08
หน้าแรก
"ไม่จริงนะ!" ทุเรียนหมอนทอง ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้
"ไม่จริงนะ!" ทุเรียนหมอนทอง ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้

ตามตำรับยาพื้นบ้านของไทย กล่าวว่าทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ เพราะตัวทุเรียนเองมีสารกำมะถันค่อนข้างสูง สามารถฆ่าเชื้ออ่อนๆ ได้ ช่วยในการขับถ่าย และฆ่าพยาธิ แต่ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยออกมาชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้

แน่นอนว่าผลไม้ทุกชนิดไม่เว้นแต่ทุเรียน มีส่วนประกอบธรรมชาติที่สำคัญอย่าง “ไฟเบอร์” หรือกากใยค่อนข้างสูงอยู่แล้ว หลายคนเลยนำมาใช้ในเรื่องของการระบายการขับถ่าย มีสารแอนติออกซิแดนท์ (Antioxidant) สูง โดยเฉพาะในกลุ่ม แคโรทีนอยด์ และ โพลิฟีนอล ช่วยในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มีซัลเฟอร์สูงช่วยในการกระตุ้นการเผาผลาญ

แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังถือเป็นแค่การทดลองในห้องทดลองเท่านั้น ปัจจุบันสิ่งที่เราพอจะยืนยันได้เกี่ยวกับทุเรียน คือ เรื่ององค์ประกอบของสารอาหารต่างๆ ในตัวทุเรียนเอง

องค์ประกอบหลักของทุเรียน คือ “น้ำตาล”

เมื่อถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจะให้พลังงานที่สูง นอกจากนี้ยังมีไขมันสูงด้วยเช่นกัน แม้จะเป็นไขมันที่ดีหรือไขมันไม่อิ่มตัว แต่เมื่อรวมกับน้ำตาลในตัวทุเรียนเองแล้วใน 100 กรัม จะให้พลังงาน 100-120 กิโลแคลลอรี ซึ่งโดยปกติผลไม้ทั่วไปจะอยู่ที่ 60-70 กิโลแคลลอรีในปริมาณที่เท่ากัน เราจะเห็นว่ามากกว่าถึง 2 เท่าเลยทีเดียว ถ้าเทียบกับข้าวแล้วก็ประมาณ 1.5 ทัพพี เมื่อเราทานในปริมาณที่มากก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความอ้วน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง

ทุเรียนเป็นพืช และพืชไม่มีคอเลสเตอรอลก็จริง แต่อย่างไรก็ตามระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับพลังงานโดยรวมด้วย เมื่อเรารับพลังงานมากเกินไปร่างกายก็จะสะสมและสร้างคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้นได้

การที่เราจะเลือกรับประทานอะไรสักอย่างหนึ่ง นอกจากองค์ประกอบแต่ละอย่างแล้ว เราควรจะคำนึงถึงโดยรวมด้วย

เพราะเราไม่ได้ทานส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นปริมาณโดยรวมและองค์ประกอบโดยรวมถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรเลือกพิจารณาก่อนบริโภค ทานให้พอดี ลิ้มรสอย่างมีความสุข ก็จะไม่มีอันตรายใดๆ ให้กังวล

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.กุลพงษ์ ชัยนาม
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5