูในหัวข้อหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอด)

การบริการวิชาการแก่ประชาชน หน่วยงานต่างๆและสังคม

         เป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญโรคข้อและรูมาติสซั่ม แต่งตำรา เขียนบทความ เผยแพร่เอกสารวิชาการ และให้ความรู้ทางสื่อต่างๆ ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับโรคข้อและรูมาติสซั่ม รวมทั้งยังจัดค่ายโรคข้อ (JIA camp) เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ได้เข้าร่วมกิจกรรมและเปิดโอกาสให้ซักถาม

ด้านงานวิจัย

    โครงการวิจัยโรคข้อในเด็ก  เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ผลการรักษา และพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

สำนักงาน (สถานที่ตั้ง)

           ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ อาคาร 1 ชั้น 8

           คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

           270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

หมายเลขโทรศัพท์

                            โทรศัพท์  02-201-1494, 02-201-1488    

                            โทรสาร 02-201-1494