บทความ ส.ค.61_๑๘๐๘๑๗_0006
หน้าแรก
ภาวะข้อเท้าตก กับความลำบากในการใช้ชีวิต
ภาวะข้อเท้าตก กับความลำบากในการใช้ชีวิต

ภาวะข้อเท้าตก เป็นหนึ่งอาการป่วยที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยนัก หรือบางคนอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจถึงอาการที่ชัดเจนนัก โดยครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาวะข้อเท้าตกในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ความหมายของภาวะข้อเท้าตก สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกันที่ได้ผล สู่การนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม หากอยู่ในความเสี่ยงหรือเมื่อมีอาการดังกล่าว

รู้จักกับภาวะข้อเท้าตก

เป็นภาวะที่ร่างกายผิดปกติชนิดหนึ่ง อาจเกิดจากโรคบางอย่าง ส่งผลให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณเท้าผิดปกติไปจากเดิม ทำให้กระดกเท้าไม่ขึ้น เช่น ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถยกข้อเท้าได้ ความจริงแล้วความผิดปกติอาจไม่ได้เกิดที่ข้อเท้า แต่เกิดที่เส้นประสาท ส่งผลให้มีภาวะข้อเท้าตก

อาการของภาวะข้อเท้าตก

ผู้ป่วยจะไม่สามารถกระดกเท้าได้ หรือกระดกเท้าไม่ขึ้น ทำให้ยกเท้าไม่พ้นพื้นจึงสะดุดเท้าตัวเองล้มลงหรือสะดุดวัตถุอื่นแล้วล้มลงได้ง่าย ผู้ป่วยจึงพยายามที่จะยกข้อเท้าให้สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้ท่าเดินผิดปกติและทรงตัวได้ยากขึ้นหรือทำให้ล้มได้ง่าย นอกจากนี้อาจมีอาการชาบริเวณขาด้านข้าง รวมไปถึงบริเวณเท้าด้านบน

สาเหตุของภาวะข้อเท้าตก

  • เกิดจากเส้นประสาทที่ชื่อว่าพีโรเนียลซึ่งอยู่บริเวณหัวเข่าด้านนอกถูกกดทับ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
  • เส้นประสาทที่หลังถูกกระดูกกดทับ
  • อาการจากสมองหรือไขสันหลัง
  • ผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต
  • อุบัติเหตุบริเวณหัวเข่า เช่น กระดูกหัก ข้อเข่าเคลื่อน อาจทำให้เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บได้
  • โรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือโรคที่ทำให้ภาวะปลายประสาทมีปัญหา เช่น โรคเบาหวาน โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ข้อหลังแข็ง เป็นต้น

การดูแลรักษาภาวะข้อเท้าตก

หากมีอาการกระดกข้อเท้าไม่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพื่อป้องกันระดับอาการที่รุนแรงตามมา วิธีการรักษาคือกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น และช่วยให้มีโอกาสกลับมากระดกข้อเท้าได้ดีขึ้น วิธีกายภาพบำบัด ได้แก่

  • ยืดเหยียดเอ็นร้อยหวาย
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง
  • ออกกำลังกายเกร็งกล้ามเนื้อด้านหน้าขา

ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระดับอาการ หากไม่รุนแรงมากสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น และมีโอกาสกลับมากระดกข้อเท้าได้ดีขึ้น

วิธีป้องกันภาวะข้อเท้าตก

  • หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานป้องกันการกดทับ หากนั่งคุกเข่าหรือนั่งท่าขัดสมาธิ ไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมง หากรู้สึกชาควรเปลี่ยนอิริยาบถ
  • หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงทับข้างเดิมเป็นเวลานาน
  • กรณีผู้ป่วยติดเตียง ควรจัดท่านอนให้เหมาะสม ไม่ให้นอนขาแบะ

 

ข้อมูลโดย
อ. พญ.ทรงสุดา รุ่งใสวัฒนา
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““ภาวะข้อเท้าตก”กับความลำบากในการใช้ชีวิต : พบหมอรามา ช่วง Rama Health Talk” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7