ศูนย์ตรวจวินิจฉัยเต้านม

ศูนย์วินิจฉัยเต้านมให้บริการอะไรบ้าง
1. นัดหมายการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
2. ตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วยวิธีเอกซเรย์ธรรมดา
3. ตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วยวิธีอัลตราซาวด์
 
ท่านจะได้รับบริการจากใครบ้าง
1. รังสีแพทย์ระดับอาจารย์
2. รังสีแพทย์ระดับแพทย์ประจำบ้าน
3. เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค
4. เจ้าหน้าที่ต้อนรับและนัดหมาย
5. พนักงานเอกซเรย์
 
แมมโมแกรม
เป็น การเอกซเรย์เฉพาะเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสามารถแสดง รายละเอียดของเนื้อเยื่อหน้าอกต่อมนํ้านมไขมันต่อมนํ้าเหลืองได้เป็นอย่างดี
จุดประสงค์
1. ตรวจหามะเร็งระยะแรกตั้งแต่ยังคลำไม่พบก้อน
2. เพื่อวินิจฉัยแยกโรคและลักษณะของก้อนที่คลำได้ในเต้านมเพื่อหาตำแหน่งของเนื้องอก
 
ช่วงอายุที่เหมาะสมในการตรวจ
1. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 35 – 39 ปีควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมเพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติของเต้านมหรือไม่
2. ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรได้รับการทำแมมโมแกรมโดยเริ่มทำตั้งแต่อายุเท่าที่ญาติใกล้ชิด
    สายตรง ( แม่พี่สาว ) เป็น
3. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 – 49 ปีควรได้รับการทำแมมโมแกรมทุก 1 – 2 ปี
4. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับการทำแมมโมแกรมทุกปี

                 นอกจากนี้ ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมที่ควรได้รับการทำแมมโมแกรมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วคือผู้
ที่ไม่มีบุตรหรือแต่งงานเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง
 
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination-BSE)
นอก จากเครื่องมือก็คือมือของคุณเองที่จะสามารถตรวจพบอาการที่อาจบอกเหตุถึง มะเร็งเต้านมได้แต่เนิ่นๆถึงแม้จะมีตัวเลขบอกว่าผู้หญิงสามารถตรวจพบก้อนใน เต้านมได้ด้วยตัวเองถึง 90 % แต่ก็ประมาณการกันว่ามีผู้หญิงเพียง 33 % เท่านั้นที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำเดือนละหนึ่งครั้งสำหรับผู้หญิงที่ ยังไม่หมดประจำเดือนช่วง 5 – 7 วันหลังจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนซึ่งเป็นช่วงที่เต้านมจะอ่อนนุ่มและ มีก้อนแข็งน้อยที่สุดผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควร เลือกวันใดวันหนึ่งที่สะดวกและตรวจเต้านมในวันนั้นของเดือน รายละเอียดการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
 
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
   1. ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นที่บริเวณหน้าอกและใต้รักแร้เพราะอาจมีผลต่อภาพเอกซเรย์
   2. ควรแต่งกายด้วยชุดคนละท่อน
 
ขั้นตอนการรับบริการ
1. ยื่นบัตรนัดใส่กล่องตามเวลานัดแล้วหยิบบัตรคิวเมื่อท่านมาถึง
2. เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อท่านตามลำดับบัตรคิวและตามเวลานัดหมายในใบนัดตรวจพร้อมชำระเงินค่าตรวจที่เคาน์เตอร์การเงิน
3. หลังชำระค่าตรวจแล้วให้นำใบสั่งเอกซเรย์มาคืนที่เคาน์เตอร์เอกซเรย์แล้วนั่งรอ
4. เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคจะเรียกชื่อท่านเข้าห้องตรวจเพื่อรับการตรวจเอกซเรย์เต้านมตามขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
4.1 เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้ถอดเสื้อนอกเสื้อในเพื่อเตรียมถ่ายภาพแมมโมแกรม
4.2 การถ่ายแมมโมแกรมจะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาทีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์เต้านม 4 รูปข้างละ 2 รูปคือ จากด้านบนและจากด้านข้างโดยเครื่องเอกซเรย์จะกดเต้านมของท่าน 5 วินาทีเพื่อให้เนื้อภายในเต้านมกระจายออกซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยถูกต้องแม่น ยำและลดปริมาณรังสีท่านอาจรู้สึกเจ็บบ้างในขณะกดเต้านม
4.3 หลังจากถ่ายแมมโมแกรมแล้วจะให้ท่านนั่งรอก่อนเพื่อให้เจ้าหน้าที่รังสี เทคนิคนำภาพเอกซเรย์ของท่านให้รังสีแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมซึ่งท่านอาจ จำเป็นต้องถ่ายภาพแมมโมแกรมเพิ่มหรือทำอัลตราซาวด์ต่อไปการถ่ายแมมโมแกรม หรือทำอัลตราซาวด์เพิ่มนั้นไม่ได้หมายความว่าเต้านมของท่านผิดปกติแต่จะช่วย ให้รังสีแพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด
4.4 ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่งโมง
 
**ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจจะมากหรือน้อยขึ้นกับพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละท่านการรับผล**
 
ท่าน ไม่ต้องรอรับผลในวันที่มารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมผลการตรวจจะถูกส่งไปยัง แผนกที่ส่งท่านมาขอให้ท่านไปตรวจตามวันและเวลานัดของแผนกที่ส่งท่านมาตรวจ เอกซเรย์เต้านมหรือท่านที่ไม่มีการนัดหมายโปรดกลับไปนัดหมายกับแผนกเดิมได้ ภายหลังการตรวจเอกซเรย์เต้านมเสร็จสิน
 
คำเตือนเพื่อความปลอดภัยของ ทารก มีครรภ์ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเอกซเรย์

          สถานที่ติดต่อ : ศูนย์วินิจฉัยเต้านม โรงพยาบาลรามาธิบดี โทรศัพท์. 02-201-2412 โทรสาร. 02-201-1272