อนุสาขากุมารเวชศาสตร์สาขาประสาทวิทยา

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

อนุสาขากุมารเวชศาสตร์สาขาประสาทวิทยา

Fellowship Training in Neurology

 

         การฝึกอบรม Competency ด้าน Clinical, Research, Teaching หน่วยตั้งเป้าไว้อย่างไร วัดด้วย

         Clinical Competency :

               ก.  สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กทางด้านระบบประสาทได้อย่างมีระบบและองค์รวม ประเมินจากการสังเกตขณะปฏิบัติงานทั้งในหอผู้ป่วยใน

                    และผู้ป่วยนอก  ผ่านการประเมินความรู้พื้นฐานจากการวัดผลโดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ

               ข.  สามารถอ่านและแปลผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง ผ่านการประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน

                    และจากการเขียนรายงานผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

               ค.  สามารถเลือกใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัยได้อย่างเหมาะสม  ประเมินจากการสังเกตขณะปฏิบัติงาน

                    ทั้งในหอผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และจากการสอบวัดผล 

               ง.  สามารถสื่อสารและสามารถอธิบายพยากรณ์โรคอย่างเหมาะสมกับญาติผู้ป่วย

         Research :

                ก.  มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการวิจัย

              ข.  สามรถทำวิจัยและมีพื้นฐานในการวิจัย การค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ ประเมินจากผลงานวิจัยระหว่างการฝึกอบรมและการเขียน manuscript

         Teaching :

                ก.  มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และมี่ความเป็นครู ประเมินจากการมีบทบาทในการสอนแพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์

               ข.  สามารถพัฒนาตนเองด้วยการรียนรู้ด้วยตนเอง

         Extra curriculum :

               มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชมรมกุมารแพทย์สาขาประสาทวิทยา

 จุดแข็งที่เด่นชัดในการ Train fellow ของหน่วยคืออะไร

                ก. ระบบการสรรหาอาจารย์แพทย์ให้มีความต่อเนื่อง

                ข. การที่อาจารย์แพทย์อาวุโสยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนทำให้แพทย์ประจำบ้านได้รับประสบการณ์จากอาจารย์หลากหลาย

                ค. การได้เรียนรู้อย่างครบถ้วนสำหรับความรู้ความชำนาญด้านกุมารประสาทวิทยาทั้งตามที่กำหนดในหลักสูตรการฝึกอบรมโดย อฝส.

                    และความรู้ทางด้านกุมารประสาทวิทยาที่แตกต่างจากการฝึกอบรมในสถาบันอื่น ๆ คือ

1)  การร่วมดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาทวิกฤตซึ่งเป็นจุดเด่นของภาควิชาฯ ที่มีการบูรณาการสาขาวิชาฯ ต่าง ๆ ในการรักษาผู้ป่วยใน

     หอผู้ป่วยวิกฤต

2)  การรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเฉพาะการผ่าตัดซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ทางคลินิก การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติ

     การและทางรังสีวินิจฉัย  การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG) สมองระยะยาวใน EEG Monitoring Unit และในห้องผ่าตัด

3)  การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ(EMG) ซึ่งในปัจจุบันมีแพทย์ผู้ชำนาญด้านนี้ในสถาบันฝึกอบรม 2 สถาบัน 

4)  การอ่านและแปลผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของสมองและกล้ามเนื้อ(Neuropathology & muscle biopsy)

5)  การอ่านและแปลผลการตรวจทางรังสีวินิจฉัยของระบบประสาทที่สามารถตรวจได้ครบถ้วน

6)  การประเมินและรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยการผ่าตัด

7)  การประเมินและการแปลผลการตรวจการนอน (Polysomnography) จำเพาะในผู้ป่วยโรคระบบประสาท

 

  สิ่งที่เคยเป็นจุดอ่อนสำคัญในช่วงไม่เกิน 5-8 ปีที่ผ่านมาที่สามารถแก้ไขไปได้เป็นอย่างดีคืออะไร

