%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2
หน้าแรก
อาการดื้อยา กับความเข้าใจผิดของคนทั่วไป
อาการดื้อยา กับความเข้าใจผิดของคนทั่วไป

ผลจากการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขและเวลคัมทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุนด้านสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ พบว่าทุกๆชั่วโมงในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 2 คน โดยในปี 2010 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยถึง 19,122 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยสามารถหาซื้อยารับประทานเองตามร้านขายยาได้ง่าย โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

การดื้อยาของเชื้อโรคเกิดจาก

การที่ใช้ยามากเกินไปจนเชื้อพัฒนาให้สามารถต่อต้านได้ด้วยตัวเอง โดยเกิดขึ้นได้กับเชื้อทุกชนิดอยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยแค่ไหนในเชื้อแต่ละตัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ยาว่าถูกวิธีหรือไม่ โดยหลายคนอาจคิดว่าอาการป่วยทั่วไปเป็นอาการธรรมดาที่สามารถซื้อยารับประทานได้เองจึงไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด อาการท้องเสีย หรือแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ซึ่งจริงๆแล้วสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์หรือทานยาเลย

ข้อแตกต่างของยาที่ซื้อจากเภสัชกรกับยาที่ได้จากแพทย์นั้นแตกต่างกันที่การวินิจฉัย คือ

เภสัชกรจะไม่สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้แม่นยำเท่ากับแพทย์ ในขณะที่แพทย์เองก็อาจจะไม่มีความรู้เรื่องการจ่ายยาเท่าเภสัชกร

นอกจากนี้ยังมีตัวยาบางประเภทที่คนทั่วไปนั้นมีความเข้าใจผิดอยู่คือ

ยาต้านเชื้อแบคทีเรียหรือที่เรียกกันว่ายาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเพราะยาต้านแบคทีเรียและยาแก้อักเสบนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นหากผู้ป่วยซื้อยารับประทานเองก็มีโอกาสที่จะได้ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านแบคทีเรียมา โดยที่เข้าใจว่าคือยาแก้อักเสบซึ่งทานแล้วจะหายได้ทุกโรค จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น

นอกจากนี้ยังมียาปฏิชีวนะอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับยาแก้อักเสบ แต่ใกล้เคียงกับยาต้านแบคทีเรีย คือ เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อจนเกิดการอักเสบ ฤทธิ์ยาจะเข้าไปทำลายเชื้อ การอักเสบจะหายไป จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ยาต้านแบคทีเรียคือยาแก้อักเสบ

แต่ความจริงแล้วการอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการติดเชื้อ เช่น โรคเก๊า หรือการเดินชนสิ่งของแล้วเกิดการบวม อาการเหล่านี้คืออาการที่ต้องใช้ยาแก้อักเสบ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ยาทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่เกี่ยวข้องกัน

ทั้งนี้อาการดื้อยาในร่างกายของเราสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะใช้ยาที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แต่หากร่างกายได้รับยาที่ไม่ถูกต้องนั่นหมายความว่าร่างกายของเรานั้นใช้ยาเกินขนาดทำให้เกิดอาการดื้อยาโดยไม่จำเป็น

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “วิกฤตดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ : พบหมอรามา ช่วง Big story “ ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8