ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

           แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง ต้องมีผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes / milestones) ที่ชัดเจน ครอบคลุมประเด็นทั้ง 6 ด้าน ดังต่อไปนี้
    1.   ทักษะและเจตคติในการบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
        1.1  ทักษะในการให้คำปรึกษาและแนะนำ (consultation and recommendation) เกี่ยวกับการตรวจและการทำหัตถการทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงในภาวะหรือโรคที่หลากหลายให้แก่ผู้ป่วยและแพทย์สาขาอื่นได้อย่างเหมาะสมกับข้อบ่งชี้ของโรค โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม พิจารณาและคำนึงถึงความเหมาะสม ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความเสี่ยง และประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
        1.2  มีทักษะในการขอใบแสดงความยินยอม (obtaining informed consent) ในกรณีที่ทำการตรวจทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงที่มีการใช้ contrast agent และการทำหัตถการ โดยมีความสามารถในการแจ้งรายละเอียดให้ผู้ป่วยทราบก่อนการตรวจ ทั้งในด้านข้อบ่งชี้ ขั้นตอนการตรวจ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
        1.3  มีทักษะในการเตรียม วางแผนการตรวจ และดูแลผู้ป่วยที่มารับการตรวจวินิจฉัย และการทำหัตถการ ทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงได้อย่างเหมาะสม
        1.4  มีทักษะในการตรวจพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจวินิจฉัย และการทำหัตถการทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงได้ และสามารถให้การดูแลรักษาเบื้องต้นและส่งต่อได้อย่างเหมาะสม
        1.5  มีทักษะในการติดตามและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการดูแลตัวเองหลังการตรวจวินิจฉัยและหลังจากได้รับ contrast agent ได้อย่างเหมาะสม
        1.6  มีทักษะในการจัดการดูแลและจัดการความเสี่ยงในกรณีที่เกิดอุบัติการณ์ร่วมกับหน่วยบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล
    2   ความรู้ทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงทั้งในภาวะที่ไม่รีบด่วนและในภาวะฉุกเฉินหรือวิกฤต (medical knowledge & procedural skills)
        2.1  มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการอ่าน วิเคราะห์ และรายงานผลการตรวจด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง
        2.2  มีความรู้ด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงทั้งในภาวะที่ไม่รีบด่วนและในภาวะฉุกเฉินหรือวิกฤต
        2.3  มีความชำนาญในการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง

3.   ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
        ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องแสดงทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดใน การ แลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วย บุคลากรวิชาชีพด้านการบริการสุขภาพและหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้อง
        3.1  สื่อสารได้อย่างเหมาะสมทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และ สาธารณชน
             3.2  สื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับแพทย์ บุคลากรวิชาชีพด้านการบริการสุขภาพและหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ รวมถึงการรายงานผลการตรวจทั้งแบบเอกสารและวาจา และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเวชระเบียนได้อย่างชัดเจน ครอบคลุมและถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
             3.3  สามารถให้คำปรึกษาแนะนา ในเรื่องการส่งตรวจ การตรวจหรือการรักษาทางรังสีวิทยา ข้อบ่งชี้ ข้อจำกัดและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยแก่แพทย์ บุคลากรวิชาชีพด้านการบริการสุขภาพและหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ
              3.4  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมทั้งในฐานะสมาชิกหรือหัวหน้าทีมในการดูแลสุขภาพ ร่วมกับบุคลากรในสาขาวิชาชีพเดียวกัน สหสาขาวิชาชีพและหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ
        3.5  สามารถใช้สื่อชนิดต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและการรักษาความลับผู้ป่วย

    4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (practice - based learning and improvement) โดยสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้
        4.1  มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการดูแลผู้ป่วย
        4.2  มีการพัฒนาการเรียนรู้ การประเมิน และการปรับปรุงการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสะท้อนตนเอง และการสะท้อนกลับจากหลักสูตร รวมทั้งมีวิจารณญาณในการใช้ข้อมูล ด้วยหลักการของระบาดวิทยาคลินิก และเวชศาสตร์เชิงประจักษ์
        4.3  การฝึกเป็นนักวิชาการ (Scholarly activity)
            ก. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริง ในการตรวจทางรังสีวิทยา อ่านและรายงานผลภาพโดยผ่านการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (self - directed learning)
                   ข. รับปรึกษาการส่งตรวจทางรังสีวิทยาจากแพทย์ต่างสาขาทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ
            ค. ทำงานวิจัย ตามที่หลักสูตรฯ กำหนด

    5.  ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism) รวมทั้งคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (continue professional development)
        5.1  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ และสามารถให้การบริบาลตามหลักเวชจริยศาสตร์ ในการให้บริบาลทางการแพทย์และสุขภาพแบบองค์รวมแก่ประชาชนทุกระดับ
        5.1  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงทุกชั้นปี  มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (lifelong learning)

    6.   มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System - based practice)        6.1  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงทุกชั้นปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ อาทิเช่น ระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ระบบประกันชีวิต ระบบการชดเชยการรักษา และระบบบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นต้น
        6.2  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงทุกชั้นปีมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายทางการแพทย์ รวมถึงสิทธิผู้ป่วย
        6.3  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงทุกชั้นปีมีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น hospital accreditation โดยเฉพาะการดูแลและการใช้เครื่องมือทางรังสีวิทยา การควบคุมคุณภาพทางรังสีวิทยา การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงทางรังสีวิทยา และค่าตรวจทางรังสีวิทยาที่พบบ่อย
        6.4  แพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงทุกชั้นปี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม