ตรวจการได้ยิน
หน้าแรก
ถ้าอยากตรวจการได้ยินควรทำอย่างไร?
ถ้าอยากตรวจการได้ยินควรทำอย่างไร?

ระดับการได้ยิน สามารถตรวจได้เพื่อทดสอบความสามารถในการได้ยินของแต่ละบุคคล มีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสื่อสาร และการสูญเสียการได้ยินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ดังนั้นการตรวจการได้ยินเป็นเรื่องที่สำคัญในระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันและรักษาการสูญเสียการได้ยินที่จะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น

ความสำคัญของการได้ยิน

การได้ยินมีความสำคัญในเรื่องของการสื่อสารโดยตรง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยการการสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ หากเกิดในวัยเด็ก จะทำให้มีปัญหาในเรื่องของพัฒนาการด้านภาษาและการได้ยิน ส่งผลให้การพูดล่าช้า หากเกิดในวัยทำงาน จะกระทบต่อคุณภาพชีวิต การทำงาน และความมั่นใจในการทำงาน รวมถึงสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ

การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหูและระบบโสตประสาท เพื่อประเมินหาระดับการได้ยินเสียงของบุคคลอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน และวินิจฉัยความผิดปกติของระบบการได้ยิน โดยผู้ที่มีการได้ยิน “ปกติ” จะมีระดับที่เริ่มได้ยินเสียงอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่ามีความผิดปกติของการได้ยิน

สังเกตเบื้องต้นว่ามีการได้ยินที่ผิดปกติ

  1. หากบุคคลนั้นเรียกแล้วไม่ได้ยิน ฟังคำพูดไม่ชัดเจนต้องถามซ้ำ
  2. ความถี่เกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อบ่อย มีเสียงรบกวนในหูบ่อย เป็นต้น
  3. บาดเจ็บบริเวณหูและศีรษะ ร่วมกับมีการสูญเสียการได้ยิน
  4. ตรวจก่อน/หลังการผ่าตัด หรือการใช้ยากลุ่มที่อาจทำลายประสาทหู
  5. ได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียงดัง หรือทำงานในที่ที่มีเสียงดัง
  6. มีประวัติหูตึง หูหนวกในครอบครัว สาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. ผู้ที่ต้องการใส่เครื่องช่วยฟัง
  8. เด็กที่พูดช้า พูดผิดปกติ ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือมีปัญหาการเรียนรู้

ผู้ที่ควรตรวจการได้ยิน

เด็ก

  • มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูและการได้ยิน เช่น เป็นหวัดเรื้อรัง ปวดหู หูอื้อ
  • พัฒนาการทางภาษาและการพูดไม่สมวัย
  • เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น คลอดก่อนกำหนด มีภาวะตัวเขียวหรือตัวเหลือง

ผู้ใหญ่

  • มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูและการได้ยิน เช่น ปวดหู หูอื้อ มีเสียงรบกวนในหู
  • บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ทำงานในที่ที่มีเสียงดัง กินยาบางชนิด
  • ผู้สูงอายุ

วิธีการตรวจการได้ยิน

แบ่งออกเป็น ตรวจเพื่อคัดกรอง และเพื่อวินิจฉัย

  • วิธีตรวจเพื่อคัดกรอง ใช้ส้อมเสียงเคาะถามคนไข้เพื่อทดสอบการได้ยิน หรืออาจเว้นระยะ 1 เมตร แล้วเรียกถามคนไข้ 5 คำ แล้วทดสอบว่าได้ยินครบหรือไม่
  • วิธีตรวจเพื่อวินิจฉัย ใช้เสียงบริสุทธิ์ และใช้คำพูด โดยจะค่อย ๆ ลดระดับความดังลงทีละระดับ แล้วให้คนไข้ตอบสนอง

ขั้นตอนการตรวจการได้ยิน

  1. ให้คนไข้ฟังเสียง และให้คนไข้ตอบสนองด้วยการยกมือ
  2. ค่อย ๆ ลดระดับเสียงลงเรื่อย ๆ
  3. หาเสียงที่เบาที่สุดที่คนไข้สามารถตอบสนองได้

หากตรวจแล้วพบว่ามีความผิดปกติ จะทำการส่งตัวคนไข้ไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป อาจรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หากไม่สามารถรักษาได้ จะทำการส่งตัวคนไข้กลับไปที่นักแก้ไขทางการได้ยิน เพื่อวินิจฉัยต่อว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น เช่น การใช้เครื่องช่วยฟัง เป็นต้น

 

ข้อมูลโดย
อ.สุวิมล รื่นเจริญ
หัวหน้าสาขาแก้ไขการได้ยิน
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมาย และความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ถ้าอยาก “ตรวจการได้ยิน” ควรทำอย่างไรบ้าง? : Rama Square ช่วง ปากสวย – โสตใส” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

2

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

1

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

9

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7