ภาวะเป็นพิษจาก methanol

 

  ภาวะเป็นพิษจาก methanol

   

 

ภาวะเป็นพิษจาก methanol (wood alcohol) ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุราที่มี methanol ปนเปื้อนอยู่ มักจะพบ methanol ในสุราปลอม เหล้าเถื่อนที่ต้มกลั่นเอง หรืออาจจะเกิดจากความเข้าใจผิดคิดว่า methanol เป็น ethanol โดยทั่วไป methanol ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของของใช้ต่างๆ อีกมาก

กลไกการเป็นพิษ
ขนาดที่เริ่มเป็นพิษประมาณ 100 mg/kg ขนาดที่เป็นพิษรุนแรงจนผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตมักมากกว่า 60 ml ของ 40% methanol ถ้าผู้ป่วยได้รับ methanol เข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ประมาณ 95% จะถูกกำจัดที่ตับโดย alcohol dehydrogenase enzymes เปลี่ยน methanol เป็น formaldehyde แล้วถูกเปลี่ยนต่อเป็น formic acid โดย aldehyde dehydrogenase ร่างกายจะใช้ folate dependent enzyme เปลี่ยน formic acid เป็น COซึ่งถูกกำจัดทางปอด โดยทั่วไปร่างกายสามารถกำจัด ethanol ได้ดีกว่า methanol 10 เท่า เนื่องจาก alcohol dehydrogenase มี affinity ต่อ ethanol ดีกว่า half-life ของ methanol จะขึ้นอยู่กับ dose ที่ได้รับ ถ้าขนาดที่ได้รับน้อย half-life ประมาณ 12 ชั่วโมง แต่ถ้าขนาดที่ได้รับมาก half-life จะยาวออกเป็น 24 ชั่วโมง อาการของการเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะเกิดการสะสมของ formic acid ที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิด metabolic acidosis และ ocular toxicity

อาการแสดง  

หลังได้รับ methanol ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 3 วัน ถ้าผู้ป่วยดื่ม methanol ร่วมกับ ethanol จะทำให้อาการเริ่มแรกช้าลงไปอีก ผู้ป่วยอาจมีอาการของทางเดินอาหารเกิดจาก mucosal irritaion เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง อาการที่ค่อนข้างจำเพาะได้แก่ พิษทางตา ผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่า ตามัว แพ้แสง เห็นภาพขาวจ้าไปหมด (snowfield vision) ถ้าดู fundi อาจเห็น retinal edema และ hyperemia ของ optic disc อาการทาง CNS ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และ confusion ในรายที่เป็นมากอาจมี อาการ coma และชัก นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีอาการ hyperpnea จาก acidosis ในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรง acidosis จะยิ่งมาก ลักษณะเป็นแบบ high gap metabolic acidosis และถ้าวัด serum osmolality อาจจะพบ osmolal gap ร่วมด้วย โดยสรุปสิ่งสำคัญในการช่วยการวินิจฉัยโรคคือ ประวัติผู้ป่วยที่ดื่มสุรา มีอาการพิษทางตา และ high gap metabolic acidosis เป็น toxic syndrome ที่จะบอกถึงภาวะเป็นพิษจาก methanol การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการคือ การวัดระดับ methanol ในเลือด โดยปกติร่างกายอาจมี methanol ได้ < 0.05 mg/dl ระดับที่จะเริ่มเป็นพิษเมื่อมากกว่า 20 mg/dl อาการทางตาจะเริ่มที่ประมาณ 100 mg/dl และถ้าระดับสูงถึง 150-200 mg/dl และได้รับการรักษาไม่ทันผู้ป่วยมักเสียชีวิต

การรักษา 

การรักษาโดยการประคับประคองผู้ป่วย methanol จะทำให้ผู้ป่วยซึม และกดการหายใจ จึงต้องระวังเรื่องการหายใจ และต้องแก้อาการ metabolic acidosis ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังต้องแก้อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่เพิ่งดื่มสุราที่มี methanol มาไม่นานควรพิจารณาทำ gastric lavage หรือทำให้อาเจียน
การรักษาโดยยาต้านพิษที่สำคัญคือการให้ ethanol จะไปยับยั้งการเปลี่ยน methanol เป็น formic acid ข้อบ่งชี้ในการให้ ethanol คือเมื่อผู้ป่วยได้รับ methanol มากกว่า 0.4 ml/kg หรือมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดจาก methanol โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี metabolic acidosis หรือระดับ methanol ในเลือดมากกว่า 20 mg/dl (รายละเอียดการให้ ethanol)
เนื่องจากการเปลี่ยน formic acid เป็น CO2 นั้น จำเป็นจะต้องใช้ enzyme ที่มี folate เป็น cofactor จึงจำเป็นต้องให้ leucovorin 1 mg/kg และตามด้วย folic acid 50 mg ทางหลอดเลือดดำทุก 4 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง   การเพิ่มการกำจัด methanol ออกจากร่างกายเป็นการรักษาที่สำคัญ hemodialysis สามารถกำจัด methanol ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถลด half-ife ของ methanol เหลือเพียง 2.5 ชั่วโมงเท่านั้น ปกติจะต้องทำในข้อบ่งชี้ดังนี้ ระดับ methanol สูงกว่า 50 mg/dl metabolic acidosis ที่รุนแรง ผู้ป่วยมีอาการทางตาและมีไตวาย ในขณะที่ทำ hemodialysis นั้น จำเป็นต้องเพิ่มขนาด ethanol ด้วย เพราะ ethanol จะต้องถูกกำจัดออกไปด้วย โดยทั่วไปต้องเพิ่มขนาดของ ethanol อีกประมาณ 75% ของขนาดปกติ ในกรณีที่ทำ hemodialysis ไม่ได้ การทำ peritoneal dialysis สามารถจะช่วยกำจัด methanol ออกได้พอสมควร แม้จะสู้การทำ hemodialysis ไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่ม dose ของ ethanol อีกประมาณ 25% ของขนาดปกติเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Becker CD: Methanol poisoning. J Emerg Med 1983; 1: 51-58.
  2. Gonda A, Gault H, Churchill D, et al. Hemodialysis for methanol intoxication. Am J Med 1978; 64: 749-758.
  3. Jacobsen D, McMartin KE. Methanol and ethylene glycol poisoning. J Med Toxicol 1986; 1: 309-334.
  4. McCoy HG, Cipolle RJ, Ehlers SM, et al. Severe methanol poisoning: application of a pharmacokinetic model for ethanol therapy and hemodialysis. Am J Med 1979; 67: 804-807.
  5. Swartz RD, Millman RP, Billi JE, et al. Epidemic methanol poisoning: clinical and biochemical analysis of a recent episode. Medicine 1981; 60: 373-382.