Body Interventional Radiology

 

 

 

Body Interventional Radiology
          รังสี ร่วมรักษาเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วย โดยการใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ ส่องให้เห็นพยาธิสภาพภายในร่างกาย หลังจากนั้นก็อาศัยการเห็นจากเครื่องมือตรวจพิเศษต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวชี้นำให้สามารถนำเครื่องมือเล็กๆ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่อกลวง (Catheter) หรือ เข็ม หรืออุปกรณ์ใด ไปทำการตรวจหรือรักษาพยาธิสภาพดังกล่าวให้ได้ผลเหมือนกับหรือใกล้เคียงกับ การผ่าตัด ซึ่งเครื่องมือตรวจพิเศษดังกล่าวได้แก่ เครื่องตรวจด้วยรังสีเอ็กซ์ (x-ray) เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography) เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Image: MRI) เป็นต้น ซึ่งทางหน่วยรังสีร่วมรักษาระบบลำตัว ภาควิชารังสีวิทยาได้ ให้บริการในการรักษาเป็น 2 ประเภท คือ
1.    กลุ่ม ของเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือด (Vascular interventions) ได้แก่ Angiogram and Embolization , Percutaneous Transluminal Angioplasty (PTA) , Percutaneous stent placement, TACE, TIPS, Vascular diagnosis เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการทางรังสีนี้เป็นวิธีการที่ทันสมัยในวงการแพทย์ปัจจุบัน  ซึ่ง ในบางครั้งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษาทุกครั้งไป เนื่องจากการตรวจรักษาทางรังสีนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดน้อยกว่า    แผลก็มีขนาดเล็กกว่าเกิดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ  ได้น้อยกว่าและยังฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย มีรายละเอียดการตรวจ ดังนี้

1.1  การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด  (Angiography หรือ Venography)
1.2  การถ่างขยายเส้นเลือดโดยใช้ Balloon (Balloon Angioplasty)
1.3  การอุดเส้นเลือด (Embolization)
1.4  การใส่ขดลวดตาข่าย (Stent)
1.5  TOCE  (Transcatheter Oily Chemo Embolization)
 

2.    กลุ่ม ของเทคนิคที่ไม่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือด (Nonvascular interventions) ได้แก่ Percutaneous aspiration and image-guided biopsy, Percutaneous drainage, Percutaneous Radiofrequency Ablation เป็นต้น มีรายละเอียดการตรวจ ดังนี้

2.1  การใส่สายระบายน้ำดี (PTBD)