สัตว์ทะเลมีพิษชนิดไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate venomations)

สัตว์ทะเลมีพิษชนิดไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate venomations)

สัตว์ทะเลมีพิษชนิดไม่มีกระดูกสันหลังพบอยู่ใน 5 phylum คือ

  1. Cnidaria (กลุ่มแมงกะพรุน)
  2. Porifera (กลุ่มฟองน้ำ)
  3. Annelida (กลุ่มหนอนทะเล, บุ้งทะเล)
  4. Echinodermata (กลุ่มเม่นทะเลและดาวทะเล)
  5. Mollusca (กลุ่มหอย และหมึก)

1. Phylum Cnidaria

ชื่อเดิมคือไฟลัม Coelenterata เป็นสัตว์ทะเลในกลุ่มแมงกะพรุน, ปะการัง, กระดุม และ หน่อไม้ทะเล ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10,000 สปีชี่ส์ สัตว์ในไฟลัมนี้จะมีเข็มพิษเล็กๆจำนวนมากเรียกว่า “nematocysts“ หรือ “cnidoblasts” (มาจากภาษากรีกคำว่า knide แปลว่า ต่อยให้เจ็บได้) อยู่ในกระเปาะเล็กๆบนหนวด (tentacle) แต่ละเส้น เมื่อได้รับแรงดันหรือสารเคมีจะกระตุ้นให้เข็มพิษพุ่งออกมา และปล่อยสารพิษ เข้าทางผิวหนังของเหยื่อ ส่วนมากเข็มพิษของ Cnideria จะไม่สามารถ เจาะทะลุผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่มีประมาณ 100 สปีชี่ส์เท่านั้น ที่เป็นอันตราย และมีบางชนิดเท่านั้นที่มี systemic toxicity เช่น แมงกะพรุนไฟ (Sea nettle), แมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Portugese man-of-war), แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) และแมงกะพรุน อิรุคันจิ (Irukandji jellyfish) นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิด systemic effect จาก allergic reaction ได้

Cnidaria แบ่งเป็น 4 class ได้แก่ Cubozoa, Hydrozoa, Schyphozoa และ Anthazoa

1.1 Class Cubozoa เป็น Cnidaria ที่มีพิษรุนแรงที่สุด และ เข็มพิษของกลุ่มนี้พุ่งด้วยความเร็วสูงมากสามารถเจาะทะลุแม้กระทั่งกระดองของปูได้ โดยมี family ที่มีความสำคัญทางพิษวิทยา 2 families คือ

  • Family Chirodropidae: สัตว์ใน family นี้ ที่รู้จักกันดี คือ แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish, Chinorex fleckeri) มีรูปทรงเป็น ลูกบาศก์ตัวเต็มวัยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 เซนติเมตร แต่ละมุมมี 15 tentacles ทั้งสี่มุม พบในเขตมหาสมุทรอินเดีย และ มหาสมุทรแปซิฟิก (พบมากในเขตทะเลของประเทศออสเตรเลีย, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม) ในศตวรรษที่ผ่านมามีรายงานการเสียชีวิต ของผู้ป่วยจากพิษของแมงกะพรุนกล่องประมาณ 70 ราย ในประเทศ ออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีรายงานการพบแมงกะพรุนกล่องและ ผู้ที่บาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่องมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และมี ผู้ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง 4 ราย แต่จากการ เก็บตัวอย่างของทีมนักชีววิทยาทางทะเล รวมทั้งการสอบสวนโรค ของสำนักระบาดวิทยาพบว่า มีแมงกะพรุนกล่องทั้งในเขตอ่าวไทย และทะเลอันดามันแต่ยังไม่พบชนิดที่มีพิษร้ายแรงแบบในประเทศ ออสเตรเลีย พิษของแมงกะพรุนกล่องมีทั้ง local และ systemic toxicity โดย local toxicity คือ เป็นผื่นบวมแดงหรือตุ่มน้ำเป็น แนวยาวคล้ายรอยแส้บริเวณที่สัมผัส และเจ็บปวดอย่างรุนแรง ส่วน systemic toxicity ได้แก่ พิษต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ, negative inotropy, ลด coronary blood flow และความดันโลหิตสูงในช่วงแรกตามด้วย cardiac arrest และ pulmonary edema ภายใน 2-10 นาทีหลังสัมผัสซึ่งบางราย หัวใจหยุดเต้นก่อนขึ้นจากน้ำ พิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดย ทำให้เกิดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกร็งโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณ หน้าท้อง และหลัง (จากการที่โซเดียมและแคลเซียมเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อได้มากขึ้น) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ทำให้มีอาการไข้, หนาวสั่น, คลื่นไส้, อาเจียน และปวดเมื่อยตามตัวได้ สัตว์ใน family นี้ที่มีพิษรุนแรงอีกชนิด คือ ต่อทะเล (Sea wasp, Chiropsalmus spp) ซึ่งมีพิษใกล้เคียงกับ แมงกะพรุนกล่อง
  • Family Carybdeidae: สัตว์ใน family นี้ที่สำคัญ คือ แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish, Carukia barnesi) หรืออีก ชื่อคือ แมงกะพรุนกล่องชนิดหนวดเส้นเดียวในแต่ละมุม เป็น แมงกะพรุนขนาดเล็กรูปทรงลูกบาศก์ ตัวเต็มวัยมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร แต่ละมุมมี 1 tentacle ทั้งสี่มุม พบมากในเขตทะเลตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศ ไทยมีรายงานพบในแหล่งน้ำตื้นของอ่าวไทย พิษของแมงกะพรุน อิรุคันจิทำให้ร่างกายปลดปล่อยสาร cathecolamine อย่างเฉียบพลัน ทำให้มีชีพจรเร็ว, เหงื่อแตก, ใจสั่น, กระสับกระส่าย, ความดัน- โลหิตสูงมาก (มีรายงานว่าอาจมี systolic blood pressure มากกว่า 200 mmHg) จนอาจมีเลือดออกในสมองได้, หัวใจบีบตัวลดลง, pulmonary edema, กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกร็งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลัง, มีความรู้สึกเหมือนกำลังจะเสียชีวิต โดยจะเริ่มมีอาการภายใน 5-120 นาที (เฉลี่ยประมาณ 30 นาที) เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า “Irukandji syndrome”

1.2 Class Hydrozoa สัตว์ที่มีความสำคัญทางพิษวิทยามีอยู่ 2 กลุ่ม คือ

  • แมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Portuguese man-of-war, Bluebottle, Physalia spp) พบได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและทะเลแคริเบียน โดยแมงกะพรุนไฟขวดเขียวจะลอยเป็นกลุ่มอยู่บนผิวน้ำมีสีฟ้าอ่อน จนถึงสีม่วง ขนาดประมาณ 9-30 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายเรือรบของโปรตุเกสในศตวรรษที่ 16 จึงได้ชื่อว่า ”แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส” (Portuguese man-of-war) local toxicity ทำให้เกิดผื่นแดง, ถุงน้ำ, ผิวหนังตาย และปวดแสบ ปวดร้อนอย่างรุนแรง ส่วน systemic toxicity ทำให้มีอาการชาและอ่อนแรง, เม็ดเลือดแดงแตก, หัวใจเต้น ผิดจังหวะ, กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง
  • ปะการังไฟ (Fire coral, Millepora spp) พบในเขตร้อนชื้นของ มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพุ่มเล็กๆอยู่บนหินและปะการังซึ่งอาจดูคล้ายสาหร่ายทะเลได้ และพบในรูปแบบปะการังซึ่งมีโครงร่างแข็ง (exoskeleton) สีเหลือง- อ่อนอมเขียวปกคลุมซึ่งสามารถบาดผิวหนังได้ และมีเข็มพิษอยู่บน tentacles ยื่นออกมาผ่านรูเล็กๆ ของ exoskeleton แม้จะอยู่ใน class เดียวกันแต่การบาดเจ็บจากการสัมผัสปะการังไฟนั้นมีความรุนแรง น้อยกว่าแมงกะพรุนไฟขวดเขียวมาก การสัมผัสปะการังไฟ ทำให้มีอาการปวดแสบร้อน, เป็นรอยแดงซึ่งอาการปวดจะเริ่มทุเลาลง หลังจาก 90 นาที ส่วนรอยแดงจะเริ่มยุบที่หนึ่งวันและกลาย เป็นรอยดำที่หนึ่งสัปดาห์ซึ่งจะจางลงอย่างช้าๆ

1.3 Class Schyphozoa ส่วนมากจะมีพิษรุนแรงน้อยกว่า Cubozoa และ Hydrozoa ใน class นี้สัตว์ที่มีความสำคัญได้แก่

  • แมงกะพรุนไฟ (sea nettle, Chysaora quinquecirrha) พบใน เขตมหาสมุทรน้ำอุ่น ส่วนใหญ่เป็น local toxicity แต่มีรายงาน systemic toxicity ที่มีฤทธิ์เหมือนกับกลุ่มของแมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Physalia) คือ มีอาการชาและอ่อนแรง, เม็ดเลือดแดงแตก, หัวใจเต้น ผิดจังหวะ, กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง และยังมีรายงานของ hepatotoxicity
  • แมงกะพรุนโมฟว์ สทิงเกอร์ (mauve stinger, Pelagia noctiluca), แมงกะพรุนยักษ์สายพันธุ์ Lion’s mane (hair jellyfish, Cyanea capillata), แมงกะพรุนปลอกมือ (thimble jellyfish, Linuche unguiculata) ส่วนมากเป็น local toxicity คือมีอาการปวดแสบปวดร้อน เป็นผื่น บวมแดง มีเพียงส่วนน้อยที่มี systemic toxicity

1.4 Class Anthazoa เป็นสัตว์ในกลุ่มปะการัง (corals) ปะกา- รังอ่อน (soft corals) และ ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ตัวที่มีพิษคือ ดอกไม้ทะเล โดยการสัมผัสดอกไม้ทะเลจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดง ร้อน หรือเป็นตุ่มน้ำพองได้ มีรายงานอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และค่าการทำงานของตับผิดปกติเล็กน้อยได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ในทางคลินิกยังไม่มีการตรวจยืนยันพิษของ cnidaria ว่าเป็นพิษจากสัตว์ชนิดใด สำหรับผู้ป่วยที่มี systemic toxicity ควรส่งตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiography), cardiac enzyme, hematocrit, electrolyte, urinalysis, ค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อ creatine kinase, ค่าการทำงานของไต (creatinine, blood urea nitrogen) หรือตับ (liver function test), เอกซ์เรย์ปอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของ ผู้ป่วย หรือชนิดของสัตว์พิษนั้น

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่สัมผัส Cnideria

เน้นการยับยั้งการปล่อยพิษจากเข็มพิษ (nematocysts) เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับพิษมากขึ้นทำโดย

  • การราดบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน ด้วยน้ำส้มสายชู (5% acetic acid) นานอย่างน้อย 30 วินาที โดยน้ำส้มสายชูเป็นสารที่ใช้มากที่สุด เมื่อได้รับเข็มพิษจาก cnidaria และได้ผลดีในกลุ่ม Cubozoa (แมงกะพรุนกล่องและแมงกะพรุนอิรุคันจิ) แต่ควรหลีกเลี่ยงในแมงกะพรุนไฟและแมงกะพรุนไฟขวดเขียว เนื่องจากมีรายงานทำให้ เข็มพิษของแมงกะพรุนสองกลุ่มนี้ปล่อยพิษออกมามากขึ้นได้
  • การราดบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนด้วยน้ำทะเล, โซเดียม ไบคาร์บอเนท (baking soda) หรือ 40-70% isopropyl alcohol สำหรับแมงกะพรุนไฟและกลุ่มแมงกะพรุนไฟขวดเขียว หากไม่แน่ใจว่าเป็นแมงกะพรุนชนิดใดแนะนำให้รักษาตามชนิด แมงกะพรุนที่พบบ่อยในพื้นที่นั้นๆ ไม่แนะนำให้ใช้ปัสสาวะ สุรา (ethanol) หรือน้ำเปล่าทา เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้มีการปล่อยพิษ ออกมามากขึ้นได้ หลังจากนั้นจึงนำเข็มพิษออกโดยใส่ถุงมือหยิบเมือก และตัวแมงกะพรุนออก แล้วคีบเข็มพิษออกหรือใช้บัตรพลาสติก หรือ อุปกรณ์ที่เป็นแผ่นขอบทู่ เช่น ไม้บรรทัดปาดเอาเมือกและเข็มพิษออก เมื่อมาถึงโรงพยาบาลเน้นการรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ สำหรับอาการปวดนั้น ให้การรักษาด้วยยาแก้ปวดในรูปแบบกิน หรือฉีด หากบริเวณผิวหนังที่สัมผัสพิษมีขนาดเล็กให้ล้างทำความสะอาดโดยไม่ต้องปิดแผล แต่ในกรณีที่แผลมีขนาดใหญ่ เช่น แผลไหม้ ให้ทำแผลและปิดแผล การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อและ การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ขึ้นกับลักษณะแผลและ ภูมิคุ้มกันต่อบาดทะยักของผู้ป่วย สำหรับบริเวณกระจกตาให้ล้าง ด้วย isotonic solution รักษาโดย topical steroids และปรึกษา จักษุแพทย์

ในประเทศออสเตรเลีย มีรายงานการใช้ยาต้านพิษสำหรับ แมงกะพรุนกล่อง (Chinorex fleckeri antivenom) แต่ขณะนี้ยังไม่มี ยาต้านพิษชนิดนี้ในประเทศไทย

สำหรับแมงกะพรุนอิรุคันจิอาการจากพิษอาจเริ่มช้า (5-120 นาที) ฉะนั้นหลังสัมผัสควรสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง

2. Phylum Porifera (the Sponges)

Phylum Porifera ประกอบด้วยฟองน้ำหลายชนิด แต่มีเพียง ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์โดยฟองน้ำจะมี spicules (ขวาก) ซึ่งประกอบด้วย silicon dioxide หรือ calcium carbonate อยู่บน elastic skeleton

การบาดเจ็บจากการสัมผัสฟองน้ำที่ความสำคัญทางคลินิก ได้แก่

  • การบาดเจ็บจากสารพิษ เช่น crinotoxin ซึ่งพบใน fire sponges (Tedania species) และ stinging sponge (Neofibularia species) ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีผลระคายเคืองต่อผิวหนังและ ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ (stinging sponge dermatitis)
  • การระคายเคืองจาก spicules อาการทางคลินิกของการบาดเจ็บจากการสัมผัสฟองน้ำ ขึ้นอยู่กับสารพิษแต่ละชนิดของ spicules โดยอาจจะทำให้มีอาการคันและแสบร้อนเกิดขึ้นตามหลังการสัมผัสเป็นนาทีถึงชั่วโมง ซึ่งอาจเป็น รุนแรงมากขึ้นในช่วงสามวันแรกแล้วจะทุเลาลงที่ 3-7 วัน นอกจากนี้อาการอื่นที่พบได้คือ อาการข้อติดเฉพาะที่บริเวณที่สัมผัส, ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นหรือตุ่มน้ำ บางรายอาจมีอาการผิวหนังลอก (desquamation) ตามมาได้

การดูแลหลังจากการสัมผัส ได้แก่ การล้างบริเวณที่สัมผัส, การนำ spicules ออกโดยใช้เทปกาว หรือใช้บัตรพลาสติกขูดออก, ประคบเย็น, ให้ยาบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่มีการอักเสบแบบรุนแรงให้ พิจารณาใช้ยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือสเตียรอยด์ (corticosteroids)

Mediterranean sponge diver’s disease เกิดจากการสัมผัส กับดอกไม้ทะเล (phylum Cnidaria, class Anthazoa) ที่อยู่ใกล้ฟองน้ำ ซึ่งผลระคายเคืองผิวหนังมิใช่ผลจากสารพิษของฟองน้ำโดยตรง

3. Phylum Annelida

Phylum Annelida ได้แก่ สัตว์ในกลุ่มหนอนทะเล (Bristle worm) หรือชื่ออื่นๆ ได้แก่ หนอนหนาม บุ้งทะเล และไส้เดือนทะเล เป็นหนอนที่มีขนแข็ง (bristles) คล้ายหนามเล็กๆหลายๆเส้น เป็นพุ่มยื่น ออกมาทางด้านข้างของตัว ซึ่งสามารถแทงทะลุผิวหนังและ หักฃาอยู่ในผิวหนังได้ มีผลทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง สำหรับ อาการปวดสามารถหายได้เองใน 2-3 ชั่วโมง แต่อาการแดงอาจพบได้อีก 2-3 วัน ขนแข็งสามารถเอาออกได้ ด้วยการใช้ forceps คีบ, น้ำส้มสายชู หรือ isopropyl alcohol ในบางกรณีอาจให้ corticosteroids เพื่อลดการอักเสบ

4. Phylum Echinodermata

Echinodermata เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีห้าแฉก และมีเปลือกแข็มหุ้ม ด้านนอกส่วนมากมีหนามร่วมด้วย phylum นี้แบ่งออกเป็น 6 class ได้แก่

