อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

 

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

Fellowship Training in Pediatric Cardiology

 

         การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ เป็นหลักสูตรซึ่งใช้เวลาฝึกอบรมที่มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตกุมารแพทย์โรคหัวใจที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในกุมารเวชปฏิบัติโรคหัวใจเป็นอย่างดี สามารถที่จะปฏิบัติงานในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งมีความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอในกุมารเวชศาสตร์ทั่วไปในส่วนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจในเด็ก หลอดเลือดของหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย และสามารถร่วมกับแพทย์ในสาขาอื่นๆในการดูแลรักษาหรือให้คำปรึกษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้โครงการฝึกอบรมนี้ได้รับการรับรองจากอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ และมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่าง ๆ เป็นไปตามเกณฑ์ที่แพทยสภาได้กำหนดไว้

     ด้านการมารับการฝึกอบรมต่อยอด ความน่าสนใจ และผลงานภูมิใจของสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

       1.  เป็นสถาบันแรกของประเทศไทยที่เปิดการฝึกอบรมสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ศิษย์เก่าที่ได้ผ่านการฝึกอบรมประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชา เป็นผู้บริหารของหน่วยงานต่างๆ

       2.  การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของสาขาวิชามีความสมดุลด้านภาระงานด้านปฏิบัติ กับประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่หนักไปทางใดทางหนึ่ง มีทุนสนับสนุนการวิจัยและนำเสนอผลงานทั้งในและต่างประเทศ มีโอกาสขอทุนไป elective ต่างประเทศ เพื่อเสริมประสบการณ์ มีเงินสนับสนุนการอยู่เวรรับปรึกษา และเงินสนับสนุนสมทบการอยู่เวรนอกเวลาราชการจากมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ มีบรรยากาศการฝึกอบรมที่อบอุ่น แพทย์ประจำบ้านกุมารเวชศาสตร์และนักศึกษาแพทย์มีความรู้ความสามารถดี ช่วยเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งในฐานะผู้เรียนและผู้สอน

       3.  อาจารย์มีความรู้ความชำนาญเป็นที่อ้างอิง แต่งตำราเกี่ยวกับกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจเช่น ตำราคลื่นไฟฟ้าหัวใจในเด็ก ได้รับรางวัลดีเด่นด้านตำรา ตำราภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูงในเด็ก ผลิต electronic textbook ในรูปแบบ ibooks และ epub เรื่อง common acquired heart disease in children

       4.  อาจารย์มีศักยภาพสูง ได้รับการฝึกอบรมจากต่างประเทศโดยได้รับวุฒิบัตร ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มีความเป็นครูสูง พร้อมให้คำแนะนำสั่งสอนอย่างเป็นกันเอง อาจารย์ได้รับการยอมรับในความสามารถทางวิชาการได้รับการแต่งตั้งทำงานระดับชาติเช่นเป็นกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือกยาสาขาหัวใจและหลอดเลือด ของบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นกรรมการวิจัย เป็นกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่น

       5.  มีเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ทันสมัยครบถ้วนเช่น echocardiography including 3D and advanced function, 320 slice CT scanner, MRI, advanced electrophysiology lab, cardiac catheterization and intervention ให้การรักษาโรคหัวใจผ่านสายสวนครบถ้วนทั้งการใช้อุปกรณ์อุดรูรั่วในหัวใจ การขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน การเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสานสวน มีห้องผ่าตัด Hybrid สามารถให้การรักษาโรคหัวใจโดยความร่วมมือกันระหว่างกุมารแพทย์โรคหัวใจโดยการแก้ไขโรคผ่านสายสวนพร้อมกับการผ่าตัด

            เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรฯ ในสาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภา หรือเป็นผู้ที่ได้ผ่านการอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านในสาขากุมารเวชศาสตร์ในสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรองครบตามหลักสูตร 

          1.  กรอกใบสมัคร online ทาง website:  http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/account/log_in

          2.  ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้น ได้รับเชิญมาสัมภาษณ์กับอาจารย์หน่วยโรคหัวใจเด็ก

               และคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

          3.  คณะกรรมการฯ จะตัดสินรับผู้สมัครโดยใช้ผลสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลเอกสารการสมัคร

           ตลอดระยะเวลา 2 ปี ของการฝึกอบรม ผู้ได้รับการฝึกอบรมจะสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถทางคลินิกที่จำเป็นและสำคัญในการเป็นกุมาร

แพทย์โรคหัวใจ โดยเน้นการดูแลคนไข้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์กุมารแพทย์โรคหัวใจ  แต่ละปีมีการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า

