การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการซ่อมการอนุรักษ์แผนที่

 

 

หนึ่งในภาระงานของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี คือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุและวัตถุพิพิธภัณฑ์ โดยการอนุรักษ์หรือการซ่อมแซมเอกสารต่าง โดยเอกสารจดหมายเหตุโดยสามารถแบ่งประเภทได้เป็น

1.เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร คือ เอกสารที่สื่อความหมายเนื้อหาด้วยลายลักษณ์อักษร อาจเป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เอกสารประเภทนี้ อาทิ เอกสารโต้ตอบ เอกสารการประชุม รายงานต่างๆ บทความ ลายมือเขียน ฯลฯ

2.เอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่สื่อความหมายเนื้อหาด้วยภาพหรือเสียง เอกสารประเภทนี้ อาทิ ภาพถ่าย ฟิล์ม (สไลด์ โปสเตอร์ ปฏิทิน บัตรอวยพร แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ฯลฯ

3.เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แผนผัง เอกสารประเภทนี้ อาทิ แผนที่ แผนผัง แบบแปลน พิมพ์เขียว ฯลฯ

4.เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ คือเอกสารที่บันทึกข้อมูลและค้นหาข้อมูลที่บันทึกไว้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารประเภทนี้ อาทิ ซีดี วีซีดี แผ่นดิสก์ ฯลฯ

ซึ่งในปัจจุบันวิธีการอนุรักษ์เอกสารตามหลักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมุ่งเน้นวิธีการต่างๆ ที่ป้องกันการชำรุดเสื่อมสภาพของเอกสารเป็นหลัก ซึ่งการอนุรักษ์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือสารเคมีเสมอไป เพียงแต่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์วิจัยมาประยุคใช้ในการอนุรักษ์และซ่อมแซมและนอกจากนั้นยังหาสาเหตุที่ทำให้เอกสารเกิดการชำรุดเสื่อมสภาพ แล้วนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์หาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยคุณประโยชน์ทั้งข้อดีข้อเสียของสารเคมีต่างๆที่นำมาใช้ และวิธีการอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งผลที่จะเกิดในระยะสั้นและระยะยาว และวิธีการใหม่อยู่เสมอ วิธีการและสารเคมีที่นักอนุรักษ์เลือกใช้จะสามารถทำให้ย้อนกลับได้ (reversible) เช่น กาวหรือสารเคมีทีใช้ ต้องสามารถละลายได้ง่ายในตัวทำละลาย หรือ ซ่อมแซมด้วยวิธีการที่สามารถรื้อออกได้ง่ายในภายหลัง หรือหากไม่มีวิธีการหรือสารเคมีในลักษณะที่กล่าวมา ควรใช้วิธีการป้องกันหรือชะลอการเสื่อมสภาพแทน เผื่อว่าในอนาคตหากมีการค้นพบวิธีการและเทคโนโลยีที่ดีกว่าก็สามารถใช้วิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่าได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อเอกสาร และนอกจากนั้นยังคำนึงถึงผู้ปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากสารเคมี และเอกสารที่ยังไม่ได้ทำการอนุรักษ์จะมีทั้งสารเคมีในการผลิตและฝุ่น เชื้อราที่อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่สุขภาพ เพื่อเป็นการทำให้เอกสารและวัตถุมีความคงทน ไม่เสื่อมสภาพ ทาง หน่วยหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เองได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลและอนุรักษ์ ไปอบรมเพิ่มพูนความรู้ และเปลี่ยนความรู้และทักษะในการอนุรักษ์ซ่อมแซมอยู่เสมอ อย่างเช่นใน วันที่ 9-10 พ.ค. 2561 ทางหอสมุดแห่งชาติ ได้เปิด โครงการเครือข่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการซ่อมการอนุรักษ์แผนที่” ทางหน่วยงานได้ส่งบุคลากร เข้าอบรมในครั้งนี้ด้วย จำนวนสองท่าน คือ นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล และนางสาวปิยนุช เวียงอินทร์ ผู้ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และซ่อมแซม เพื่อให้ เอกสารจดหมายเหตุ เป็นเอกสารต้นฉบับที่สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีในอนาคต