ภูมิคุ้มกันต่ำ..กินอะไรได้บ้างนะ?

ภูมิคุ้มกันต่ำ..กินอะไรได้บ้างนะ?

สวัสดีค่ะ แฟนคลับ Healthy Eating หลังจากติดตามอาหารแต่ละช่วงวัยมาแล้ว ทีนี้ก็เข้าสู่ภาวะป่วยกันบางนะคะ แต่เอ้!!!!!!ทําไมต้องป่วยล่ะ เคยแต่เห็นอาหารที่กินแล้วแข็งแรง  จะมีอาหารที่กินแล้วป่วยด้วยหรือ? คิดกันไปถึงไหนแล้วเนี่ย แค่จะบอกว่าวันนี้จะนําเคล็ดลับการดูแลอาหารสําาหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาฝากค่ะ

ก่อนอื่นเราจะต้องมาดูกันว่า ผู้ป่วยแบบใดบ้างที่จัดเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิเช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ฯลฯ สําหรับผู้ป่วยเหล่านี้ เราจําเป็นจะต้องดูแลใส่ใจเรื่องคุณค่าทางอาหาร และความสะอาดเป็นพิเศษค่ะ

สําหรับผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ควรจะได้รับอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง เรียกได้ว่าควรงดอาหารจําพวกของสด สุกๆ ดิบๆ รวมถึงผักผลไม้สดด้วย และในแต่ละครั้งอาหารควรได้รับความร้อนมากกว่า 60 องศาเซลเซียส เพราะอาหารที่เก็บในช่วงอุณภูมิที่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส ยังคงมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคเจริญเติบโตอยู่ และควรหลีกเลี่ยงอาหารปรุงสุกที่เก็บไว้เกิน 2 ชั่วโมงเพราะเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้นอาจจะส่งผลทําให้ผู้ป่วยเกิดการท้องเสีย หรืออาจส่งผลร้ายกว่านั้นคือติดเชื้อถึงขั้นรุนแรงได้

ภูมิคุ้มกันต่ำ..กินอะไรได้บ้างนะ?

นอกจากอาหารที่ต้องผ่านการปรุงสุกแล้ว อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารจําพวกของหมักดองทั้งหลาย ถึงแม้เราจะผ่านความร้อนฆ่าเชื้อแล้วก็ตาม แต่อาหารหมักดองบางอย่าง ก็เกิดเชื้อราที่ไม่สามารถฆ่าให้ตายได้ด้วยความร้อน อาหารที่พบเชื้อราได้บ่อย เช่น ถั่วลิสง ผักดองปี๊บชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์ดองเค็มดองเปรี้ยว เครื่องปรุงที่เก็บไว้เป็นเวลานาน  หรือแม้แต่อาหารแปรรูปบางชนิด เช่น แหนม กุนเชียง ฯลฯ

ภูมิคุ้มกันต่ำ..กินอะไรได้บ้างนะ?

แหม่! ฟังดูหน้ากลัวใช่ไหมล่ะคะ แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ แค่จําง่ายๆ ว่า อาหารทุกอย่างต้องผ่านความร้อน เน้นยํานะคะ แบบเพิ่งผ่านความร้อน ไม่หมักไม่ดอง แค่นี้ก็ทําให้เราสบายใจไปได้เปราะนึงแล้วค่ะ นอกจากอาหารที่เราต้องปรุงสุกแล้ว ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้ป่วยสามารถทานได้โดยไม่ต้องผ่านความร้อน นั่นคือ อาหารสําเร็จรูปแบบที่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบ Pasteurize UHT หรือ sterilize นั่นเอง อาหารประเภทนี้ จะเป็นพวกนม (ไม่รวมนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต) นําผลไม้บรรจุกล่อง หรือเป็นอาหารที่มีการรับประกันว่าได้ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วด้วยวิธีข้างต้น  แต่ถึงจะไว้ใจได้ยังไง ก็ต้องระวัง “วันหมดอายุ” นะคะ

จะว่าไปแล้วความสะอาดของอาหารมีส่วนช่วยผู้ป่วยได้เยอะ แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดนะคะ เพราะถ้าได้รับแต่อาหารที่สุกสะอาด แต่ได้พลังงาน หรือคุณค่าทางอาหารไม่ครบเพียงพอ ผู้ป่วยก็คงไม่มีแรงต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นในรายที่ทานได้น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการพลังงาน อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะทุพโภชนาการ  และอาจทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้

ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจทั้งความสะอาด และคุณค่าทางอาหารควบคู่ไปด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยทานได้น้อย เราจะต้องสรรหาอาหาร หรือคิดวิธีทําอาหารที่ช่วยให้ผู้ป่วยเจริญอาหาร  อาจจะด้วยการเติมสีสันลงในอาหาร ในที่นี้ไม่ได้ให้เอาสีผสมอาหารมาเหยาะนะคะ เดี๋ยวจะอูมามิกันไปใหญ่ ให้เราเลือกใช้แค่ผัก 5 สีเท่านั้นค่ะ เอามาปรุงให้สุก เพิ่มโปรตีนโดยการเติมเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายๆ ลงไป ปรุงรสอ่อนๆ ปรุงรสจัดไปก็ไม่ใช่ว่าจะกินได้เยอะ มันจะเป็นผลเสียซะมากกว่า

ภูมิคุ้มกันต่ำ..กินอะไรได้บ้างนะ?

บางรายไม่ว่าจะปรับสีก็แล้ว ปรับกลิ่นก็แล้ว ปรับรสชาติก็แล้ว ก็ยังทานได้น้อยอยู่ดี แนะนําให้เสริมเป็นนมอาหารทางการแพทย์ หรืออาหารปั่นผสม  อาหารในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มพลังงานได้เป็นอย่างดีค่ะ และวิธีทานก็ง่ายมากๆ แค่ดื่ม แต่ในขั้นตอนการทํานั้นยังคงต้องคํานึงถึงความสะอาดเป็นหลักรวมทั้งวัตถุดิบและวิธีทําสามารถขอคําปรึกษาจากนักโภชนาการของแต่ละโรงพยาบาลที่มีบริการอาหารปั่นผสมได้ค่ะ

สําหรับวิธีทําอาหาร หรือวิธีเลือกของผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทําให้ญาติพี่น้องที่ต้องคอยดูแล ถอดใจไปตามๆ กัน แต่อย่าเพิ่งท้อนะคะ เพราะผู้ป่วยของเราอยู่ได้ด้วยกําลังใจ แพรวเชื่อว่าหากเราให้กําลังใจ และพร้อมที่จะแสดงออกว่าเราทําเพื่อเขา เขาก็จะมีกําลังใจสู้ไปพร้อมกับเราค่ะ Healthy Eating วันนี้ต้องลาไปก่อน พบกับแพรวได้ใหม่ฉบับหน้าค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:  ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้เขียน : แพรวพาชิม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 17 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th