อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

 

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

Fellowship Training in Developmental and Behavioral Pediatric

 

          โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรมเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเป็นเวลา 2 ปี ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ฝึกฝนและเพิ่มพูนประสบการณ์เพื่อสามารถให้การวินิจฉัยปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมที่พบบ่อย โดยการตรวจทางคลินิก มีทักษะในการตรวจประเมินคัดกรองพัฒนาการ และมีความรู้ความเข้าใจหลักการและการแปลผลของแบบทดสอบมาตรฐาน สามารถวินิจฉัยสาเหตุ ให้การดูแลรักษาและช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมเป็นองค์รวม ซึ่งรวมถึงการให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัว การฝึกพัฒนาการ การปรับพฤติกรรม การฟื้นฟูสภาพ การใช้ยาที่จำเป็น  และการบำบัดรักษาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้คำปรึกษาแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในการวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมได้ มีทักษะในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล การอบรมเลี้ยงดู การจัดบริการทางสังคม ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก  

          ในปัจจุบันถึงแม้ว่าประเทศไทยของเราจะมีประชากรเด็กที่เกิดต่อปีน้อยลงกว่าในอดีตแต่กลับพบว่าอัตราส่วนของเด็กที่มีปัญหาทางด้าน

พัฒนาการและพฤติกรรมกลับไม่ได้ลดลง ดังนั้นหน้าที่ของกุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมคือช่วยคัดกรองปัญหาดังกล่าวและให้

การส่งเสริมช่วยเหลือในเด็กกลุ่มที่มีปัญหารวมถึงเด็กกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกเหนือจากนี้จุดเด่นของ

แพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กอีกอย่างคือเราเชื่อว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมศักยภาพไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กที่แข็งแรงหรือเด็กที่เจ็บป่วย

หน้าที่ของเราคือช่วยให้ผู้ปกครองมองเห็นศักยภาพนั้นและช่วยให้เด็กๆพัฒนาไปได้อย่างเต็มที่

          สำหรับการฝึกอบรมสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กที่ รพ. รามาธิบดีนั้นเรามีจุดเด่นคือ “Training for the trainers”

เราเน้นการฝึกอบรมหลักๆ 3 ด้านด้วยกันได้แก่

          1) ทักษะทางคลินิก

          2) การทำวิจัย

          3) การสอน

         นอกจากนี้เรายังเน้นกระบวนการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยมีอาจารย์เป็น

ผู้ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ศิษย์เก่าที่ผ่านการฝึกอบรมที่สถาบันของเราหลายท่านนั้นปัจจุบันเป็นอาจารย์โรงเรียนแพทย์ในหลากหลายสถาบัน

นอกจากนี้ศิษย์เก่าที่ไม่ได้เป็นอาจารย์แพทย์ก็ได้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมหรือชุมชน

           เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรสาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภาหรือเป็นผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านในสาขากุมาร

เวชศาสตร์ในสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรองครบตามหลักสูตร

          แจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานหน่วยพัฒนาการเด็ก โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1772

          หรือสำนักงานภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โทรศัพท์หมายเลข 02-201-1498

          1.  ดาวน์โหลดใบสมัครจาก URL ต่อไปนี้

               http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

          2.  ส่งมาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

               270ถ. พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

          3.  เมื่อหน่วยพัฒนาการเด็ก ได้รับเอกสารการสมัครเรียบร้อยแล้ว เอกสารจะได้รับการตรวจสอบและพิจารณาเบื้องต้น

               โดยอาจารย์ผู้ดูแลแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

          4.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญมารับการสัมภาษณ์กับอาจารย์ประจำหน่วย และตัวแทนอาจารย์หน่วยอื่นๆ

               ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์

          5.  คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารการสมัคร

         ผู้รับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางคลินิกอย่างมีส่วนร่วม (active participation) ในการดูแลผู้ป่วยด้วยตนเอง รับปรึกษาจากแพทย์

ประจำบ้าน โดยจะได้เรียนรู้จากผู้ป่วยที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาพัฒนาการภาษาล่าช้า กลุ่มอาการออทิซึม พัฒนาการล่าช้า

โดยรวม  โรคซนสมาธิสั้น ความบกพร่องของทักษะการเรียน ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย

นอกจากนี้ผู้อบรมจะได้เพิ่มพูนประสบการณ์การตรวจทดสอบและการแปลผลการตรวจเพิ่มเติมทางด้านพัฒนาการทั้งแบบคัดกรองและแบบมาตรฐาน

หน่วยพัฒนาการเด็ก ได้มีการติดตามผู้ป่วยโรคทุกกลุ่มโรคอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันทางหน่วยได้พัฒนาเครื่องมือในการคัดกรองและช่วยเหลือ

เด็กปัญหาพัฒนาการภาษาล่าช้า กลุ่มอาการออทิซึม โรคซนสมาธิสั้น ความบกพร่องของทักษะการเรียน ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

         นอกจากนี้ผู้รับการฝึกอบรมยังได้มีส่วนร่วมในการประชุมวิชาการร่วมกับภาควิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านพัฒนาการและจิตเวชระหว่างกัน ภาควิชาความผิดปกติของการได้ยินและการสื่อความหมาย เพื่อการดูแลผู้ป่วย

ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ผู้รับการฝึกอบรมได้ร่วมสอนวิชาการด้านพัฒนาการและพฤติกรรม แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน

นอกจากนี้ผู้ฝึกอบรมจะได้เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านงานวิจัยทางคลินิก โดยดำเนินการวิจัยให้เสร็จ 1 เรื่องในระหว่างการฝึกอบรม  

การฝึกปฏิบัติงานรวมเวลา 24 เดือน

         งานดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม ทั้งเป็นการดูแลด้วยตนเองและในฐานะที่ปรึกษาให้แก่แพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์

ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ประจำหน่วยเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย  โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรมประสบการณ์กิจกรรมด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ และไปศึกษาดูงานที่แผนกจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

หน่วยเวชพันธุศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ณ สถาบันฝึกอบรมอื่น รวมถึงวิชาเลือกตามความสนใจของแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีตารางกิจกรรมประจำสัปดาห์ดังนี้