ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ... อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

            วันหมดอายุหรือวันสิ้นอายุของยา คือวันที่กำหนดอายุการใช้ยาสำหรับยาที่ผลิตในแต่ละครั้ง เพื่อแสดงว่ายาดังกล่าวมีคุณภาพมาตรฐานตามข้อกำหนดตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันสิ้นอายุของยา ซึ่งการกำหนดวันหมดอายุและสภาวะการจัดเก็บยาเป็นข้อมูลซึ่งได้จากการศึกษาความคงตัวของตัวยานั่นเอง ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงควรทราบวิธีการสังเกตยาหมดอายุ ซึ่งจะเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่ผู้ใช้ยาสามารถทำได้เอง ข้อควรรู้พื้นฐานในการพิจารณาวันหมดอายุของยา มีดังนี้

 

·         าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สามารถสังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน

                                                                                

                                                     วันหมดอายุ = วันที่ 27 มีนาคม 2015                            วันหมดอายุ = วันที่ 31 สิงหาคม 2013        

   ·         ยาแบ่งบรรจุล่วงหน้า( pre-pack)   ยานำมาแบ่งบรรจุจะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับจากวันที่แบ่งบรรจุ แต่ต้องไม่เกินอายุยาที่ระบุจากบริษัทยา ดังนั้นยาที่จะนำมาแบ่งบรรจุ ต้องมีอายุการใช้งานเหลืออย่างน้อย1 ปี     

                                                                                     

 

·        ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้ จะเก็บไว้ได้ 3 ปีนับจากวันผลิต ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก หลังจากเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน การเก็บรักษายาจะต่างกันไปตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด 

·        ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง เนื่องจากไม่มีสารกันเสีย โดยทั่วไปหลังผสมถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องเก็บได้ 7 วัน ถ้าเก็บในตู้เย็นเก็บได้ 14 วัน

·         ยาน้ำเชื่อม หลังเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 1 เดือน และเก็บที่อุณหภูมิห้อง (การแช่ตู้เย็นไม่ช่วยยืดอายุยา แต่อาจทำให้ยาตกตะกอน หรือน้ำเชื่อมตกผลึก แต่ AZT syrup ต้องเก็บในตู้เย็น )

·         ยาหยอดตา ยาป้ายตา หากเป็นชนิดที่ใส่สารต้านเชื้อ(Preservative) โดยทั่วไปจะมีอายุไม่เกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้หากเป็นชนิดไม่เติมสารต้านเชื้อควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน วิธีเก็บรักษาปฏิบัติตามฉลากยา

                                                                    

 

              ยาจะมีคุณภาพที่ดีจนถึงอายุยาที่กล่าวข้างต้นได้ หากอยู่ภายใต้การจัดเก็บที่เหมาะสมตามที่แนะนำโดยบริษัทผู้ผลิต แต่หากมีการจัดเก็บยาที่ไม่เหมาะสม ยาจะเสื่อมสภาพและมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ดังนั้นการสังเกตลักษณะทางกายภาพของยาร่วมด้วยจัดเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะหากยามีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ก็อาจอนุมานได้ว่าคุณภาพของยาน่าจะเปลี่ยนแปลงและผู้บริโภคไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป

 

ตัวอย่างลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ

ยาเม็ด สังเกตว่าเม็ดยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไปมีจุดด่างขึ้นรา ยาเม็ดเคลือบน้ำตาลอาจมีการเยิ้มเหนียวหรือมีกลิ่นผิดไปจากเดิม

               

ยาแคปซูล

        แคปซูลแข็ง: แคปซูลมักจะบวมโป่งอาจมีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล ภายในแคปซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน เช่น ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็น อันตรายต่อไต

        แคปซูลนิ่ม : เปลือกแคปซูลเยิ้มเหลวเหนียวกว่าปกติ แคปซูลเปื่อยทะลุทำให้ตัวยาไหลออกมากด้านนอก

