มอร์ฟีนกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
หน้าแรก
“มอร์ฟีน” กับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำเป็นหรือไม่?
“มอร์ฟีน” กับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำเป็นหรือไม่?

มอร์ฟีน มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการบรรเทาความเจ็บปวดรุนแรงของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ให้ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมานมากเกินไป โดยจะมีคุณสมบัติช่วยระงับอาการปวดรุนแรงและอาการเหนื่อยหอบรุนแรงอย่างได้ผล แต่หลายคนยังคงสงสัยเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้มอร์ฟีนอยู่ เพื่อการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้และความสำคัญของมอร์ฟีนโดยละเอียด

บทบาทของมอร์ฟีน

ใช้บรรเทาความเจ็บปวดและอาการเหนื่อยหอบในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

รูปแบบของมอร์ฟีน

  • ยาเม็ดหรือแคปซูลที่ออกฤทธิ์ยาว
  • ยาเม็ดและยาน้ำที่ออกฤทธิ์สั้น
  • ยาฉีด และ ยาแผ่นแปะผิวหนัง

วิธีใช้มอร์ฟีนกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  • ยามอร์ฟีนที่ออกฤทธิ์ยาว เป็นยาหลัก ที่ใช้คุมอาการต้องรับประทานยาให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ
  • ยามอร์ฟีนที่ออกฤทธิ์สั้น เป็นยาเสริมที่ใช้เป็นครั้งคราว เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงขึ้นก่อนถึงเวลาให้ยามอร์ฟีนหลัก ซึ่งสามารถให้ซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง

การให้มอร์ฟีนกรณีผู้ป่วยพักที่บ้าน

  • ผู้ป่วย/ญาติ จะได้รับการสอนวิธีการใช้ยามอร์ฟีนที่ถูกต้องทั้งยาหลักและยาเสริม
  • กรณีผู้ป่วยสื่อสารไม่ได้ ให้สังเกตอาการปวดจากสีหน้าและท่าทาง เช่น หน้านิ่ว คิ้วขมวด บิดเกร็งตัว
  • ให้จดบันทึกวัน เวลาที่ได้รับยามอร์ฟีนชนิดเสริมทุกครั้ง หากผู้ป่วยได้รับยาเสริมเกิน 4 ครั้งต่อวัน แพทย์จะปรับขนาดยาหลักเพิ่มให้เหมาะสมต่อไป

ข้อจำกัดการใช้มอร์ฟีน

  • ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคตับและโรคไต แพทย์จะพิจารณาใช้มอร์ฟีนอย่างระมัดระวัง

 

ข้อมูลจาก
พว.ศากุน ปวีณวัฒน์
พยาบาลประจำศูนย์รามาธิบดีอภิบาล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “มอร์ฟีน กับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำเป็นหรือ: พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง