kiss
หน้าแรก
“โรคโมโนนิวคลิโอสิส” ที่ติดต่อผ่านการจูบ
“โรคโมโนนิวคลิโอสิส” ที่ติดต่อผ่านการจูบ

หลายคนอาจไม่คุ้นหูนักกับโรคโมโนนิวคลิโอลิสที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการจูบ แต่ปัจจุบันเรากลับพบว่าโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยพบว่าในเด็กอายุ 5 ปีมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ถึง 50% และอายุ 25 ปี พบว่ามีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ 90-95% ส่วนในไทยพบว่าเด็กอายุ 15 ปีมีการติดเชื้อแล้วมากกว่า 90% จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทุกคนควรทำความรู้จัก

โรคโมโนนิวคลิโอสิสเกิดจาก

ไวรัสเอ็มสไตลบาร์ หรือย่อว่า EB ไวรัส สามารถถ่ายทอดกันผ่านทางน้ำลายและเสมหะที่ไอหรือจามออกมา

อาการของโรคคือ

ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง เจ็บคอ และอาจคลำเจอก้อนที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นขึ้น แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อในวัยเด็ก อาจไม่มีอาการเลยหรือถ้าหากมีอาการจะแสดงน้อยมาก แต่ถ้าหากติดเชื้อในช่วงวัยรุ่นประมาณ 15 ปีขึ้นไป อาการจะรุนแรงมากกว่าเด็ก ส่วนไวรัสชนิดนี้หากติดแล้วจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิตเหมือนกับโรคเริมหรืออีสุกอีใส และจะกำเริบขึ้นมาเมื่อร่างกายอ่อนแอ โดยจะกำเริบเป็นครั้งๆ แล้วหายไปเองตามเวลา

หากกล่าวถึงอาการของโรคโมโนนิวคลิโอสิส อาจคล้ายกับอาการคออักเสบการจะแยกแยะระหว่าง 2 โรคนี้ได้ต้องทำการตรวจร่างกาย หรือคลำท้องดูว่าม้ามโตหรือไม่ อาจตรวจโดยการเจาะเลือดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยปกติโรคนี้ไม่จำเป็นต้องรักษาก็จะสามารถหายได้เอง แตกต่างจากโรคคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา

ระยะเวลาในการแสดงอาการคือ

หลังรับเชื้อเข้ามา 2-3 สัปดาห์ จึงจะมีอาการให้เห็น และเมื่อมีการติดเชื้อแล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต หากติดเชื้อในเด็กจะไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก แต่ถ้าหากติดเชื้อในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ จะมีอาการเจ็บคอ ไข้สูง โดยทั่วไปจะเจ็บคออยู่ประมาณ 3-4 วันแล้วก็หายไปเอง ตัวโรคไม่มีความรุนแรงไม่อันตรายถึงชีวิต เว้นแต่บางกรณีที่ต่อมทอนซิลโตมากจนกระทั่งไปปิดกั้นทางเดินหายใจ

และในบางรายตัวโรคอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ แต่โอกาสก็น้อยมาก อีกหนึ่งอาการคือม้ามจะมีขนาดโตขึ้น และเปราะบางมากขึ้น แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดการกระแทก 4-6 สัปดาห์ ป้องกันอาการม้ามแตก แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดได้น้อยมากเพียงแต่เป็นคำแนะนำเบื้องต้นจากแพทย์เมื่อรู้ว่าคนไข้เป็นโรคโมโนนิวคลิโอสิส

สำหรับการกำเริบของโรคจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น

เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโรคที่ได้รับยากดภูมิ รวมถึงความเครียดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาได้ โดยระดับอาการหนักเบานั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยแล้ว ในผู้ที่มีโรคประจำตัวและได้รับยากดภูมิ หรือมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆ หากเกิดโรคก็อาจมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เช่น บางรายอาจมีอาการอักเสบของตัวสมอง เป็นต้น

การตรวจโรคว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายหรือไม่นั้น

โดยทั่วไปแล้วหากร่างกายแข็งแรงดีไม่ได้มีอาการ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะไม่ทำการตรวจให้ต้องมีอาการบ่งชี้อย่างอาการเจ็บคอหรือมีไข้สูง เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการบริจาคอวัยวะ แพทย์จะทำการตรวจว่ามีเชื้ออยู่ในร่างกายอยู่หรือเปล่า เพื่อประเมินว่าอวัยวะของคนไข้สามารถเอาไปให้ผู้อื่นใช้งานได้หรือไม่

วิธีป้องกันคือ

หลีกเลี่ยงการจูบกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผ้าเช็ดหน้า หรือของใช้ส่วนตัวต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้อื่น ส่วนตัวผู้ป่วยเองก็พยายามหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่นด้วยเช่นกัน

 

ข้อมูลจาก
อ.ดร. นพ.นพพร อภิวัฒนากุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““โรคโมโนนิวคลิโอสิส” ที่ติดต่อผ่านการจูบ : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5