50 สัปดาห์ โดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ โดยสม่ำเสมอ ฝึกอบรม ปฏิบัติงานทางคลินิก อันประกอบไปด้วย

การดูแลผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ การดูแลผู้ป่วยใน ทั้งก่อน และหลังการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก

ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทั้ง non-invasive และ invasive investigations

           นอกจากนี้ผู้ได้รับการฝึกอบรมจะต้องทำงานวิจัยทางคลินิกอย่างน้อย 1 เรื่องภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์กุมารแพทย์โรคหัวใจ

และควรได้นำเสนอผลงานนั้น ๆ ในที่ประชุมระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ รวมทั้งเขียนผลงานวิจัยนั้นเพื่อได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการด้วย

ลักษณะการหมุนเวียนการปฏิบัติงานระหว่างการฝึกอบรมมีดังต่อไปนี้

1.  การดูแลรักษาผู้ป่วยในที่เป็นคนไข้ของหน่วยโรคหัวใจเด็กโดยตรงที่หอผู้ป่วยใน

2.  การรับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาอื่น ๆ ในกรณีที่คนไข้มีปัญหาทางด้านระบบหัวใจ

     และหลอดเลือดที่หอผู้ป่วยในต่าง ๆ รวมทั้งหออภิบาลผู้ป่วยหนักแผนกเด็ก

3.  การดูแลรักษาผู้ป่วยนอกที่คลินิกโรคหัวใจเด็ก

4.  การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กก่อนและหลังการผ่าตัดโรคหัวใจที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กและหออภิบาลผู้ป่วยหนัก

     ของหน่วยศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจ  โดยประสานงานร่วมกับศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจ

5.  การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography)

6.  การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่งรวมทั้ง fetal, transthoracic และtransesophageal echocardiography

7.  การตรวจสวนหัวใจเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา (diagnostic and interventional cardiac catheterization)

8.  การเข้าร่วมกิจกรรมและอภิปรายผู้ป่วยใน morning conference, mortality conference, grand round

     และ case-base core topic ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์

9.  การเข้าร่วมกิจกรรมและอภิปรายผู้ป่วยของหน่วยโรคหัวใจเด็ก ได้แก่ cardiac catheterization conference (weekly),

     clinico-pathological conference (1-2 ครั้ง/ปี), morbidity&mortality conference (monthly), journal club (weekly)

     และ core topic (monthly)

ตารางการฝึกปฏิบัติงานรวมเวลา 24 เดือน

                ในปีที่ 1 ของการฝึกอบรมแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์

                1.  รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมาเวชศาสตร์ และดูแลผู้ป่วยในและนอกของหน่วยโรคหัวใจเด็ก

                2.  ดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่เตรียมตัวก่อนการผ่าตัดหัวใจที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กและผู้ป่วยเด็กภายหลังการผ่าตัดหัวใจ

                3.  เป็นที่ปรึกษา ควบคุมดูและแพทย์ประจำบ้านสาขากุมาเวชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่หมุนเวียนของหน่วยโรคหัวใจเด็ก

                4.  รับผิดชอบการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยมีอาจารย์เป็นผู้กำกับดูแล

                5.  ฝึกการทำหัตถการต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจสวนหัวใจเพื่อการ วินิจฉัย การเจาะน้ำจากเยื่อหุ้มหัวใจ

                     และการใส่สายในหลอดเลือดดำใหญ่ ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์แพทย์

                6.  รับผิดชอบการเตรียมอ่านวารสาร การเตรียมการประชุมต่าง ๆ

                สำหรับในปีที่ 2 มีการฝึกอบรมเพื่อให้มีประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าในชั้นปีที่ 1 และมีหน้าที่เพิ่มเติม คือ

1.  เป็นที่ปรึกษา ควบคุมดูแลแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจชั้นปีที่ 1

2.  เป็นผู้นำกลุ่มในการสั่งการ ให้การรักษา หรือรับปรึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งทางยา และทำ intervention ง่ายๆได้

3.  จัดการประชุม และจัดอภิปรายปัญหา

4.  ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทั้ง non-invasive และ invasive investigations จนมีความสามารถสูงขึ้น

5.  ปฏิบัติงานในแผนกอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และศัลยศาสตร์โรคหัวใจ อย่างละ 1 เดือน

6.  ปฏิบัติงานในสถานที่ที่เหมาะสม (elective) 1 เดือน

7.  เสนอรายงานทางวิชาการ หรือผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจ ให้คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ เพื่อพิจารณารับรองอย่างน้อย 1 เรื่อง

     ก่อนจบการฝึกอบรม