Outstanding project

  Outstanding project
alt
ค้นพบยีนคนไทยแพ้ยา “แบคทริม” หรือกลุ่มยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาซัลฟา เป็นครั้งแรกของโลก
ยาแบคทริม (Bactrim) หรือ Sulfamethoxazole Trimethoprim เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาซัลฟา ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีที่เรียกว่า “ซัลโฟนาไมด์” (Sulfonamide) ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเป็นยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์กว้าง ใช้รักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTIs) โรคหลอดลมอักเสบ โรคตาติดเชื้อ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบค...ทีเรีย โรคปอดบวม หูอักเสบ แผลไหม้อย่างรุนแรงและท้องเสียจากการท่องเที่ยว (traveler’s diarrhea) เป็นต้น ยังมีการใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส Pneumocystis carinii (jiroveci) pneumonia (PJP)

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบอัตราการแพ้ยาสูงที่สุด โดยพบว่ามีรายงานการเกิดผื่นแพ้ยาทางผิวหนังชนิดรุนแรง บางรายอาจพบอาการทางผิวหนังที่รุนแรง คือ เกิดตุ่มพอง ผิวหนังลอก ที่เรียกว่าการแพ้แบบ สตีเวนส์-จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS) และท็อก-ซิก อีพิเดอร์มัลเนโครไลซิส (Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TEN) ร่วมกับอาการแทรกซ้อนในระบบอื่นๆได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หรือเกิดภาวะทุพลภาพตลอดชีวิต เช่นตาบอด นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มีผื่นแพ้ยาชนิด SJS/TEN พบว่า อาการดังกล่าวส่งผลกระทบในหลายๆ ด้านต่อผู้ป่วยและครอบครัว เช่น การสูญเสียสมรรถนะการทํางานเนื่องจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น การที่ถูกคนรอบข้างรังเกียจเนื่องจากอาการที่มองเห็นได้ เช่น ผื่นชนิดรุนแรงตามบริเวณใบหน้าและลําาตัว ผิวหนังลอกไหม้ ทําให้ไม่กล้าออกจากบ้านไปพบปะผู้อื่น ตลอดจนความรู้สึกหวาดระแวงต่อการรับประทานยา ความเสื่อมศรัทธาและไม่ไว้วางใจต่อบุคลากรทางการแพทย์

นอกจากนี้ยังพบว่ามีอุบัติการณ์ที่เกิดการแพ้ยาของกลุ่ม Sulfonamide nonantibiotic เช่น sulfasalazine, loop diuretic,sulfonylurea, cyclooxygenase–2 inhibitors เป็นต้น ซึ่งบางการศึกษาพบว่าสามารถเกิดการ cross-reactivity กับยากลุ่ม sulfonamide nonantibiotic ได้

การรักษาผื่นแพ้ยาชนิดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นของครอบครัวและสังคมโดยรวม รวมทั้งยังอาจนําไปสู่การฟ้องร้องแพทย์หรือโรงพยาบาลเพราะความเข้าใจผิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของการดูแลรักษา ถึงแม้จะมีการพัฒนาระบบและวางแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นการป้องกัน แต่การแพ้ยาก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นยาจําเป็นและมีประสิทธิผลที่ดีในการรักษาอย่างยาแบคทริม (Bactrim) หรือ Sulfamethoxazole Trimethoprim

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดทำโครงการ “เภสัชพันธุศาสตร์ต่อการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังรุนแรงในคนไทย” ทำการศึกษาแบบควบคุม (case-control) ในคนไทย เพื่อหาความเสี่ยง พบว่าหากมีความผิดปกติของยีน HLA B*15:02 และ HLA C*08:01 จะสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson’s Syndrome ที่ผิวลอก ผื่นขึ้น เยื่อบุตา เยื่อบุปากไหม้ หากมีความผิดปกติของยีน HLA B*13:01 จะสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบ DRESS (Drug Reaction with Eosinophillia and Systemic Symptoms) ซึ่งมีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตพอๆ กัน โดยเฉลี่ยคนที่มียีนผิดปกติจะเพิ่มโอกาสแพ้ยามากกว่าคนที่ยีนไม่ผิดปกติประมาณ 15 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบยีนคนไทยแพ้ยา “แบคทริม” หรือกลุ่มยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาซัลฟาเป็นครั้งแรกของโลก จึงนำมาสู่การพัฒนาการตรวจยีนแพ้ยาก่อนที่จะให้ยาเพื่อลดโอกาสเสี่ยงแพ้ยาต่อไป การตรวจยีนแพ้ยากําลังเป็นที่สนใจในวงการสาธารณสุข เพราะสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดผื่นแพ้ยาของผู้ป่วยแต่ละรายได้ เพื่อที่แพทย์จะเลี่ยงไปสั่งใช้ยาอื่นที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ การตรวจยีนแพ้ยา HLA B*15:02 สำหรับโอกาสแพ้ยากันชัก carbamazepine ที่สิทธิบัตรทองครอบคลุมการตรวจนี้ด้วย

