10-01
หน้าแรก
ฟันผุ หนึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
ฟันผุ หนึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ

“ฟันผุ”ความผิดพลาดเล็กๆ ในช่องปาก ที่ในบางรายอาจจะไม่มีอาการปวด หรือ เสียวฟัน แต่ถึงยังไงก็ไม่ควรที่จะละเลย นิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนที่จะลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง

เพราะฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย รวมทั้งยังเกิดในเด็กทารกได้ด้วย โดยหลังจากการดูดนมเสร็จ ควรมีการดูดนํ้าตามเพื่อทำความสะอาดคราบนํ้าตาลที่ติดตามฟัน เพราะนํ้าตาลในนมสามารถทำให้เกิดฟันผุได้

ส่วนเด็กในวัยเรียนก็มักจะชอบรับประทานขนมหวาน ลูกอม ขนมขบเคี้ยว สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เกิดฟันผุได้ สำหรับช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานพอเติบโตขึ้นการทานขนมเหมือนกับวัยเด็กก็จะลดลง ฟันผุก็ลดลงกว่าวัยเด็ก แต่ในกลุ่มผู้ใหญ่จะพบโรคเหงือกมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ดูแลรักษาก็จะลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

ฟันที่ผุจะเริ่มจากรูเล็ก ๆ หากปล่อยทิ้งไว้นิ่งนอนใจ ไม่รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา ก็จะกลายเป็นรอยผุที่ขยายใหญ่ขึ้นและอาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยเชื้อโรคจะลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนอง ส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมอง หรืออาจจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเชื้อโรค ยังสามารถแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ รวมถึงสามารถส่งผลเสียต่อโรคหัวใจได้ด้วย

ฟันผุไปเกี่ยวข้องอย่างไรกับหัวใจ ?

จากที่มีการตรวจพบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ คือ “สเตร็ปโตคอคคัส” ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ดังนั้น จึงเกิดการตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้โรคฟันผุไปทำให้โรคหัวใจทวีความรุนแรงขึ้นหรือมีผลเสียต่อโรคหัวใจ

แต่อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคหัวใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจจากฟันผุ แต่ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองว่า ฟันผุทำให้เกิดโรคหัวใจได้หรือไม่ แต่พบว่ามีผลเสียต่อโรคหัวใจ เมื่อใดที่มีเลือดออกในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถเข้าไปในกระแสเลือดได้ และเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการปวดฟันมาเข้ารับการรักษา อาจจะต้องให้ผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ในขณะที่ฟันมีหน้าที่สำคัญทั้งในเรื่องการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยระบบการย่อยอาหาร หากมีฟันผุหรือสูญเสียฟันไปก็จะบดเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดพอ ทำให้กระเพาะอาหารต้องทำการย่อยอาหารหนักขึ้น อาจส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรมลงได้อีกทางหนึ่งการดูแลรักษาฟันอย่างถูกวิธี จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ฟันคงอยู่กับเราไปนานๆ

การดูแลสุขภาพฟันมีหลักใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ

  1. แปรงฟันให้สะอาดถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีน้ำตาลผสมเยอะ
  3. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุกๆ 6 เดือน

เมื่อฟันผุส่งผลเสียต่อร่างกายแบบนี้แล้ว ก็ควรหันมาใส่ใจปัญหาช่องปากกันให้มากเข้าไว้ เพื่อจะได้มีฟันไว้ใช้งานได้นาน ๆ

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.นฤมล ทวีเศรษฐ์
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
บทความสุขภาพ
16-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
ปัญหากลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
บทความสุขภาพ
15-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
บทความสุขภาพ
08-05-2024

6

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

9