                ปริมาณและประเภทของผู้ป่วยที่ไม่เอื้อต่อการฝึกอบรมเช่นผู้ป่วยโรคระบบประสาทเรื้อรังที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพยากรณ์โรคหรือคุณภาพชีวิต

 

   สิ่งที่คิดว่ายังเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ (ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร)

                ก. ภาระงานที่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดในการบริการผู้ป่วยเนื่องจากมีผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทจำนวนมาก

                ข. ความไม่ชัดเจนของแผนการรักษาผู้ป่วยโรคระบบอื่น ๆ ที่เกิดมีปัญหาระบบประสาท ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรและเวลาในการดูแลผู้ป่วย

                ค. การวิจัยที่มีคุณภาพ และการตีพิมพ์ผลงานการวิจัยที่ได้ทำแล้ว

                ง. การเก็บ Database ของผู้ป่วยในหน่วยฯอย่างเป็นระบบ (ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ)

      การเฟ้นหาผู้สมัคร การคัดเลือกเน้นคุณสมบัติหรือประเด็นใดเป็นพิเศษหรือไม่

           ก.  มีความสนใจสาขาวิชากุมารประสาทวิทยา

           ข.  มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

           ค.  มีน้ำใจและปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี

           ง.  การคิดแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล

           จ.  มีความตั้งใจจะใช้ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงเรียนแพทย์ 

      1.  กรอกใบสมัคร online ทาง website: http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

      2.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญมาสัมภาษณ์กับอาจารย์หน่วยทารกแรกเกิด

           และคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของภาควิชากุมารเวชศาสตร์

      3.  คณะกรรมการฯ จะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลเอกสารการสมัคร     

      มีหลักการและวิธีการหรือระบบให้ Supervision ใกล้ชิดมากน้อยเพียงใด มีระบบการให้ Feedback อย่างไร

                ก.  การ supervision โดยตรงจากอาจารย์ในหน่วยที่รับผิดชอบในช่วงเวลานั้น ๆ

                ข.  การให้การประเมินการทำงานทุกๆ 3-4 เดือน ในระหว่างการฝึกอบรม

ค.  อาจารย์ในสาขาวิชาฯ ให้ความเห็นโดยตรงต่อหัวหน้าสาขาวิชาฯ              

     มีสวัสดิการ การสนับสนุนโอกาสนำเสนอผลงานในระดับนานาชาติ เป็นพิเศษหรือไม่อย่างไร

                ในขณะนี้ยังไม่มีระบบการให้ทุนที่ชัดเจนสำหรับการประชุมระดับนานาชาติ สำหรับการประชุมระดับชาติที่แพทย์ประจำบ้านต่อยอด

ไปนำเสนอผลงานการวิจัยจะได้รับทุนค่าลงทะเบียนจากสาขาวิชาฯ 

    สิ่งที่อยากให้ส่วนกลางของภาคฯ ดำเนินการเพื่อสนับสนุนกระบวนการฝึกอบรมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

                ก. การปรับการดูแลผู้ป่วยนอกที่มีการหมุนเวียนแพทย์ประจำบ้านต่อยอดไปบริการผู้ป่วยทั่วไป หน่วยประสาทวิทยาได้เปิดการบริการผู้ป่วยนอก

คลินิกโรคลมชักที่ซับซ้อนทุกวันพฤหัสฯ ซึ่งเป็นการฝึกอบรมร่วมกับการบริการผู้ป่วย ควรพิจารณาภารงานนี้เป็นภารงานรวมสำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

ชั้นปีที่ 2

                ข. เปิดโอกาสให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอด มีส่วนร่วมในการเข้ารับการฝึกอบรมกับโครงการที่จัดประจำให้แก่แพทย์ประจำบ้านเพื่อพัฒนาทักษะ

ทางด้าน medical education และ communication skill