fat
หน้าแรก
อ้วนลงพุง สาเหตุของโรคอื่นที่จะตามมา
อ้วนลงพุง สาเหตุของโรคอื่นที่จะตามมา

ภาวะอ้วนลงพุงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองไม่ว่าชายหรือหญิง เพราะนอกจากจะส่งผลให้รูปร่างดูไม่ดีแล้ว ยังอาจมีโรคร้ายต่างๆตามมาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือแม้แต่ไขมันอุดตันก็ตาม ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกายนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงรวมทั้งทำให้เกิดโรคต่างๆได้

โรคอ้วน

ไม่ใช่เพียงแค่มีน้ำหนักตัวมากเพียงอย่างเดียว แต่หากเป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ส่วน “โรคอ้วนลงพุง” เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมาเกินไป เกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ ไขมันหน้าท้องแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ และอุดตัน

แม้ว่าไขมันจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคเรื้อรังต่างๆ แต่ไขมันก็ยังคงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับร่างกาย เนื่องจากให้ความอบอุ่นและเปรียบเสมือนตัวกันกระแทกให้กับร่างกาย แต่หากมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ โดยพบว่า ในผู้หญิงกว่าร้อยละ 30 และในผู้ชายมากกว่าร้อยละ 25 เป็นโรคอ้วน และถ้ารอบเอวเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซนติเมตร จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานได้มาก 3-5 เท่า

โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ

การควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากความสมดุลของร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ความสมดุลของพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหารและพลังงานที่ร่างกายใช้ในกิจกรรมต่างๆ ก็ไม่เท่ากันเช่นกัน หากเรารับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่ากาย ก็จะทำให้เกิดโรคอ้วนได้ โดยในแต่ละวันร่างกายของเรานั้นมีความต้องการพลังงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ภาวะโภชนาการ และระดับกิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

หลักการสำคัญในการควบคุมสมดุลพลังงานหรือควบคุมปริมาณพลังงานทั้งวันให้เป็นไปตามที่ควรได้รับ คือ

หากได้รับพลังงานมากเกินไป ก็ควรจะต้องมีกิจกรรมออกแรง หรือการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีการเผาผลาญพลังงานที่สูงขึ้นจะช่วยให้เกิดสมดุลพลังงานได้ดีที่สุด

โดยทั่วไปการออกกำลังกายควรทำให้ได้ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

หรืออาจเป็นวันเว้นวัน ครั้งละ 1 ชั่วโมง  การออกกำลังกายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน ซึ่งช่วยฝึกความทนทานของหัวใจและปอด ส่วนการยกน้ำหนัก หรือซิทอัพ จะช่วยในเรื่องของกล้ามเนื้อ ซึ่งการเดิน ทำงาน หรืองานอดิเรกที่ต้องออกแรง จัดเป็นกิจกรรมการออกแรงเช่นกัน โดยหลักในการออกกำลังกายที่ดีคือ ทำช้าๆ มีช่วงพักและหยุดเมื่อรู้สึกล้า

 

ข้อมูลจาก
รศ. ดร.นพวรรณ เปียซื่อ
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama”อ้วนลงพุง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8