เรื่องเล่า ภาพถ่ายรามาธิบดี

การบันทึกสิ่งที่ประทับใจ ความทรงจำ เรื่องราวต่างๆ การเดินทาง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ขององค์กรและหน่วยงานที่มีอยู่แล้วในอดีต ปัจจุบัน และกำลังเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญ ซึ่งการเก็บบันทึกด้วยภาพถ่าย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง และสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกในอนาคต นอกจากนี้ยังส่งต่อเรื่องราวต่างๆ ผ่านภาพถ่าย ทั้งทางประวัติศาสตร์ทางสังคม วิถีชีวิตของชุมชนของผู้บันทึกเอง แต่ละยุคสมัย ของหน่วยงานที่ทำการบันทึกไว้ด้วยภาพถ่าย การถ่ายภาพก็ไม่ได้มีความยุ่งยากเหมือนสมัยก่อน รวมทั้งกล้องในการถ่ายภาพและเทคโนโลยีการของกล้องก็มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้การถ่ายภาพสะดวกสบาย และกล้องถ่ายภาพราคาไม่สูงมากสามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ขั้นตอนการถ่ายภาพก็ไม่ต้องยุ่งยากมากนัก แค่มีกล้องก็สามารถ่ายภาพได้ตามที่ต้องการ เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และ เก็บความประทับใจ เรื่องเล่า ความรู้ผ่านภาพถ่ายได้สู่คนรุ่นต่อไป การจัดเก็บความทรงจำเรื่องราวต่างๆ นอกจากการบันทึกด้วยตัวอักษรและภาพวาดในอดีต ยังมีการบันทึกประวัติศาสตร์และเรื่องราวด้วยภาพถ่ายอีกด้วย โดยภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Photography” มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก “Phos = แสงสว่าง และ Graphein = เขียนเมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง เขียนด้วยแสงสว่างโดยมีการเริ่มบันทึกภาพถ่ายในช่วง ค.ศ.1825 ในส่วนของประเทศไทยได้มีการถ่ายภาพเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การถ่ายภาพในสมัยก่อนนั้นยังไม่กว้างขวางมากนักส่วนมากอยู่ในเขตราชวัง การถ่ายภาพยังยุ่งยากและอุปกรณ์ เช่น กล้องยังมีราคาสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติการภาพถ่ายมีประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น เก็บเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในด้านต่างๆเช่น ในด้านการแพทย์ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ครอบครัว เป็นต้น ในส่วนของจดหมายเหตุ ใช้ในการบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวทางสังคม การเมือง การปกครอง ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมหน่วยงานต่างๆและองค์กร รวมถึงจดหมายเหตุครอบครัวด้วย

มองย้อนกลับหลังไปได้ประมาณ ปี พ.ศ. 2508 ได้มีการก่อตั้ง คณะแพทย์แห่งหนึ่งขึ้น เป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 2 ใน มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือมหาวิทยาลัยมหิดล เหตุผลในการจัดตั้งคณะแพทย์แห่งใหม่นั้น เพื่อผลิตอาจารย์แพทย์ให้เพียงพอทางปรีคลินิกตามมติของอนุสนธิจากการประชุมอบรมแพทยศาสตร์ที่ศาลาสันติธรรม พ.ศ. 2507 ทางคณะฯได้มีการก่อสร้างโดยเริ่มในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2508 โดยมีชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ตามที่คณะฯได้ดำเนินกิจการมาเป็นระยะเวลา 46 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2554 ทางคณะฯ มีการบันทึกภาพถ่ายสำคัญต่างๆ และได้เก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้มากมาย เช่น ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนินจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงประกอบพิธีเปิดคณะฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เวลา 15.00 น. โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตัดริบบิ้นและทรงจารึกพระปรมาภิไธยลงบนแผ่นทองแดง ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าอาคาร 1 บริเวณเสาธง

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดเปิดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