         
ยาผงแห้ง ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่ไม่ปกติไม่สามารถละลายได้และถ้าที่ผนังภาชนะบรรจุมีไอน้ำหรือหยดน้ำแสดงว่ายาเตรียมนั้นไม่เหมาะที่จะนำไปใช้                         
ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรดยาคาลาไมน์ ทาแก้คัน หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะ ติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สีหรือรสเปลี่ยนไป       
ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมี ลักษณะขุ่นมีตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มี กลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว               
อีมัลชั่น ปกติเมื่อตั้งทิ้งไว้จะแยกเป็นชั้น และเมื่อเขย่าจะเข้ากันดีแต่ถ้ายาเสื่อมแล้วเมื่อเขย่าจะไม่เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน  
ยาขี้ผึ้ง เกิดการแยกของของเหลวออกมาเยิ้มที่ผิวหน้าของยาเตรียมมีความข้นหนืด เปลี่ยนไป และมีกลิ่นเหม็นหืน               
ยาครีม การแยกของอิมัลชัน การโตของผลึก การหดตัวของเนื้อครีมเนื่องจากการระเหยของน้ำ และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์                
ยาเจล หากยาเสื่อมสภาพเนื้อเจลใสจะเปลี่ยนเป็นขุ่นและไม่เป็นเนื้อเดียวกัน                     
อินซูลิน(ยาฉีด)   ลักษณะที่สำคัญที่สุดของสารละลายปราศจากเชื้อคือความใสและการคงสภาพความปราศจากเชื้อซึ่งมักสังเกตไม่ได้ด้วยตาเปล่า แต่อินซูลินชนิดขุ่น หากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะ ติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สีหรือรสเปลี่ยนไป               
ยาหยอดตา ถ้าเสื่อมจะเปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือหยอดแล้วมีอาการแสบตา มากกว่าปกติ                  

           

 

การสังเกตวันหมดอายุของเครื่องสำอาง

โดยปกติแล้วเครื่องสำอางถ้ายังไม่ได้เปิดใช้งานจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 30 เดือน หลังจากนั้นก็อาจมีการเปลี่ยนสภาพในเรื่องของเนื้อผลิตภัณฑ์ กลิ่น หรืออาจใช้ไม่ได้ผล เราจึงควรดูวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุทุกครั้งก่อนซื้อเครื่องสำอางและทางที่ดีควรมีการเขียนป้ายกำกับติดไว้เสมอหลังจากเปิดใช้แล้ว

เช่น ถ้าครีมนั้นมีอายุหลังเปิดใช้งาน 3 เดือน เมื่อเราเปิดใช้งานก็ควรนับไปอีก 3 เดือน เช่นถ้าเราเปิดใช้ครีมเดือนมกราคม วันสุดท้ายที่ควรหยิบใช้คือวันสุดท้ายของเดือนเมษายน เป็นต้น แล้วเขียนใส่กระดาษแปะสติ๊กเกอร์ติดไว้ 

 

วิธีการสังเกตุวันหมดอายุของเครื่องสำอางประเภท

                  การสังเกตสัญลักษณ์หมดอายุหลังจากเปิดใช้ คือการสังเกต ตัวเลขและตัวหนังสือ m (month) ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น

                                                                          

                                                          รูปข้างบนคือหลังจากเปิดใช้ จะสามารถใช้ได้เกิน 6 เดือนหลังจากเปิดใช้นั่นเอง

การทำให้เครื่องสำอางอยู่ได้นานขึ้นโดยไม่หมดอายุก่อนเวลาอันควร

  • เก็บเครื่องสำอางให้ห่างจากแสงแดดและความร้อน เพราะแสงแดดอาจทำให้สารเคมีบางตัวเสื่อมหรือมีประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไป เช่น ผลิตภัณฑ์จำพวกแอนติออกซิแดนซ์ เรตินอยด์ หรือจำพวกผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด สิ่งสำคัญควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะทึบแสงร่วมด้วย 
  • เขียนวันที่หมดอายุแปะไว้บนขวดครีมนั้นๆ ให้สังเกตง่ายอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
  • ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ที่ตักแทนนิ้วมือ เราหาซื้อได้ง่ายๆ ตามซุปเปอร์ทั่วไป หรืออาจใช้คัตตอนบัตในการตักครีมแล้วทิ้งไปเลยก็ได้ เพื่อที่จะได้ไม่มีแบคทีเรียลงไปเจริญเติบโตอยู่ในเครื่องสำอาง