งานสารบรรณ

  • งานสารบรรณ  ปรับเป็น  งานบริหารและธุรการ สำนักงานคณบดี

 

ประวัติงานสารบรรณ
งานสารบรรณเกิดขึ้นพร้อมๆกับการก่อตั้งคณะฯ โดยเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เพียง 2-3 คน ในสมัยที่กำลังก่อตั้งคณะฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินงานด้านการติดต่อ รับ-ส่ง โต้ตอบ ด้านเอกสารต่างๆ ของคณะฯ และเนื่องจากเป็นงานที่ได้รับมอบหมายจากท่านคณบดีโดยตรง นางสาววราภรณ์ เอี้ยวสกุล ซึ่งทำหน้าที่เลขาคณบดีในสมัยนั้น จึงทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยไปด้วย แต่การดำเนินงานของสารบรรณมิใช่เพียงออกเลขที่ รับ ส่ง เอกสาร และจัดเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียว สารบรรณยังทำหน้าที่ด้านบุคลากรเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน การลา ไปศึกษาต่อทั้งในและนอกประเทศ การบรรจุแต่งตั้ง ซึ่งคุณสายสุนี ศรีวิบูลย์ เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากสถานที่จำกัด สารบรรณส่วนหนึ่งจะอยู่ที่ชั้นสองบริเวณห้องทำงานของคณบดี และส่วนหนึ่งจะ รับ – ส่ง หนังสืออยู่บริเวณชั้น 1 ของตัวอาคารใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่รู้จักสารบรรณและจะรู้จักในนามสำนักงานคณบดี ซึ่งใช้เรียกกันมาถึงปัจจุบันนี้ ในระหว่างที่นางสาววราภรณ์ เอี้ยวสกุล บริหารหน่วยงานสารบรรณอยู่นั้น ได้จัดแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยตามระเบียบงานสารบรรณ คือมีฝ่ายลงทะเบียน รับ-ส่ง เอกสาร ฝ่ายโต้ตอบเอกสาร ฝ่ายจัดเก็บเอกสาร และฝ่ายเดินหนังสือภายนอกและเนื่องจากการดำเนินงานของคณะฯ ได้เจริญเติบโตโดยการขยาย ภาควิชา หน่วยงานต่างๆ มากขึ้นตามลำดับสารบรรณ ได้ตระหนักถึงเรื่องการบริการ รับ-ส่ง หนังสือ ว่าทำอย่างไรที่จะให้ความสะดวก แก่หน่วยงานต่าง ๆ จึงได้ขยายงานบริการด้านนี้ โดยได้เพิ่มการบริการ จัดเจ้าหน้าที่ไปส่งและรับเอกสารตามหน่วยงานต่าง ๆ ของคณะฯ โดยแบ่งสายเดินวันละ 2 รอบ คือ รอบเช้า 9.00 น. และรอบบ่ายเวลา 13.30 น. และในขณะเดียวกัน การรับส่งเอกสารยังหน่วยงานต่างๆ ภายนอกคณะฯ ก็ดำเนินการวันละสองรอบเช่นเดียวกัน ยกเว้นในกรณีเร่งด่วน ต่อมาเมื่อ นางสาววราภรณ์ เอี้ยวสกุล ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ นางอุ่นเรือน แกล้วทนง ผู้ช่วย จึงรับหน้าที่ดังกล่าวสืบต่อมา บุคลากรในสมัยนั้นมีจำนวนน้อย คือ นางสาวขวัญนิมิตต์ ไชยพันธ์ (ตุลวรรธนะ) นางสาวพรศรี บุญรอด นางสุทธิพร วิมไตรเมท (โอนมาจากภาควิชาอายุรศาสตร์) นางสาวกัลยา ชัชวาลย์พันธ์ นางสาวอนงค์นุช อุปราคม นางสาววีรวรรณ เอี่ยมวิบูลย์ นางสาวอรพินท์ พวงประยงค์ นายสุพร คชนันท์ประดิษฐ์ นางสาวรัตนา ธวัชสุนทร สารบรรณทำหน้าที่ด้านบริการการศึกษาและงานด้านมูลนิธิ ในระยะต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใหม่โดยนำระบบการจำแนกตำแหน่ง (Position Classification) มาใช้ ซึ่งมีผลถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ทบวง ฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาวิเคราะห์ข้อมูล ลักษณะงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคน เพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ตรงกับสายงาน เพื่อความก้าวหน้า ให้ตรงกับสายงานเพื่อความก้าวหน้าในการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และได้มีการจัดแบ่งหน่วยงานในสำนักงานเลขานุการขึ้น โดยเรียกเป็น งาน แทนคำว่าหน่วย ซึ่งเท่าที่ทราบ คำว่างาน จะมีความหมายกว้างขวางกว่าคำว่าหน่วย สามารถที่จะแบ่งงานย่อยออกเป็นหน่วยต่าง ๆ เพื่อที่จะมีโอกาศปรับและเลื่อนระดับเจ้าหน้าที่ได้สูงขึ้น และเมื่อเปลี่ยนจากหน่วยสารบรรณเป็นงานสารบรรณได้มีการขยายอัตราและขอตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้น ซึ่งในระยะหลังมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการสอบรวมให้ และข้าราชการรุ่นแรกที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้สอน ส่งมาให้คณะฯ เพื่อบรรจุในงานสารบรรณ มี นางสาวสุวรรณา เบญจพลสิทธิ์ นางสาคร เอกผล นางทองดี ศรีสังข์ นางสาวสุมาลี แสงเช้า จากการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานสารบรรณ ทำให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเคยสังกัดงานสารบรรณ สำนักงานคณบดี ได้แยกย้ายไปปฏิบัติงานยังหน่วยงานที่ตรงกับหน้าที่ คงเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวในปัจจุบันนี้ทั้งหมด 18 คน โดยโอนมาจากหน่วยรถ และหน่วยยามสองคน คือ นายเกษม เกษมญาติ และนายสุรกิจ คงวุฒิ และในปัจจุบันงานสารบรรณ เป็นงานที่มีคสามสำคัญยิ่งงานหนึ่ง เพราะงานสารบรรณมีขอบเขตรับผิดชอบกว้างขวาง ทุกหน่วยงานจำเป็นจะต้องใช้บริการของสารบรรณ เนื่องจากเป็นจากเป็นงานที่เกี่ยวกับหนังสือ  คิด ร่าง เก็บ ค้น การรับ การส่ง หนังสือ ซึ่งแต่เดิมบุคคลจะให้ความสำคัญงานด้านนี้น้อยมาก และสารบรรณจะเป็นด่านหน้า