อีกทั้งผลงานงานวิจัยชิ้นนี้ ยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติระดับโลก คือ Clinical Pharmacology and Therapeutics Impact factors 7.266 (Q1), JCR ลำดับที่ 16/ 270 (pharmacology and pharmacy) โดยจัดให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ของโลกที่แสดงให้เห็นว่า PGx marker ของการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังชนิดรุนแรงของยา Co-trimoxazole มีลักษณะเฉพาะเจาะจงต่อรูปแบบการแพ้ยา และได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลนำไปศึกษาต่อยอดเพื่อขยายผลต่อไป
จำนวนผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาแบบ SJS และ TEN
จำนวนผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาแบบ DRESS

 
alt
การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทางน้ำลายและการใช้เทคโนโลยี LAMP PC
การวินิจฉัยการติดเชื้อ COVID-19 ในช่วงแรก บุคลากรทางการแพทย์จะใช้การเก็บตัวอย่างตรวจจากโพรงหลังจมูก (nasopharyngeal) และลำคอ (throat) ด้วยอุปกรณ์การเก็บ (swab) ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ส่วนผู้รับการตรวจจะรู้สึกระคายเคืองและเจ็บจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ จึงศึกษาข้อมูลเพิ่มแล้วพบว่าในต่อมน้ำลายมีตัวรับ (receptor) ของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 ประกอบกับผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่า...เป็นโรค COVID-19 จะตรวจพบเชื้อได้ในน้ำลายในช่วงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงเป็นที่มาของการศึกษาการใช้น้ำลายเพื่อการวินิจฉัย COVID-19

โรคติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในผู้ติดเชื้อที่มีอาการและไม่มีอาการ ในปัจจุบันการวินิจฉัยการติดเชื้อ COVID-19 ใช้ตัวอย่างตรวจจากทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเก็บจากโพรงหลังจมูก (nasopharyngeal) และลำคอ (throat) โดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้เก็บตัวอย่าง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ถึงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด และถ้าไม่สามารถตรวจคัดกรอง หาผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะไม่สามารถควบคุมและกักกันโรคได้ รวมถึงจะไม่สามารถรักษาคนไข้ได้อย่างทันถ่วงที อีกทั้งยังขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นปัญหาทั่วโลก จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ต่อมน้ำลายมีตัวรับ (receptor) ของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 และพบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรค COVID-19 แล้ว สามารถตรวจพบเชื้อได้ในน้ำลายในช่วงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ สำหรับการทดลองผลการเก็บเชื้อจากน้ำลายของผู้ป่วย ที่ผ่านมาได้เก็บตัวอย่างน้ำลายของผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยคนนั้นมีอาการเป็นไข้ มีอาการทางระบบหายใจ และเข้าเกณฑ์ POI คือ เป็นผู้ป่วยคัดกรองและเฝ้าระวังการติดเชื้อโรคโควิดที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 200 ราย โดยสรุปได้ว่าการเก็บตัวอย่างน้ำลายของผู้ป่วยมาตรวจหาเชื้อโควิด-19 มีความไวและความจำเพาะสูง จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปต่อยอดในการค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและในสถานที่ที่มีทรัพยากรจำกัด เนื่องจากมีความสะดวกและสามารถเก็บตัวอย่างได้ง่ายและรวดเร็ว เหมาะกับการสุ่มตรวจในกลุ่มประชากรจำนวนมาก นอกจากนั้น ประโยชน์ทางอ้อม คือ ลดการพึ่งพาชุด PPE และลดการใช้อุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจ และตอนนี้เราก็กำลังขยายผลศึกษาวิธีการตรวจเชื้อในรูปแบบอื่นที่มีความไวยิ่งขึ้นต่อไป

ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกันศึกษาค้นคว้าจนได้ชุดตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยี LAMP PCR ที่สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วรู้ผลใน 1 ชม. มีความแม่นยำ ลดต้นทุนการวิเคราะห์ ใช้งานง่าย และปลอดภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ตรวจ นับว่าเป็นความสำเร็จในผลงานที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทย ทั้งยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ของไทยอีกด้วย