11-01
หน้าแรก
โรคสายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)
โรคสายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)

สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)

เป็นภาวะสายตาสั้นที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อในเนื้อเยื่อ Ciliary Body ในลูกตาที่ใช้ในการเพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้ มีการทำงานมากเกินไปจนเกิดการเกร็งค้าง ซึ่งหากจะอธิบายก็สามารถยกตัวอย่างได้ว่า

ในภาวะปกติ ตาคนเราที่มองวัตถุได้ชัดทั้งไกลและใกล้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้ ทำให้แก้วตาเพิ่มกำลังการหักเหของแสงอันจะทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ไปโฟกัส (Focus, จุดรวม) ที่จอตาได้ ซึ่งเวลามองไกลกล้ามเนื้อมัดนี้จะคลายตัว แต่เวลามองใกล้จะหดตัวเกร็งตัวเพื่อเพิ่มกำลังของแก้วตาเกิดภาวะสายตาสั้นที่ทำให้มองใกล้ได้ชัดเจน ผู้ใดที่จ้องมองใกล้อยู่นานๆ กล้ามเนื้อนี้จะทำงานอยู่นานกว่าปกติ จึงเกิดภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เมื่อมองไกลจึงยังอยู่ในภาวะสายตาสั้น ทำให้มองภาพไกลไม่ชัด ซึ่งมักเป็นอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ถ้ากล้ามเนื้อนี้คลายตัว สายตาก็จะกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้น ภาวะนี้จึงถือว่าเป็นสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นชั่วคราว

ซึ่งแพทย์หลายๆ ท่านให้ความเห็นว่าในบางคนอาจจะทำให้จากสายตาสั้นเทียมหรือสั้นชั่วคราวกลายเป็นสายตาสั้นจริงและสั้นตลอดก็ได้

ส่วนสาเหตุนั้น สายตาสั้นเทียม มีสาเหตุมาจาก

การใช้สายตามองใกล้ เช่น เพ่งมองคอมพิวเตอร์ เล่นเกมส์ ใช้โทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ นานเกินไป

นอกจากนี้ ยังมีโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด Parasympathetic มากเกินไปด้วย เช่น

จากอุบัติเหตุที่สมอง โรคตาบางชนิดทำให้ Ciliary body ทำงานหนักมากขึ้น เช่น ยูเวียอักเสบ (Uveitis) ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาคลายเครียดในกลุ่ม Phenothiazine, ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน, ยา Chloroquine, ยา Diamox, ตลอดจนยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ หรือแม้แต่ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคต้อหินเช่น Pilocarpine ก็ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นชั่วคราวได้เช่นกัน

ส่วนแนวการป้องกันตาสั้นเทียมจะมีอย่างไรบ้าง มาดูกัน

  1. ควรมีการพักสายตาเป็นระยะ เมื่อต้องใช้สายตาระยะใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งนั้นคลายตัวลง อาจจะเลือกใช้สูตร 20/20/20 คือใช้สายตาเพ่ง 20 วินาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรือ อาจจะพักสายตา 1 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง หรือใช้สายตา 1 ชั่วโมง แล้วพักสายตา 5-10 นาทีก็ได้เพื่อไม่ให้เกิดการเพ่งค้าง
  2. ไม่ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรืออ่านหนังสือที่มีตัวขนาดเล็กมากเกินไปเพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเพ่งมากขึ้นได้

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.กวิน วณิเกียรติ
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5