โรคจิต
หน้าแรก
แบบไหนกันที่เรียกว่า "โรคจิต"
แบบไหนกันที่เรียกว่า "โรคจิต"

“โรคจิต” หลายครั้งถูกใช้เป็นคำด่าทอ และหลายครั้งก็เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับคำเหล่านี้กันจริงๆ อย่างเช่นข่าวคราวในปัจจุบันมักมีการใช้คำว่า “จิตป่วย” ในการกระทำแผลงๆ หลายต่อหลายอย่าง ทำให้ยังคงเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าอาการโรคจิตที่แท้จริงแล้วมีลักษณะแบบไหนกันแน่ ครั้งนี้จึงถือโอกาสหยิบเอาเรื่องราวของอาการโรคจิตซึ่งเป็นข้อมูลจากแพทย์มาฝากเพื่อทำความเข้าใจโดยทั่วกัน

อาการโรคจิต

เป็นความเจ็บป่วยทางสมองชนิดหนึ่ง มีผลต่อการรับรู้และความคิดที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น อาการประสาทหลอน ที่มีการได้ยินเสียงคนรอบข้างพูดนินทา หรือสั่งให้ทำสิ่งต่างๆ โดยที่ไม่มีเสียงนั้นอยู่จริง อาการเห็นภาพหลอนต่างๆ ที่ผิดไปจากความเป็นจริง อาการคิดไปเอง ที่มักคิดว่าคนอื่นจะมาคิดร้าย ทั้งที่ไม่เคยมีปัญหากับบุคคลนั้นๆ หรืออาการคิดว่าตนเองมีพลังวิเศษ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ถือเป็นความไม่สบายทางสมองแบบหนึ่งที่ทำให้ความคิดและการรับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง เรียกว่าโรคจิตทางการแพทย์

อาการโรคจิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. โรคจิตในระยะสั้น อาจมีอาการในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน
  2. โรคจิตเภท มาจากภาษาอังกฤษว่า Schizophrenia (สคิซโซฟรีเนีย) ซึ่งจะมีอาการในระยะเวลาเกิน 6 เดือน

เกณฑ์การแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมากหรือน้อย ในคนที่มีอาการจะคิดว่าสิ่งนั้นมีอยู่จริง ทั้งที่ไม่มีจริง ส่วนพวกกลุ่มคนที่ชอบโชว์ของลับ ขโมยชุดชั้นใน หรืออื่นๆ ทำนองนี้ ไม่ถือเป็นโรคจิตทางการแพทย์ แต่เป็นความผิดปกติทางจิตใจ และผิดปกติทางเพศ หรือมีพัฒนาการทางจิตใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ โดยการค้นหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เขาต้องหาความสุขจากสิ่งนั้นๆ

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นอีกมากมายที่หลายคนสงสัยว่าใช่อาการของโรคจิตหรือไม่ เช่น

  1. อาการย้ำคิดย้ำทำ กลัวเชื้อโรคต่างๆ ในส่วนนี้ไม่ถือว่าเป็นโรคจิต แต่เป็นอาการของโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล
  2. อาการชอบเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่คนเดียว ส่วนนี้ถือเป็นโรคจิต ซึ่งบุคคลนั้นอาจกลัวสิ่งรอบๆ ตัว แต่บางคนก็ไม่ได้เป็นโรคจิต แต่อาจเป็นบุคลิกส่วนตัวที่ไม่ชอบสังคมภายนอก รวมถึงกลุ่มคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ที่มักจะเก็บตัว ไม่อยากพูดคุยกับใคร สามารถแยกแยะและสังเกตได้จากสีหน้าที่แสดงอารมณ์นั้นๆ ออกมา

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | ลัดคิวหมอ โรคจิต” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7