พระศาสดา ภ.ป.ร. รามาธิบดี

ประวัติพระศาสดา หรือ พระศรีศาสดาพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสำริด ตามตำนานได้มีการบันทึกไว้ว่า การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น เมื่อปี พ.ศ. 1500 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พระศาสดา สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ จึงได้อัญเชิญพระศาสดามาไว้ ที่วัดบางอ้อช้าง ทางแม่น้ำอ้อม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ต้นสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติปฏิสังขรณ์วัดประดู่ คลองบางหลวง จึงได้ขออัญเชิญพระศาสดาไปเป็นพระประธาน ล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริว่า "พระศาสดา"เป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมา แต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นใน วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศน์ ฯ ไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

ในส่วนที่เกี่ยวกับรามาธิบดี ในปีพุทธศักราช 2532 ได้มีการสร้างพระศาสดาขึ้น โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ประธานอุปถัมภ์ฝ่ายบรรพชิต และ ฯพณฯ องคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานฝ่ายฆราวาส โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประทับกับองค์พระศาสดา จึงเป็นที่มาพระนามอันเป็นมงคลยิ่งว่า “พระศาสดา ภ.ป.ร.” ซึ่งในครั้งแรกทางมูลนิธิรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาให้บูชา เพื่อสมทบทุน ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ และหมดไปอย่างรวดเร็ว และ ยังมีอีกส่วนหนึ่งได้มีการออกมา ให้บูชา ในคราวที่ได้รับพระราชทานให้สร้างอาคาร “อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์” พระศาสดา ภ.ป.ร. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เวลา 13.18 น. เป็นราชาฤกษ์ ในเกณฑ์เพชรฤกษ์และธนโยค สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานลายพระหัตถ์ทรงอักษร “สัตถา เทวมนุสสานัง” ( "ทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย" ) จารึกที่ด้านหลังองค์พระ ทุกองค์ โดยมีการจัดสร้าง เป็นพระพุทธรูปพระศาสดา ภ.ป.ร. พระกริ่งศาสดา ภ.ป.ร. พระศาสดาใบเสมา ภ.ป.ร. และ พระศาสดาเนื้อผง ภ.ป.ร. โดย พระพุทธรูปพระศาสดา ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จะมีแบบพระเกศทองคำ พระเกศธรรมดา พระพุทธรูปพระศาสดา ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว พระเกศธรรมดา พระพุทธรูปพระศาสดา ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว มีเนื้อทองคำ ฐานเงิน และเนื้อเงิน พระกริ่งศาสดา ภ.ป.ร. โยเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ 95% อีก 5 % เจือด้วยโลหะอื่นๆตามคตินิยม ด้วยพระโลหะสัมฤทธิ์ ต่างๆ 9 ชนิดได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง เจ้าน้ำเงิน ลงหิน พลวง ดีบุก ชิน และเหล็กน้ำพี้ พระศาสดาใบเสมา เป็นเหรียญหล่อรุ่นแรกของวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นเหรียญหล่อที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นครั้งแรก พระศาสดาใบเสมา ภ.ป.ร. ชุดทองคำบรรจุในกล่องกำมะหยี่ รวมกันสามองค์ บนฝากล่องมีแผ่นตรา “ญสส” และพระศาสดาเนื้อผง ภ.ป.ร. ประกอบด้วยสิ่งมงคล 9 ประการ คือ 1.ผงพุทธคุณและผงจิตรลดา 2.ดินจากสังเวชนียสถาน 3.พระอังสะ 4.เส้นพระเกศา 5.ดอกไม้บูชาหน้าพระศาสดา และพุทธพุทธชินสีห์ 6.ผงธูปหน้าพระศาสดา และพระพุทธชินสีห์ 7.ด้ายสายสิญจ์โยงจากพระศาสดามายังพระพุทธชิยสีห์ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงจับในวันประกอบพิธีเททองหล่อพระศาสดา ภ.ป.ร. 8.ผงตะไบจากองค์พระกริ่ง และเหรียญหล่อพระศาสดา ภ.ป.ร. 9.ผงมงคลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย นอกจากนี้ พระศาสดาเนื้อผง ภ.ป.ร. ทุกองค์ยังมีเส้นพระเกศาอยู่หลังขององค์พระ และใต้ฐานมีรอยประทับ “ญสส” ด้วยหมึกสีฟ้าผสมพิเศษ พระศาสดา ภ.ป.ร. ทุกองค์ ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วันบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2532 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย เมื่อเวลา 18.30 น. อันเป็นบูรณฤกษ์(ภูมิปาโล) และทรงแผ่เมตตาจิตจนเสร็จพิธี โดยมีพระคณาจารย์อีก 9 รูปเข้าร่วมพิธี มีพระสวดเจริญพระพุทธมนต์ 10 รูป และสวดพุทธาภิเษก อีก 4 รูป

ramnews Thumbnail: