หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์

 

การบริการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา

           หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นหน่วยงานทางการแพทย์ที่นำสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูกตรวจวินิจฉัยภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตรวจการทำงานของไตตรวจการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

สารเภสัชรังสีคืออะไร?
          สารเภสัชรังสี หมายถึง สารเคมีปริมาณเล็กน้อยที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีซึ่งสารเคมีนี้จะมีโครง สร้างและคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะเข้าไปในร่างกายจะไปจับในอวัยวะที่ต้องการ โดยไม่มีผลต่อร่างกายและทำให้ถ่ายภาพได้
 
สารเภสัชรังสีประกอบด้วยสารกัมมันตรังสีมีคุณสมบัติดังนี้
  1. เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีพฤติกรรมเหมือนกับไอโซโทปที่มีสภาวะเสถียรและเมื่อเข้าไปในร่างกายจะไม่มีผล
       ต่อองค์ประกอบของร่างกาย
  2. ไม่มีฤทธิ์ต่อขบวนการทางชีวเคมีของร่างกาย
  3. เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตค่อนข้างสั้นเพียงพอที่จะทำการตรวจเสร็จสมบูรณ์
  4. ใช้สารปริมาณน้อยและไม่มีผลต่อร่างกาย
  5. ไม่มีผลต่อการทำงานของไตจึงใช้ได้ในผู้ป่วยที่ไตทำงานบกพร่อง การตรวจโดยใช้สารเภสัชรังสีไม่มีอันตราย
       ต่อผู้ป่วยและยังไม่พบว่ามี ANAPHYLACTIC SHOCK จากสารเภสัชรังสีแม้ผู้ป่วยจะมีประวัติแพ้ไอโอดีน
       เช่น แพ้สารทึบรังสีที่ใช้ ในการตรวจทางเอกซเรย์ก็ยังสามารถรับการฉีดสารเภสัชรังสีได้อย่างปลอดภัย
       เนื่องจากใช้สารแต่ละชนิดในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้นและถึงแม้จะมีรายงาน การตรวจพบอาการข้างเคียงแต่เป็นอัตรา
       ที่ต่ำมากและมีอาการน้อย
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ให้บริการอะไรบ้าง?
          แบ่งการให้บริการออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
          1. การวินิจฉัย
             1.1 ตรวจวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ด้วยเครื่อง Single Photon Emission Computed
                  Tomography (SPECT) เช่น
                   - การตรวจหัวใจ (Cardiovascular System)
                                 - Myocardial Perfusion
                                 - Radionuclide Ventriculography (MUGA)
                                 - Myocardial Infarction
                   - การตรวจระบบทางเดินหายใจ (Lung Scan)
                   - การตรวจกระดูก (Bone Scan)
                   - การตรวจไขกระดูก (Bone Marrow Scan)
                   - การวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry)
                   - การตรวจการอักเสบและการติดเชื้อ (Inflammation and Infection Scan)
                   - การตรวจเนื้องอก (Tumor Scan)
                   - Lymphoscintigraphy for Breast cancer and Melanoma (Sentinel Node)
                   - การตรวจตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary System)
                   - การตรวจระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal System)
                   - การตรวจตับและม้าม (Liver and Spleen Scan)
                   - Liver blood pool imaging (Liver Red Blood Cell Scan)
                   - การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Renal Scan)
                   - โรคกรวยไตอักเสบ (Acute pyelonephritis และแผลเป็นที่ไต (renal scar: DMSA
                      SCAN)
                   - Obstructive uropathy (Diuretic Renal Scan)
                   - Renovascular hypertension
                   - การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal transplantation)
                   - การตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Radionuclide cystography)
                   - การตรวจอัณฑะ (Thesticular Imaging on Scrotal Imaging)
                   - การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Scan)
                   - การตรวจต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Scan)
                   - การตรวจหลอดเลือดดำ (Venous Scan)
                   - การตรวจทางเดินน้ำเหลือง (Lymphatic Scan)
                   - การตรวจระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
             1.2 การเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการตรวจรักษาโรค ด้วยเครื่อง Computed Tomography(CT)
                   ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค มาทำการซ้อนทับกับภาพที่ได้จากเครื่อง SPECT ที่ บอกถึง        
                   การทำงานของอวัยวะที่ตรวจ ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า SPET-CT Image Fusion เพื่อช่วยให้แพทย์
                   สามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
             1.3 การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Uptake and Scan) : ใช้ในการศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
                   ตลอดจนดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มีการทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป โดยใช้เครื่อง Thyroid 
                   Uptake
             1.4 ตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง Bone Densitometer (BMD)
          2. การรักษา
              เรายังมีการรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีได้มีการยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งได้แก่ 

              - ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ(radioiodine therapy for thyrotoxicosis) และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน(Hyperthyroid)
              - มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Radioiodine Therapy for thyroid comers)
              - การรักษาบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็ง แพร่กระจายมาที่กระดูก (Palliative therapy for Metastatic Bone cancer Pain)
              - การรักษามะเร็งตับ (Radioiodine Lipiodol in Liver cancer)
              - Radiation Synovectomy

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ            
                                                                                                          

    1. Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT)
 
  
  2. Positron Emission Tomography Computed Tomography

(PET-CT)

 
 
  3. เครื่อง Bone Densitometer
 
 
4. เครื่อง Thyroid Uptake
 
                
 
 
วิธีการตรวจ
          ผู้ป่วยจะได้รับสารเภสัชรังสีก่อนการตรวจ ซึ่งวิธีการให้สารเภสัชรังสีมีหลายวิธีดังนี้
          1. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
          2. ฉีดเข้าทางใต้ผิวหนัง
          3. วิธีรับประทาน
          4. สูดดม
          * ยกเว้น การตรวจความหนาแน่นกระดูกผู้ป่วยไม่ต้องให้สารเภสัชรังสี

ข้อปฏิบัติตัวในการตรวจ
          - ก่อนตรวจ

            เนื่องจากการตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีวิธีการตรวจที่หลากหลายตามอวัยวะที่จะตรวจ ดังนั้น การตรวจ
            แต่ละชนิดจะมีการเตรียมตัวตรวจที่แตกต่างกันซึ่งเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาจะอธิบายวิธีการเตรียมตัว
            ตรวจและแจกเอกสารตามชนิดของการตรวจ

          - ขณะตรวจ
            1. ผู้ป่วยนอนนิ่ง ๆ ระหว่างตรวจโดยไม่ต้องกลั้นหายใจ
            2. ผู้ป่วยที่เป็นเด็กหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนิ่ง ๆ ได้อาจต้องให้ยาระงับความรู้สึก ซึ่งจะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
            3. ในระหว่างการตรวจจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ญาติและผู้ปกครองสามารถอยู่กับผู้ป่วยได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ

          - หลังการตรวจ
            1. ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการรับสารเภสัชรังสีควรหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้เด็ก และคนท้อง
            2. ระมัดระวังการเปรอะเปื้อนของปัสสาวะและอุจจาระ เช่น การราดน้ำล้างมาก ๆ และการล้างมือให้สะอาด

คำแนะนำในการตรวจ
          1. การตรวจหัวใจ
          2. การตรวจกระดูก (Bone Scan)
          3. การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD)
          4. การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid Uptake and scan)
          5. การตรวจผู้ป่วยเนื้องอกที่รักษาด้วยการรับประทานไอโอดีนรังสี

เวลาเปิดทำการ
          ในเวลาราชการ
          - ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30 น.-16.30 น.
          นอกเวลาราชการ
          - ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30 น. - 20.00 น. วันเสาร์เวลา 8.00 น. -16.00 น.

* หมายเหตุ วันเสาร์ เวลา 13.00 น.-16.00 น. ให้บริการเฉพาะการตรวจความหนาแน่นของกระดูกเท่านั้น

ที่ตั้ง หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อาคาร 1 ชั้น 1
โทรศัพท์. 02 201 1157, 02 201 2481-3
โทรสาร. 02 201 1191, 02 201 2484