โรคตาขี้เกียจ
หน้าแรก
โรคตาขี้เกียจ ส่งผลต่อการมองเห็นที่ผิดปกติ
โรคตาขี้เกียจ ส่งผลต่อการมองเห็นที่ผิดปกติ

โรคตาขี้เกียจส่งผลต่อการมองเห็นโดยตรง สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่ต้องได้รับการรักษาที่ทันเวลา หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้การมองเห็นย่ำแย่อย่างถาวร จึงควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อการรักษาที่ทันเวลา

โรคตาขี้เกียจเกิดจาก

คุณภาพการมองเห็นของตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน โดยข้างใดข้างหนึ่งมีการมองเห็นในความคมชัดได้น้อยกว่าอีกข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ส่งผลให้สมองระงับการพัฒนาของดวงตาข้างนั้นไป เพื่อทำการรับภาพจากดวงตาข้างที่ดีกว่าเพียงข้างเดียว

โรคตาขี้เกียจสามารถรักษาให้หายได้ 100% แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจส่งผลให้การมองเห็นย่ำแย่อย่างถาวร

สาเหตุของโรคมีทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่

  1. เด็กที่มีตาเขเข้าในภาวะเด็กแรกเกิด หากเกิดการเขเข้าข้างใดข้างหนึ่งตลอด จะส่งผลให้ตาข้างนั้นเป็นตาขี้เกียจได้ แต่ถ้าหากมีการเขเข้าสลับกันระหว่างซ้ายและขวา อัตราการเกิดตาขี้เกียจจะน้อยกว่า
  2. การที่เด็กมีสายตา สั้น ยาว เอียง สองข้างไม่เท่ากัน
  3. การที่เด็กมีสายตาสั้นกับเอียงทั้งสองข้างมากๆ มองเห็นไม่ชัดทั้งสองข้าง และอาจเกิดตาขี้เกียจทั้งสองข้าง
  4. มีอะไรมาบดบังการมองเห็น เช่น การมีหนังตาตกตั้งแต่แรกเกิด หรือเป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิดและเป็นมาก

การรักษาที่ทันเวลาคือต้องได้รับการรักษาก่อนอายุ 8 ขวบ เพราะหลังจาก 8 ขวบไปจะเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการเต็มที่แล้ว หากปล่อยทิ้งไว้จนเกินอายุ 8 ขวบไปแล้วจะรักษาได้ยาก

วิธีการรักษา

  1. ในเด็กที่มีตาเขเข้าข้างเดียว แพทย์จะทำการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ดวงตาข้างที่แย่มีการใช้งานและเกิดการพัฒนา จนสามารถเห็นได้ดีทั้งสองข้างเท่ากัน แล้วจึงทำการผ่าตัดแก้ไข
  2. ในเด็กที่มีสายตาสั้น ยาว เอียง สองข้างไม่เท่ากัน แพทย์จะให้เด็กใส่แว่นเป็นเวลา 6 เดือน หากสายตาดีขึ้นก็ไม่ต้องปิดตา แล้วให้เด็กใส่แว่นไปเรื่อยๆ
  3. ในเด็กมีสายตาสั้นกับเอียงทั้งสองข้างมากๆ แพทย์จะให้เด็กใส่แว่นเช่นกัน
  4. ในเด็กที่มีอะไรบางอย่างมาบดบังการมองเห็น ต้องจัดการกับสิ่งที่มาบดบัง เช่น การมีหนังตาตกตั้งแต่แรกเกิด แพทย์จะทำการผ่าตัดยกหนังตาขึ้น หรือในเด็กที่เป็นต้อกระจก แพทย์จะทำการผ่าตัดรักษาต้อกระจก

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.อาภัทรสา เล็กสกุล
สาขาวิชากล้ามเนื้อตาและโรคตาในเด็ก ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคตาขี้เกียจ : พบหมอรามา ช่วง Meet The exper” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7