  • ที่มีชื่อเสียงมาก ณ โรงภาพยนตร์อินทรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2514 เวลา 20.00 น. เรื่องเจคใหญ่ (Big Jake) มีเนื้อหาในช่วงปี ค.ศ. 1909 ภาพยนตร์นี้จัดสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1971 กำกับการแสดงโดย George Sherman และนำแสดงโดยนักแสดงยอดนิยมในยุคนั้น คือ John Wayne นอกจากการฉายภาพยนตร์แล้วยังมีการแสดงของคณะนาฏศิลป์สากลมีชื่อเสียงมากของประเทศไทย คือคณะนาฏศิลป์สากลอินทรา โดยเปิดการแสดงก่อนการฉายภาพยนตร์ดังกล่าว ในการจัดฉายภาพยนตร์และการแสดงนาฏศิลป์ครั้งนี้คณะฯได้กราบบังทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงในครั้งนี้ด้วย

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานฉายภาพยนตร์เรื่อง เจคใหญ่(Big Jake) และการแสดงนาฏศิลป์สากลอินทรา

 

งานที่เป็นที่ประทับใจของชาวรามาธิบดีที่มิอาจลืมได้ในความยิ่งใหญ่ของการจัดงาน คือ งานฉลองครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจัดขึ้น ณ สวนอัมพร วันที่ 8 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ในงานนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดงาน ในวันศุกร์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เวลา 16.00 น. นอกจากนี้ยังมีงานและกิจกรรมอื่นๆ ของคณะฯ เช่นงานไหว้ครู งานกีฬา และการบริการตรวจรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดงาน ครบรอบ 10 รามาธิบดี

 

  • เริ่มเปิด ได้แก่ กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex camera) แบบเลนส์คู่ (Twin lens reflex) บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากและกล้องเล็ก (Miniature camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder) บางคนก็เรียกว่า เรนจ์ไฟเดอร์ (Range Finder) หรือ กล้อง 35 มม. มาตรฐาน (35 mm. Standard camera) เหตุผลที่เรียกดังนี้เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือ 35 มม. ในปัจจุบันทางคณะฯ ได้เปลี่ยนมาใช้กล้องดิจิตอลทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพและนำเอาภาพถ่ายกลับมาใช้งาน ซึ่งกล้องสำหรับถ่ายภาพที่กล่าวมาข้างต้นบางส่วนได้ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ภายในหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีเรียบร้อยแล้ว

 

  • สมัยแรก คือช่วง พ.ศ.2512 ถึง พ.ศ. 2528 คือ หน่วยภาพการแพทย์ ภาควิชาพยาธิวิทยา และหน่วยศึกษาศาสตร์ สำนักงานคณบดี (ปัจจุบันคือสำนักงานการศึกษา) จนกระทั่งปีพ.ศ. 2529 คณะฯ ได้มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงระบบโครงสร้างการดำเนินในด้านสื่อการศึกษาระดับคณะฯ ให้สอดคล้องกับแผนการศึกษา โดยมีเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางด้านการวางแผนผลิตและบริการสื่อการศึกษาให้ แก่บุคลากรทุกหน่วยงาน ทุกภาควิชาในคณะฯ และเพื่อให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์ผล คณะฯ จึงได้ประกาศจัดตั้ง โครงการสื่อและเทคโนโลยีทาง การศึกษาและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น งานโสตทัศนศึกษาขึ้น ตรงต่อสำนักงานคณบดี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2533

 

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีได้เก็บรวบรวมภาพถ่ายต่างๆของคณะฯที่เกี่ยวกับกิจกรรม งานพระราชพิธี การเรียนการสอน การรักษาและอื่นๆ ในอดีตรวมถึงปัจจุบัน โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบรูปภาพและไฟล์ดิจิตอล และบางส่วนได้มีจัดทำสำเนาภาพถ่าย และแสดงไว้ในส่วนจัดแสดงของหอจดหมายเหตุฯ ให้ชื่อว่า คลังภาพรามาธิบดีในอดีตและมีโครงการจัดเก็บรวบรวมภาพถ่ายพร้อมทั้งอนุรักษ์ภาพถ่ายที่มีคุณค่าของรามาธิบดี โดยการขอรับบริจาค จากหน่วยงานและบุคลากรของคณะฯ เพื่อเป็นการเติมเต็มประวัติศาสตร์รามาธิบดี

 

         

 

 

บรรณานุกรม

 

พูนพิศ อมาตยกุล. รามาธิบดี 2508-2528. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเพทฯ : เรือนแก้ว, 2530.

Wikipedia. Big Jake (film) [online]. เข้าถึงได้จาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Big_Jake_(film) (วันที่ค้นข้อมูล : 21 พฤศจิกายน 2554).