Amphetamines

 

 

      Amphetamines

 

Amphetamines และยาที่อยู่ในกลุ่ม CNS stimulants เป็นยากลุ่มที่มีการใช้ผิดๆ กันอย่างแพร่หลาย และเป็นปัญหาการเสพติดยาที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนขับรถบรรทุก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติภัยบนท้องถนน และทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต หรือพิการ

เภสัชฤทธิวิทยา
ยาในกลุ่ม CNS stimulants ประกอบด้วย กลุ่มแรกคือ caffeine และ xanthines กลุ่มที่สองได้แก่ cocaine ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย และกลุ่มที่สามคือ amphetamines amphetamines เป็นยาที่มีโครงสร้างของ beta-phenylethylamine ซึ่งคล้ายกับ catecholamines ยาในกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างหลากหลาย อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้ (ตารางที่ 1) กลไกการออกฤทธิ์ โดยการกระตุ้นการหลั่งและการยับยั้งการ reuptake ของ catecholamines และสามารถยับยั้งการทำงานของ monoamine oxidase (MAO) ทำให้ทำลาย catecholamine ได้ไม่ดี มีผลให้กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและประสาทส่วนปลายทั้งแบบ alpha และ beta

เภสัชจลนศาสตร์
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว peak action ประมาณ 1-3 ชั่วโมง ยานี้สามารถกระจายได้ดีโดยเฉพาะในระบบประสาท ยาส่วนใหญ่จะถูกกำจัดออกทางไต ยามีคุณสมบัติเป็นด่าง ดังนั้น pH ในปัสสาวะมีอิทธิพลในการแตกตัวของยา ในปัสสาวะที่เป็นด่าง ยาจะแตกตัวน้อย และถูกดูดซึมกลับในร่างกายมาก ในทางตรงกันข้ามกัน ถ้าปัสสาวะเป็นกรด ยาจะแตกตัวมาก และถูกขับออกจากร่างกายมาก ในสภาวะที่ปัสสาวะเป็นด่างยาจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะประมาณ 30% half-life ของยาในร่างกายเท่ากับ 24 ชั่วโมง และถ้าปัสสาวะเป็นกรดยาจะออกมาถึง 70% และ half-life จะลดเหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น

อาการทางคลินิก
          Acute intoxication ผู้ป่วยที่ได้รับยาเกินขนาดมาก หรือบางครั้งในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยามาก่อน โดยจะมีอาการภาวะ เป็นพิษแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีม่านตาขยาย ความดันโลหิตขึ้นสูง ชีพจรเต้นเร็ว ถ้าเป็นมากอาจ มีอาการ shock และ arrhythmias ได้ อาการทางสมองระยะแรกเป็นแบบ restlessness hyperactivity พูดมาก นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ ถ้าเป็นมากมีอาการชักและหมดสติร่วมด้วย ผิวหนังจะ pale และมีเหงื่อ ปัสสาวะ บ่อย อาจจะมีอาการปัสสาวะลำบาก มีไข้ กล้ามเนื้อกระตุก หายใจเร็ว และมี rhabdomyolysis นอกจากนี้ยังมีอาการ
ทาง จิตเช่น ประสาทหลอน พฤติกรรม ก้าวร้าว และหวาดระแวง ความรุนแรงของภาวะ เป็นพิษแสดง ใน ตารางที่ 2 ผู้ป่วยที่มีอาการ toxic pychosis นั้นจะต้องพิจารณาแยกโรคจากสาเหตุอื่น(ตารางที่ 3)

          Abuse ในสภาวะ สังคมที่มีการแข่งขัน กันมากในแง่เศรษฐกิจและสังคม การใช้ยากระตุ้นทางสมองก็เป็นปัญหาที่สำคัญ ปัจจุบันมีการใช้ยานี้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เช่น พนักงานขับรถบรรทุก พบมีการใช้ยาม้าถึง 80% ปัญหาทางคลินิกที่อาจจะพบในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ

1. Neuropsychiatric effect โดยทั่วไปผู้ที่รับประทานยา amphetamines ในขนาดปกติ 10-30 mg จะทำให้ตื่นตัวขึ้น ความรู้สึกอ่อนเพลียลดน้อยลง มีความรู้สึก euphoria มีความรู้สึกว่ามีความคิดสร้างสรรค์ มั่นใจในตัวเอง สมาธิดี motor และ speech activity ก็ดีขึ้นเช่นกัน ผลของยา amphetamines ต่อร่างกายจะเห็นได้ชัดที่สุด ถ้าผู้นั้นอยู่ในสภาพอ่อนเพลีย และอดนอน ในคนปกติฤทธิ์ของยาดังกล่าวอาจจะไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม การใช้ยา amphetamines ทำให้เกิดผลเสีย 3 ประการ ประการแรกคือ แม้ว่าประสิทธิภาพในการทำงานดูเหมือนว่าจะดีขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น ประการที่สอง ผู้ป่วยอาจมีอาการทางระบบอื่นๆ เช่นปวดศีรษะ ใจสั่น dysphoria confusion ร่วมด้วย และประการที่สาม หลังจากที่ฤทธิ์ยาหมดแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซึมเศร้า และต้องนอนหลับยาวนานกว่าปกติเพื่อชดเชยการอดนอน

2. Addiction ในคนส่วนใหญ่จะมีการใช้ยาเป็นครั้งคราว เมื่อมีความจำเป็นในการทำงานก็จะใช้ยา แต่ในผู้ที่ใช้ยานี้จะมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งมีอาการของการติดยา คือเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ และใช้ยาบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะต้องถึงขนาดฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ ปัญหาที่อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ติดยาคือ
ประการแรก ในผู้ป่วยที่ใช้ยามากนั้น อาจจะมีอาการทางร่างกายแทรกซ้อนได้ เช่น ความดันโลหิตสูง vasculitis และ arterial occlusion, subarachnoid hemorrhage และ CVA, abnormal movement, dysphonia เป็นต้น

ประการที่สอง amphetamine psychosis ในผู้ป่วยที่ติดยา บางครั้งจะมีอาการคล้าย paranoid schizophrenia คือ มีอาการสับสน วุ่นวาย กระสับกระส่าย ไวต่อความรู้สึกกระทบ ผู้ป่วยมีอาการเห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงหลอนแปลกๆ นอกจากนี้ยังมีอาการ delusion แบบ persecution และ idea of reference ในผู้ป่วยที่เป็น amphetamine psychosis อาจจะแยกจากผู้ป่วยที่เป็น schizophrenia คือ ผู้ป่วย amphetamine psychosis มักจะมี schizophrenia ทั่วๆไป ภาวะ amphetamine psychosis มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่เคยมี personality disorder เลยก็ได้ โดยเฉพาะถ้าได้รับยาขนาดสูงและเป็นเวลานานๆ พอ 

          อย่างไรก็ดีภาวะนี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยระยะมีพิษเฉียบพลันระหว่างติดยา หรือช่วง withdrawal ก็ได้
ประการที่สาม amphetamine withdrawal ผู้ป่วยที่ติดยามานาน โดยเฉพาะในรายที่รับประทานยาขนาดสูงสม่ำเสมอ ถ้าหยุดยาทันทีอาจมีอาการ withdrawal ได้ โดยมีอาการอ่อนเพลีย anxiety ฝันร้าย บางครั้งผู้ป่วยมี disorientation หลง ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย และเรียกร้องความสนใจ และบังคับให้คนอื่นทำตามคำสั่ง ถ้าเป็นมากถึงขนาดมีพฤติ กรรมก้าว ร้าว ทำร้ายคนอื่นได้ อาการที่เด่นชัดคือ อาการซึมเศร้า และมีความคิดฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการ ทางกายเช่น ปวดศีรษะ เหงื่อออก ร้อนๆ หนาวๆ ขาเป็นตะคริว และปวดท้อง อาการดังกล่าวมักจะเกิดประมาณ 48-72 ชั่วโมงหลังหยุดยา

การรักษา
          acute intoxication การประคับประคองผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะให้ยารักษาตามอาการเช่น ถ้ามีอาการ CNS stimulation ควรใช้ยากลุ่ม benzodiazepines หรือ antipsychotic ถ้ามีอาการ peripheral autonomic stimulation อาจจะต้องพิจารณาให้ beta blockers หรือ alpha blocking agents เป็นต้น ในผู้ป่วยที่เพิ่งได้
รับยา ไม่นานควรพิจารณา decontamination ตามขั้นตอน ในการเพิ่มการขจัดยา ออกจากร่างกายนั้น ให้ทำ forced acidified diuresis ด้วย vitamin C หรือ ammonium chloride 1-2 g ผสม IV ให้ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยวัด urine pH ให้ได้เท่ากับ 5 และ urine output ประมาณ 3 ml/min Drug abuse ผู้ที่ใช้ยาamphetaminesมักจะเป็น ผู้ใช้แรงงาน ที่ทำงานหนัก ใช้เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เช่นอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดอาชญากรรม และสูญเสียทาง เศรษฐกิจ การแก้ไขควรจะเน้นทั้งมาตรการการ ควบคุม ปราบปราม การป้องกันและการรักษาไปด้วยกัน