  • Class Asteriodea ดาวทะเล (sea stars)
  • Class Ophiuroidea ดาวเปราะหรือดาวหนาม (brittle stars)
  • Class Holothuroidea ปลิงทะเล (sea cucumbers)
  • Class Echinoidea เม่นทะเล และเหรียญทะเล (sea urchins, sand dolla)
  • Class Crinoidea พลับพลึงทะเล (sea lilies)
  • Class Concentricycloidea ดอกเดซี่ทะเล (sea daisies)

Class ที่สำคัญมี 3 class ได้แก่

4.1 Class Asteroidea (ดาวทะเล) ดาวทะเลส่วนมากทำให้ มีการบาดเจ็บเฉพาะที่ในกลุ่มนี้ดาวทะเล ที่มีพิษรุนแรงมากคือ ดาวมงกุฎหนาม (Crown of thorns starfish, Acanthaster planci) พบได้ในเขตอินโดแปซิฟิก มีแฉก 16-23แฉก มีหนามคล้ายเม่น ปกคลุมตัวทางด้านบน โดยมีสารกลุ่ม saponins เคลือบอยู่ สารกลุ่ม saponins นี้มีฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis), ต้านการ แข็งตัวของเลือด (anticoagulant), พิษต่อกล้ามเนื้อ (local myotoxin) และ histamine liked effect เมื่อถูกหนามของดาวมงกุฎหนาม แทงสารพิษนี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยทำให้มีอาการดังนี้

Local toxicity ทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรง บวมแดงคัน มีเลือด ออกมาก เลือดหยุดยาก และมีจ้ำเลือดขึ้น

Systemic toxicity คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ มีรายงาน กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วร่างกายและหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยที่ถูกหนาม ของดาวมงกุฎหนามจำนวนมาก

4.2 Class Echinoidea (เม่นทะเล และเหรียญทะเล) ในกลุ่ม นี้สิ่งมีชีวิตที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่ เม่นดอกไม้ (Flower sea urchin, Toxopneustes pileolus) และ เม่นทะเลดำหนามแหลม (Needle spined urchin, Diadema spp)

  • เม่นดอกไม้ (Flower urchin, Toxopneustes pileolus) เป็นเม่นทะเลที่พบบ่อยในเขตทะเลน้ำลึกรวมถึงในเขตทะเลของ ประเทศไทยด้วย ระหว่างหนามจะมีอวัยวะพิษที่เรียกว่า pedicellaria มีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆอยู่บนก้านชูแต่ละเส้น ภายในแต่ละ pedicellaria จะมีเขี้ยวเล็กๆ 3 เขี้ยว ที่ฐานของแต่ละเขี้ยว จะมีต่อมพิษอยู่ดังรูป

เมื่อสัมผัสถูก pedicellaria ของเม่นดอกไม้แล้วเขี้ยวพิษจะ เกาะติดอยู่ที่ผิวหนังแม้จะเอาตัวเม่นดอกไม้ออกไปแล้ว และ pedicellaria ก็จะยังสามารถปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกายต่อไปได้ ฉะนั้น ต้องทำการเอา pedicellaria ออกโดยเร็วที่สุด

พิษของเม่นดอกไม้ local toxicity จะทำให้บริเวณสัมผัสเจ็บปวดอย่างรุนแรงซึ่งอาการปวดจะหายไปภายในหนึ่งชั่วโมง systemic toxicity จะทำให้มีอาการชา, อ่อนแรง ได้นานหลายชั่วโมง (อาจมากได้ถึงหกชั่วโมง) ซึ่งจะทำให้มีภาวะหายใจล้มเหลว และ เสียชีวิตได้

  • เม่นทะเลดำหนามแหลม (Needle spined urchin , Diadema spp) พบได้มากในเขตทะเลอินโด-แปซิฟิก และทะเลแคริเบียน มีหนามยาวแหลม(อาจยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร) เมื่อถูกหนามแทงแล้ว พิษก็จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังและแผลที่ถูกแทง

