03
หน้าแรก
รวมสาเหตุอาการปวดฟันที่ควรรู้
รวมสาเหตุอาการปวดฟันที่ควรรู้

โรคฟันผุ

ในระยะแรกของฟันผุนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แต่ถ้าส่วนที่ผุนั้นลึกมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อน, น้ำเย็น บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดฟันขึ้นมาในขณะเคี้ยวอาหาร เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดอยู่ในรูที่ผุนั้น การรักษาโดยการอุดฟันจะช่วยลดอาการปวดลงได้

การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน

ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลจากฟันที่ผุลึกมาก จนกระทั่งทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของรากฟันและอาจพบได้ในฟันสึก, ฟันร้าวหรือแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้

โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดฟันขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฟันมากและปวดอยู่นาน บางครั้งต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอากรปวดแต่ถ้ายาแก้ปวดหมดฤทธิ์ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการปวดกลับมาใหม่อีกครั้ง

ถ้าคุณมีอาการปวดคล้ายๆ แบบนี้แล้วแสดงว่าฟันของคุณอาจมีการอักเสบและติดเชื้อในเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน การรักษาคงจะต้องรักษาคลองรากฟันหรือถอนฟัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อเยื้อฟันที่เหลืออยู่ โดยต้องให้ทันตแพทย์ประเมินการรักษาอีกครั้ง

ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง

ถ้าการอักเสบของเนื้อเยื้อในโพรงประสาทฟันฟันเป็นอยู่นาน โรคอาจจะลุกลามไปที่ปลายรากฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน ร่วมกับการบวมของเหงือกบริเวณฟันที่ติดเชื้อและเป็นโรคได้ ถ้าเชื้อลุกลามออกนอกปลายรากไปที่ใต้คางหรือแก้ม จะสังเกตได้ว่าหน้าจะบวมได้ การรักษาจะเหมือนกับกรณีที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน

ฟันคุด

เกิดจากฟันที่จะขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นต้น โดยขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีเนื้อที่ไม่เพียงพอหรือมีฟันซี่ข้างเคียงขวางไว้ มักเป็นที่ฟันกรามซี่ในสุด ทั้งข้างบนและข้างล่างจะทำให้รู้สึกปวดฟันเวลาที่ฟันกำลังจะขึ้นได้ ถ้าพบว่ามีเหงือกบวมรอบๆ เป็นหนองฟันคุย ฟันคุกควรได้รับการผ่าตัดฟันคุยจะทำให้อาการปวดลดลง

โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ

มักมีสาเหตุมาจากคราบหินน้ำลายหรือหินปูน จะทำให้หงือกอักเสบ บวดและปวดฟันได้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหนึบๆ หรือปวดรำคาญ ร่วมกับแฟรงฟันมีเลือดออก ถ้าเป็นมากๆ ฟันจะโยก

จะเห็นได้ว่า อาการปวดฟันนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ซึ่งยังมีอีกหลายๆ โรคที่ทำให้ปวดได้ แต่ที่ยกตัวอย่างไปนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการปวดฟัน ออกไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อค้นหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เราไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้เพราะจะเป็นมากขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้นด้วย

 

ข้อมูลจาก
อ. ทพ.เดชศักดิ์ นาคะปักษิราช
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา
คณะทันแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5