แอลกอฮอล์อันตรายต่อตับแค่ไหน
หน้าแรก
แอลกอฮอล์อันตรายต่อตับแค่ไหนกัน
แอลกอฮอล์อันตรายต่อตับแค่ไหนกัน

แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอวัยวะภายในอย่างเช่นตับ ที่ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์โดยตรง ก่อให้เกิดโรคร้ายที่ตับและเป็นอันตรายถึงชีวิต วันนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากตับ ซึ่งเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มาฝากเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ทุกชนิด คือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็ง ตับวาย รวมถึงมะเร็งตับ ทุกการดื่มแอลกอฮอล์จะไปทำร้ายเซลล์ของตับ โดยกระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จากนั้นตับจะเกิดการอักเสบ ในกลุ่มคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะเกิดการสะสมของพังผืดในตับ ซึ่งเป็นเหมือนแผลเป็นและมีลักษณะแข็ง หากเกิดขึ้นในระยะยาวจะทำให้ตับแข็ง ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาโรคตับอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีพาหะไวรัสตับอีกเสบบีหรือซี ที่มีความเสี่ยงต่อการแข็งของตับจากไวรัสอยู่แล้ว หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้นอีก

โดยปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากมีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว เกิดการสะสมของพังผืดและทำให้ตับแข็ง แต่ถ้าหากมีการเว้นระยะหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ ตับก็จะฟื้นฟูตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถป่วยเป็นโรคตับได้เช่นกัน ที่อาจเกิดร่วมกับภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกจากจะส่งผลเสียต่อตับแล้ว ยังส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่นสมอง ตับอ่อน ลำไส้ และกระตุ้นให้แผลหายช้าลง ทั้งยังมีคุณสมบัติเร่งการทำลายยาพาราเซตามอล ก่อให้เกิดสารพิษต่อร่างกาย ในผู้ป่วยโรคตับหากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป เมื่อทานยาแก้ปวดในปริมาณปกติ จะทำให้เกิดตับอักเสบอย่างรุนแรงกับผู้ป่วย

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ. มล.ทยา กิติยากร
สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | แอลกอฮอล์พิษร้ายทำลายตับ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5