พิษของเม่นทะเลดำหนามแหลม local toxicity ทำให้มีอาการบวม แดง ปวดแสบปวดร้อนได้หลายชั่วโมง หากมีหนามแทงบริเวณข้อ ทำให้มีข้ออักเสบอย่างรุนแรงได้ (severe synovitis) อาจมีการติดเชื้อ ร่วมด้วยได้ และหากหนามหักจะมีของเหลวสีน้ำเงินซึ่งหากถูกแผล จะทำให้สีผิวบริเวณนั้นเป็นสีน้ำเงิน(tatooing) ซึ่งหายได้ยาก สำหรับ systemic toxicity ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน, ชา, กล้ามเนื้อ อ่อนแรงได้ มีรายงานการเกิดสมองอักเสบ (meningoencephalitis) และกลุ่มอาการอ่อนแรงชนิด Guillian-Barre’ syndromes จากการถูกหนามของเม่นทะเลที่มีลักษณะเหมือนเม่นทะเลดำ หนามแหลม

4.3 Class Holothuroidea (ปลิงทะเล) ปลิงทะเลบางชนิด

เท่านั้นที่มีพิษโดยมีอวัยวะพิษอยู่ที่หนวด (Cuvierian tubules) ซึ่งยื่น ออกมาจากทวารหนัก (anus) หนวดของปลิงทะเล มีสารคล้ายกาวช่วยในการ ยึดเกาะและมีพิษ holothurin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม saponins ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ (contact dermatitis) ถ้าสัมผัสกับตามีผล ทำให้มีการอักเสบของกระจกตาและตาขาว (corneas and conjunc- tivae) อาจรุนแรงถึงตาบอดได้ การรับประทานปลิงทะเลที่ปรุงไม่ถูกวิธี อาจทำให้ได้รับพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียได้

การรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บจาก Echinodermata

แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • การรักษาประคับประคองและการรักษาตามอาการ เช่น การ ประคับประคองสัญญาณชีพ การช่วยหายใจในกรณีที่มีภาวะหายใจ ล้มเหลวและการให้ยาแก้ปวด ปัจจุบันยังไม่มียาต้านพิษจากสัตว์ทะเล กลุ่มนี้
  • การนำเอาอวัยวะพิษไม่ว่าจะเป็น หนาม เข็มพิษ หรือ pedicellaria ออกจากผู้ป่วยโดยการใช้ forceps คีบออก หรือการผ่าตัดแผล (local debridement) หลังจากนั้นจึงแช่ในน้ำร้อน 45 OC (113 OF) นาน 30-90 นาที (ช่วยในการ inactive พิษที่เป็น heat-labile toxins จะทำให้ปวด ลดลง) อาจต้องใช้เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ หรือ MRI เป็นตัวช่วยระบุ ตำแหน่งหนามที่อยู่ลึก, หนามมองไม่เห็นเนื่องจากหักติดอยู่ในแผล และหนามที่อยู่ในตำแหน่งข้อ ซึ่งต้องทำการผ่าตัดออกทันที
  • - การดูแลแผล (wound management) เช่น การผ่าตัดแผลและ เอาสิ่งแปลกปลอมออก การทำแผล การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกัน การติดเชื้อและการป้องกันบาดทะยักตามลักษณะแผลและภูมิคุ้มกัน ต่อบาดทะยักของผู้ป่วย

5. Phylum Mollusca

กลุ่มที่สำคัญทางคลินิกมี 2 class ได้แก่ class Cephaloda และ class Gastropoda

5.1 Class Cephalopoda

ตัวที่สำคัญคือ หมึกวงแหวนน้ำเงิน (blue ringed-octopus, Hapalochlaena maculosa) และ หมึกวงแหวนน้ำเงินใหญ่ (greater blue ringed-octopus, Hapalochlaena lunulata) ซึ่งพบในมหาสมุทร แปซิฟิกแถบทวีปออสเตรเลีย, หมู่เกาะโซโลมอน, นิวกินี, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทยมีเฉพาะหมึกวงแหวนน้ำเงิน (blue ringed-octopus, Hapalochlaena maculosa) โดยพบได้ในบริเวณ อ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตัวมีสีเหลืองน้ำตาลมีลวดลายเป็นวงสีน้ำเงิน ขนาดตัวเต็มวัยประมาณ 4-5 เซนติเมตร และ นวดยาว 15เซนติเมตร มีสาร tetrodotoxin (พิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า) เก็บอยู่ในต่อมน้ำลาย เหยื่อจะได้รับพิษเมื่อถูกกัดเท่านั้น

