เมื่อไรที่ควรพาเด็กมาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก

 
ผู้ปกครองมักเป็นคนแรกทีมองเห็นปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ของเด็กของเขา และจากการที่ผู้ปกครองเป็นห่วงมากขึ้น ร่วมกับการที่บุคคลภายนอก เช่น ครู เริ่มตั้งข้อสังเกต ทำให้ผู้ปกครองเริ่มคิดว่าเด็กน่าจะได้รับประโยชน์จากการมาพบแพทย์
ต่อไปนี้เป็นสัญญาณซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเด็กหรือวัยรุ่นของท่านควรได้รับความช่วยเหลือ

เด็กเล็ก

  • ผลการเรียนตกลงอย่างชัดเจน
  • ถึงพยายามอย่างมากแต่ผลสอบไม่ได้เท่าที่พยายาม
  • ท่าทางวิตกกังวลอย่างมาก ซึ่งอาจแสดงออกโดยการไม่ยอมไปโรงเรียนบ่อยๆ หรือปฏิเสธไม่ยอมเข้าเรียน
  • หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เด็กวัยเดียวกันมักทำ
  • ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มากกว่าการเล่นทั่วๆ ไป
  • ฝันร้ายบ่อยๆ
  • ดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรือก้าวร้าว ต่อต้านผู้ใหญ่ เป็นประจำ และนานกว่า 6 เดือน
  • มีร้องไห้ อาละวาดบ่อยๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้

เด็กโตและวัยรุ่น

  • ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มีการใช้สารเสพติดหรือดื่มสุรา
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาและปฏิบัติงานประจำได้
  • มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอน และ/หรือ การกินอย่างชัดเจน
  • บ่นเรื่องอาการเจ็บป่วยทางกายมากมาย
  • ก้าวร้าว หรือละเมิดกฎอย่างไม่ก้าวร้าว หรือละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ต่อต้านผู้ใหญ่ หนีโรงเรียน ทำลายข้าวของสาธารณะ หรือลักขโมย
  • กลัวความอ้วนอย่างมาก ทั้งที่รูปร่างหรือน้ำหนักจริงไม่เป็นเช่นนั้น
  • มีอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งเห็นได้จาก มีอารมณ์ไม่แจ่มใสต่อเนื่อง มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือคิดเรื่องตายบ่อยๆ
  • อารมณ์โมโหรุนแรงอย่างควบคุมไม่ได้บ่อยๆ