ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย

ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย

สวัสดีท่านผู้อ่านที่ติดตาม @Rama มาโดยตลอด จากฉบับที่แล้วแพรวพูดถึงอาหารสําาหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และฉบับนี้ก็ยังเป็นการแนะนําในเรื่องอาหารเช่นเคย  แต่ว่าหัวข้อจะเปลี่ยนไปเป็นสําหรับลูกน้อยแทน นอกจากโภชนาการของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่คุณแม่มือใหม่หลายคนยังคงกังวลคือ อาหารที่มีผลกับพัฒนาการของลูกน้อยใช่ไหมล่ะค่ะ วันนี้แพรวมีคําแนะนําดีๆ มาฝากค่ะ

นับตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์จนออกมาลืมตาดูโลก สิ่งที่หล่อเลี้ยงให้ลูกน้อยเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดีได้นั้น คงไม่พ้นเรื่องอาหารและโภชนาการที่ดี ซึ่งอาหารที่ว่าก็ขึ้นอยู่กับโภชนาการของคุณแม่ล้วนๆ ค่ะ หลังจากที่คุณแม่ให้กําเนิดลูกน้อยแล้ว อาหารเริ่มแรกที่ควรให้ทารก ซึ่งเป็นอาหารที่สําคัญ ราคาถูก และยังให้โภชนาการครบถ้วน นั่นก็คือ “นมแม่”  นั่นเอง  ในปัจจุบันแพรวสังเกตเห็นคุณแม่หลายคนพยายามสรรหาของเสริมนู่นนั่นนี่สําหรับลูกน้อย เห็นแล้วก็เสียดายตังค์ค่ะ เพราะว่าคุณแม่ทุกคนมีของดีอยู่กับตัวอยู่แล้ว ขอให้ใช้ให้เป็นประโยชน์นะคะ

ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย

การให้นมแม่แก่ลูกน้อย ควรให้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนเต็ม หรืออาจจะมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของตัวคุณแม่เอง แต่ในบางกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ หรือว่าทารกที่ทานนมแม่แล้วแต่ยังมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก ก็อาจจะต้องให้นมดัดแปลงใช้ทดแทนหรือเสริมร่วมน้ำนมแม่

มีหลายคนถามว่า ระหว่าง 6 เดือนที่ทานแต่นมแม่ ควรเสริมน้ำหรือไม่ คําตอบคือ ในน้ำนมแม่มีน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องเสริมน้ำค่ะ

ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย

แล้วหลังจาก 6 เดือน เราจะต้องให้ลูกทานอะไร? หากลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน เราควรเสริมอาหารอย่างอื่น แต่ถ้าหากทารกมีการเจริญเติบโตช้า หรือมีแนวโน้มลดลง เราอาจจะเริ่มเสริมตั้งแต่ 4 เดือนก็ได้ แต่ห้ามเสริมก่อน 4 เดือน เหตุที่ควรเสริมอาหารหลังจาก 6 เดือนเพราะหลังจากนั้นทารกจําเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารบางอย่างเพิ่ม เช่น  โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ ไอโอดีน แคลเซียม เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตได้ตามปกติ  แต่การให้อาหารเสริมนั้นก็ต้องให้ควบคู่กับการให้นมแม่จนลูกน้อยอายุได้ 2 ป

นอกจากความต้องการพลังงานที่มากขึ้น และสารอาหารบางอย่างที่จําเป็นต้องได้รับเพิ่มแล้ว ในช่วงหลัง 6 เดือนนี้ ทารกจะมีความสามารถในการย่อยอาหาร และมีพัฒนาการในการกลืน หรือการใช้ลิ้นตวัดอาหารลงสู่ลําคอได้  โดยอาหารที่ใช้เสริมนั้นควรเป็นอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว  และยังต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับช่วงอายุของทารกด้วย เพราะในช่วงอายุของทารกแต่ละช่วง มีความสามารถในการย่อยอาหารแตกต่างกันไป อาหารจําพวกโปรตีน  ควรให้ในปริมาณน้อย  เพราะช่วงนี้ไตของทารกยังทํางานได้ไม่สมบูรณ์  หรือเรียกว่ายังไม่สามารถขับของเสียได้เท่าผู้ใหญ่นั่นเอง นอกจากนี้ การเสริมควรจะเสริมทีละอย่าง เช่น กล้วยครูด ข้าวบดเปล่า ข้าวบดผัก ข้าวบดไข่แดง ข้าวบดปลา ข้าวบดไก่ ข้าวบดหมู เป็นต้น เพราะคุณแม่จะสามารถรู้ได้ว่าทารกแพ้อาหารชนิดไหนบ้าง

ลักษณะอาหารของทารกในช่วงอายุนี้ ควรจะมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด หรือเป็นประเภทบด แต่ช่วง 8-9 เดือนไปแล้วก็สามารถเพิ่มความหยาบของอาหารได้มากขึ้นเป็นแบบสับหยาบ หลังจาก 1 ปีไปแล้ว จึงจะสามารถทานอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่แต่ก็ยังต้องเป็นอาหารนิ่มๆ เคี้ยวง่าย และเมื่อทารกอายุได้ 2 ปีจะสามารถทานอาหารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้

พออ่านมาถึงตรงนี้ คุณแม่หลายคนคงคิดว่าอาหารสําหรับทารกไม่ยากเลยใช่ไหมละคะ มันแน่อยู่แล้ว หากเรารู้วิธี และลําดับขั้นตอนความสําาคัญของการให้อาหารลูกแล้ว ลูกน้อยของเราก็จะมีพัฒนาการที่เติบโตสมวัย ด้วยโภชนาการที่ดีค่ะ สําหรับวันนี้แพรวต้องขอลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

ใส่ใจอาหาร...สู่พัฒนาการลูกน้อย

ขอบคุณข้อมูล: เว็บไซต์ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย (คู่มืออาหารตามวัยสําหรับทารกและเด็ก) คุณมณทิชา พันธุ์ไพร (นักวิชาการโภชนาการ)

ผู้เขียน : แพรวพาชิม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 14 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th