ปกติ Hapalochlaena species จะไม่เข้าทำร้ายคนยกเว้นเมื่อถูก รบกวน คนจะได้รับพิษเมื่อถูกกัด local effect นั้นแผลจะมีขนาดเล็ก มักไม่ปวด มีอาการคันหรือแดงเล็กน้อย และอาจมีอาการชาบริเวณที่สัมผัส systemic effect เกิดจากสาร tetrodotoxin ทำให้มีอาการชารอบปาก หรือในปาก คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการกลืนลำบาก พูดลำบาก เดินเซ อ่อนแรง และรุนแรงมากขึ้นจนเป็นอัมพาตทั้งตัว และนำไปสู่ภาวะหายใจ ล้มเหลวได้ ภาวะอ่อนแรงที่เกิดขึ้นจะดำเนินเร็วโดยมักจะเริ่มมีอาการ ภายใน 10 นาที หลังได้รับพิษ และมักจะดีขึ้นเร็วโดยทั่วไปจะฟื้นตัวภายใน4 - 48 ชั่วโมง มีรายงานการเกิดหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ได้รับพิษ จากหมึกวงแหวนน้ำเงินหลังจากที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ และช่วย หายใจแล้ว 30 นาที นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการแพ้ชนิด anaphylaxis และ anaphylactoid ได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

แม้จะมีการตรวจสาร tetrodotoxin จากเลือดและปัสสาวะของ ผู้ป่วยได้ แต่ในทางคลินิกยังอาจไม่ได้นำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว หรือมีภาวะช็อคควรส่งตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiography), electrolyte และเอกซ์เรย์ปอดเพื่อประกอบ การรักษาผู้ป่วย

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากหมึกวงแหวนน้ำเงิน

การรักษาเน้นการเปิดทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ ติดตามสัญญาณชีพ อย่างใกล้ชิด และให้การรักษาแบบประคับประคอง โดยทั่วไปจะฟื้นตัว ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ไม่มี antivenom หรือ antidote

นอกจากนี้ยังต้องให้การดูแลแผลและการป้องกันบาดทะยัก เช่นเดียวกับการบาดเจ็บทั่วไปด้วย

5.2 Class Gastropoda

ตัวที่มีความสำคัญ คือ หอยเต้าปูน (Cone snail, Conus spp.) หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ใน genus Conus มีประมาณ 500 species มีรายงาน ทำให้เกิดพิษต่อมนุษย์ได้ 18 สปีชี่ส์ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก Conus geographus มักพบหอยเต้าปูนได้ในแนวปะการังของมหาสมุทรอินโด- แปซิฟิก เป็นสัตว์กินเนื้อโดยจะล่าปลาเล็กๆ, หนอนทะเล หรือหอยเป็นอาหาร

หอยเต้าปูนมีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเปลือกแข็งที่สวยงามห่อหุ้มลำตัว มีงวง ที่เรียกว่า “proboscis” ภายใน proboscis จะมีเข็มพิษเป็นรูปฉมวก เรียกว่า “harpoon” บนเข็มพิษจะมีสารพิษในกลุ่ม conotoxin อยู่ หอยเต้าปูน จะยิงเข็มพิษใส่เหยื่อทำให้เหยื่ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ พิษในกลุ่ม conotoxin มีหลายชนิดส่วนมากมีฤทธิ์เป็น neurotoxin บางชนิดมีฤทธิ์เป็น vasopressin- like peptide

เมื่อถูกเข็มพิษจากหอยเต้าปูนจะมีอาการทั้ง local effect และ systemic effect โดย local effect มีความรุนแรงต่างกันตั้งแต่ปวด บวมแดงเล็กน้อยจนถึงปวดอย่างรุนแรงมากและมีเนื้อเยื่อตาย (tissue ischemia) systemic effect ทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหงื่อ ออกมากและ มีอาการอ่อนแรงซึ่งสามารถรุนแรงขึ้นจนทำให้เป็นอัมพาต ทั้งร่างกาย (complete voluntary muscle paralysis) เกิดภาวะการ หายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ในทางคลินิกไม่มีการตรวจหาสารกลุ่ม conotoxin สำหรับผู้ป่วยที่มี ภาวะหายใจล้มเหลว หรือมีภาวะช็อคควรส่งตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiography), electrolyte และ เอกซ์เรย์ปอดเพื่อประกอบการ รักษาผู้ป่วย

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากหอยเต้าปูน

การรักษาเน้นการรักษาประคับประคอง ไม่มี antivenom หรือ antidote และให้การดูแลแผลและการป้องกันบาดทะยัก เช่นเดียวกับการบาดเจ็บทั่วไป