บทความ ก.พ._๑๘๐๑๒๕_0003
หน้าแรก
พฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งผลต่อ “โรคไต”
พฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งผลต่อ “โรคไต”

โรคไตเป็นโรคที่มีสาเหตุหลักมาจากการทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม ดังนั้นถ้าหากต้องการป้องกันโรคไตควรเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมการทานอาหารก่อนเป็นอันดับแรก

คนไทยนิยมทานรสเค็มและมีพฤติกรรมการทานอาหารรสเค็มมากกว่าความต้องการของร่างกาย 2-3 เท่า เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดัน นำไปสู่โรคหัวใจ โรคไต และโรคต่าง ๆ การได้รับรสเค็มของคนไทยแตกต่างจากคนต่างชาติ โดยในต่างประเทศการรับรสเค็มมักมาจากการทานอาหารสำเร็จรูป แต่คนไทยรับรสเค็มจากอาหารที่ปรุงโดยแม่ครัว พฤติกรรมการปรุงอาหารของแม่ครัวในประเทศไทยเองก็นิยมปรุงรสเค็ม เพื่อให้ตรงกับความชอบของคนไทย มากไปกว่านั้นหลายครั้งคนไทยเมื่อได้รับอาหารมาแล้วยังมีการปรุงเพิ่มด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น พริกน้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับรสเค็มจัด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง

ในปัจจุบันนอกจากอาหารไทยที่มีรสเค็มแล้ว อาหารต่างชาติยังมีส่วนด้วยเช่นกัน พบว่าคนไทยนิยมทานอาหารเกาหลี อาหารญี่ปุ่น ที่ต้องจิ้มซอสเพื่อเพิ่มรสชาติ โดยซอสเหล่านั้นยังมีรสเค็มเป็นหลัก ไม่เพียงเท่านั้นในอาหารฝรั่งอย่างแฮม เบคอน หรือพิซซ่าที่ประกอบไปด้วยชีส ก็มีรสเค็มมากไม่น้อยไปกว่าอาหารชาติอื่น และคนไทยให้ความนิยมเช่นกัน ถือเป็นพฤติกรรมการทานอาหารที่ล้วนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพโดยตรง

อาหารยอดนิยมที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต

  • อาหารญี่ปุ่นที่ต้องใช้น้ำจิ้ม อาทิ ซูชิ ชาบู
  • อาหารเกาหลีที่ต้องใช้น้ำจิ้ม อาทิ ปิ้งย่าง
  • หมูกระทะ
  • แฮม เบคอน
  • อาหารที่มีส่วนประกอบของชีส

วิธีสังเกตผลกระทบที่เกิดจากการทานรสเค็มมากเกินไป

คือหากรับประทานอาหารรสเค็มแล้วมีอาการบวม เช่น ขาบวม ตาบวม หรือทานรสเค็มแล้วรู้สึกหิวน้ำมาก แสดงว่าเริ่มทานเค็มมากเกินไป นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตได้จากปัสสาวะ หากพบว่าปัสสาวะมีฟองหรือมีสีเข้ม แสดงว่าร่างกายเริ่มมีความเสี่ยงของโรคอันเกิดจากการทานรสเค็มจัด

ในอดีตพบว่าช่วงอายุส่วนใหญ่ที่คนจะป่วยเป็นโรคไตอยู่ระหว่าง 50-60 ปี แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยโรคไตมีอายุน้อยลงหรือป่วยเร็วขึ้น โดยพบว่ามีอายุเพียง 40 ปีก็เริ่มป่วยเป็นโรคไตแล้ว สาเหตุสำคัญมาจากคนปัจจุบันมีปัญหาเรื่องน้ำหนักมากขึ้น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทานผักผลไม้น้อย ทานอาหารรสหวานและเค็มจัดมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักมาก ไขมันในเลือดสูงและมีความดันขึ้น รวมถึงเป็นโรคเบาหวานและตามมาด้วยโรคไต

การป้องกันโรคไตที่สำคัญ

คือควรปรับเปลี่ยนวิธีการทานอาหาร โดยให้ทานอาหารรสเค็มให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการปรุงรสเพิ่มเติม และทานผักผลไม้ให้มากขึ้น รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจเลือกทานอาหารทางเลือกสุขภาพ อาทิ หากต้องรับประทานอาหารสำเร็จรูปที่ซื้อได้จากซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็ให้เลือกที่มีเครื่องหมายรับรองว่าเป็นอาหารรสหวานและรสเค็มที่เหมาะสมต่อการบริโภค

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคไต : พบหมอรามา ช่วง ลัดคิวหมอ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8