Chlorine

 
พิษจากก๊าซ
 
Chlorine
         Chlorine เป็นก๊าซสีเหลืองเขียว กลิ่นฉุน และหนักกว่าอากาศ เป็นอาวุธเคมี มีตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วน hypochlorite ได้จากการทำปฏิกิริยาของก๊าซ chlorine กับน้ำ ใช้ในขบวนการกัดสี เติมลงในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเป็นน้ำยาทำให้ผ้าขาว
 
เภสัชจลนศาสตร์และฤทธิวิทยา Chlorine ทำปฏิกิริยากับน้ำให้ hydrochloric acid และ hypochlorous acid จากนั้น hypochlorous acid สลายตัวให้ hypochloric acid และ oxygen free radicals (O2-) กรด hypochloric, hydrochloride มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุโดยตรง ส่วนoxygen free radicals มีฤทธิ์ทำลายเยื่อบุผนังเซลล์ต่างๆ
 
อาการทางคลินิก กรณีที่ได้รับก๊าซ chlorine ก๊าซเมื่อสัมผัสกับความชื้นตามเยื่อบุผิวหนังจะให้กรดดังกล่าว ระคายเคืองผิวหนัง เยื่อบุตา ช่องปาก และระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการแสบผิวหนังและตา ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ในรายที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด (noncardiogenic pulmonary edema) ได้
กรณีที่รับประทาน hypochlorite มีอาการและพยาธิสภาพเหมือนกับการรับประทานกรดชนิดอื่นๆ
 
การวินิจฉัย จากประวัติสัมผัสกับสารหรือก๊าซ chlorine ซึ่งมีกลิ่นที่จำเพาะร่วมกับมีอาการจากการระคายต่อผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ
 
การรักษา กรณีสูดดมก๊าซ chlorine ให้ oxygen ระวังปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ถ้ามีภาวะหลอดลมตีบ (bronchospasm) อาจให้ยาขยายหลอดลม กรณีมีการหายใจล้มเหลว หรือน้ำท่วมปอด ต้องช่วยหายใจ
ถ้ารับประทานสารละลาย hypochlorite ไม่ควรกระตุ้นให้อาเจียน อาจจะให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือนมในช่วงครึ่งชั่วโมงแรกหลังได้รับสารพิษ ถ้าสามารถทำการส่องกล้องตรวจดูหลอดอาหารด้วย fiberoptic gastroscope ได้ ควรทำใน 48 ชั่วโมงแรก ไม่ควรใส่สายล้างท้องและผงถ่านไม่มีที่ใช้ในกรณีนี้ ระวังรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น หลอดอาหาร หรือกระเพาะทะลุ ภาวะติดตามเหมือนในกรณีกรดอื่นๆ ไม่มีการรักษาจำเพาะ
 เอกสารอ้างอิง
 
-  Adeson L, Kaufman J. Fatal chlorine poisoning: report of two cases with clinicopathologic correlation. Am J Clin Pathol 1971; 50: 430-42.