รู้จักแพทย์ประจำบ้าน สาขาทางด้านจิตเวชศาสตร์

พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม

สาขาจิตเวชศาสตร์เป็นสาขาวิชาทางการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตที่ต้อง

ใช้ความรู้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการทางด้านนี้ที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว  การฝึกอบรมจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการเพื่อ

๑)       สร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาจิตเวชศาสตร์ที่เข้ารับการฝึกอบรม

๒)       มีการทำงานตามหลัก ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)

๓)       สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์

๔)       มีความเอื้ออาทร และใส่ใจในความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม

๕)       มีความสามารถในการปฏิบัติงาน ได้ด้วยตนเอง

๖)       มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตตามมาตรฐาน และตามจรรยาบรรณจิตแพทย์

๗)       มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

๘)       มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ

๙)       มีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นกลุ่มได้

๑๐)     มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ

๑๑)     มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน

กระบวนการฝึกอบรมมุ่งพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ มีทักษะในการตั้งคำถามและค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง (active learning) มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของผู้รับการฝึกอบรม (personalized training program) โดยคำนึงถึงสภาวะการทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการปฏิบัติงาน การเรียนรู้ และสุขภาพกายใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวมถึงมีการวัดและประเมินผลที่ครอบคลุมผลลัพธ์การฝึกอบรม โดยมีกลไกการกำกับดูแล และประเมินแผนงานฝึกอบรมเป็นระยะ

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม 

แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ ต้องมีความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่ 

พึงประสงค์ (intended learning outcomes/milestone) มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถที่ครอบคลุมทั้ง ๖ ด้าน ดังต่อไปนี้
 

๑.การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)

การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของ การดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพและ ความปลอดภัย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานในสาขาจิตเวชศาสตร์ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล ได้แก่ ทักษะต่างๆ ดังนี้ 

๑) การสัมภาษณ์ทางจิตเวช การตรวจร่างกาย การตรวจสภาพจิต การใช้แบบประเมินที่สำคัญ ในการคัดกรอง ประเมิน วินิจฉัยโรค บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคทางกายที่มีโรคร่วมทางจิตเวชได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ และหลักฐานเชิงประจักษ์ 

๒) การป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพจิต 

๓) การบริบาลแบบองค์รวม มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัย 

 

    ๒. ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรมทางจิตเวชศาสตร์ (Medical/psychiatric knowledge and 

procedural skills) 

สามารถทำจิตเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของการฝึกอบรม 

๑) มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพจิต จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคมศาสตร์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านจิตเวชศาสตร์ 

๒) มีความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นปัจจุบันและบริบทต่าง ๆ 

๓) มีทักษะการทำจิตเวชปฏิบัติอย่างมีมาตรฐาน และเหมาะสมกับบริบทของการปฏิบัติงาน 

๔) บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์ และสม่ำเสมอ 

 

   ๓. ทักษะระหว่างบุคคล และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills) 

๑) นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 

๒) ถ่ายทอดความรู้และทักษะ เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่แพทย์ นักศึกษาแพทย์และ ทีมสหสาขาวิชาชีพได้ 

๓) สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

๔) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

   ๔. การเรียนรู้และพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement) 

๑) วิพากษ์บทความ และดำเนินการวิจัยทางจิตเวชศาสตร์ได้ 

๒) มีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางการแพทย์ และการแพทย์เชิงประจักษ์ 

๓) เรียนรู้พัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติด้านจิตเวชศาสตร์ได้ด้วยตนเอง 

 

   ๕. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)
มีคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (continue professional development) และ พฤตินิสัยเจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนี้ 

๑) ประพฤติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน 

๒) มีความสามารถในการสำรวจจิตใจ พัฒนาตัวเอง และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม 

๓) มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development) เพื่อธำรงและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และ พฤติกรรมในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจิตเวชศาสตร์ที่เป็นมาตรฐาน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 

๔) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม 

 

    ๖. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based practice) 

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้ง 

การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยมีการการทำเวชปฏิบัติที่มีหลักการดังนี้ 

๑) สอดคล้องกับระบบสุขภาพ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ระบบยุติธรรม บริบททางสังคม และวัฒนธรรมของประเทศ 

๒) คำนึงถึงความปลอดภัย และสิทธิผู้ป่วย 

๓) ตระหนักในการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างคุ้มค่า (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ 

 

นักศึกษาแพทย์และแพทย์ใช้ทุนที่สนใจอยากเรียนวิชาจิตเวช
ลองเข้ามาอ่านบทความ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสิ
นใจสมัครเรียนได้ที่ข้างล่างนี้เลยครับ