พื้นที่ก่อนการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในปัจจุบันนี้

    เดิมเป็นที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 11479 เล่มที่ 115 หน้า 79 เลขที่ดิน 2357 หน้าสำรวจ 1198 ตำบลทุ่งพญาไท อำเภอพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่จำนวน 37 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา
     

    เมื่อปี พ.ศ. 2489

    นายปีเตอร์ วิลเลียมส์ ฮันต์ ช่างถ่ายภาพชาวอังกฤษใด้ถ่ายภาพทางอากาศเพื่อสำรวจพื้นที่ด้านเกษรกรรมของไทยเป็นจำนวนมากในสมัยนั้นและปัจจุบันใด้ส่งภาพถ่ายเหล่านั้นจัดเก็บที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พบว่าภาพถ่ายเหล่านั้นมีภาพถ่ายบริเวณพื้นที่ของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิรวมถึงทุ่งพญาไทและพระราชวังสวนจิตรดาอยู่ด้วยและเมื่อสังเกตอย่างละเอียดจะเห็นบริเวณพื้นที่ ที่เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลรามาธิบดีในปัจจุบัน
     


  คลิ๊กที่รูปเพื่อขยายภาพ

    รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร

    มีนโยบายที่พยายามผลักดันไม่ให้กรุงเทพฯมีสลัมด้วยการรื้นถอนสลัมที่มีอยู่ ซึ่งในขณะนั้นกรุงเทพฯ มีสลัมใหญ่อยู่ 6 แห่ง คือย่านสะพานเสาวนีย์ ตรงหน้ากรมทางหลวงแผ่นดิน สลัมซอยทองหล่อ สลัมมักกะสัน สลัมย่านสะพานขาว สลัมประตูน้ำ และสลัมบ่อนไก่ พบว่าพื้นที่สลัมสะพานเสาวนีย์เป็นสลัมแห่งแรกที่เทศบาลกรุงเทพฯ ให้ทำการรื้นถอน ต่อจากนั้นรัฐบาลได้สั่งการให้เทศบาลนครกรุงเทพนำขยะทุกประเภทมาถมจนเต็มพื้นที่แล้วเกลี่ยให้เรียบเพื่อใช้พื้นที่บริเวณนั้นสร้างเป็น อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พร้อมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี  หลังจากที่สลัมสะพานเสาวนีย์ถูกรื้นถอนแล้ว ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในสลัมดังกล่าวต่างได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีที่อยู่อาศัยจึงรวมชื่อคัดค้านการรื้นถอนสลัมครั้งนั้น พร้อมกับแต่งตั้งทนายความฟ้องร้องเทศบาลกรุงเทพฯ ผลปรากฏว่าราษฎรเป็นฝ่ายชนะโดยรัฐบาลต้องชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมกับรัฐบาลต้องจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวบ้านคนเหล่านั้นด้วย

 


  คลิ๊กที่รูปเพื่อขยายภาพ