การบริการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล (Fluoroscopy)

          เครื่องเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล (Fluoroscopy) คือ การตรวจอวัยวะต่างๆของร่างกายที่ต้องมีการใช้สารทึบรังสีร่วมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ การตรวจประเภทนี้มีความหลากหลายในวิธีการและขั้นตอนการตรวจ ซึ่งผู้ตรวจจะต้องเป็นรังสีแพทย์ที่มีความชำนาญ เพื่อการแปลผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ

การตรวจกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก (Upper GI & Long GI)
          เป็นการตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการกลืนสารทึบแสง (BariumSulphate) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนต้นถึงลำไส้เล็กส่วนต้น (UGI) และสำ ไส้เล็กส่วนปลาย (Long GI) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์

 

ก่อนตรวจ
  ๑. ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดที่ทางแผนกจัดไว้
  ๒. ให้ผู้ป่วยนั่งรอเรียกเข้ารับการตรวจ

 

เริ่มตรวจ
  ๑. รังสีแพทย์จะให้ผู้ป่วยดื่มสารทึบแสงประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ ซีซี.
  ๒. เจ้าหน้าที่รังสีจะพลิกลตัวผู้ป่วยไป - มาขณะทำ การตรวจเพื่อให้ได้ภาพทางรังสีตามที่ต้องการ ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือ
  ๓. เมื่อรังสีแพทย์บอกให้กลั้นใจ ให้ผู้ป่วยหยุดหายใจทันทีไม่ควรหายใจเผื่อ
  ๔. ในกรณีที่ผู้ป่วยตรวจกระเพาะอาหารจนถึงลำ ไส้เล็กส่วนปลาย ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบแสงเพิ่มอีก ๑ แก้ว

 

 

หลังการตรวจ
  ๑. เมื่อได้ภาพทางรังสีครบทุกส่วนแล้วแพทย์จะตรวจสอบคุณภาพฟิล์ม ว่าจะต้องถ่ายภาพส่วนใดเพิ่มหรือไม่จากนั้นจะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนเสื้อผ้ากลับได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจทั้งสิ้นตั้งแต่ ๓๐ นาทีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วย
  ๒. สารทึบรังสีที่ผู้ป่วยกลืนเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับถ่ายออกมาตามระบบทางเดินอาหาร ในระยะเวลา ๑ – ๒ วัน จะไม่ถูกดูดซึม หรือตกค้างอยู่ในร่างกาย

 

** ให้ผู้ป่วยมาตามวันที่แพทย์นัด หรือถ้าไม่มีการนัดหมายให้ผู้ป่วยมาฟังผลเอกซเรย์ได้ในอีก ๒ วัน ที่แผนกตรวจเดิม **
** ผู้ป่วยที่สงสัยการตั้งครรภ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือรังสีแพทย์ก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจ **

 

I.V.P (Intra-venous Pyelography)
          เป็นการตรวจดูความผิดปกติและการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำพร้อมกับการถ่ายภาพรังสีเป็นระยะๆจนเสร็จสิ้นการตรวจ

  ก่อนตรวจ
  ๑. ผู้ป่วยควรปัสสาวะทิ้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจ
  ๒. ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล / โรคภูมิแพ้ / หอบหืดให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจ

 

 

  เริ่มตรวจ
  ๑. เจ้าหน้าที่จะถ่ายเอกซเรย์ผู้ป่วยก่อน ๑ ภาพและรังสีแพทย์จะฉีดยาเข้าไปเพื่อดูการทำงานของไต
  ๒. ในระหว่างฉีดยาผู้ป่วยอาจจะมีอาการใจสั่นหัวใจเต้นเร็วกว่าปกตินํ้าลายจะมีรสขมอยากอาเจียนให้ผู้ป่วยหายใจเข้า – ออกทางปากลึกๆ .... ช้าๆ ... อาการดังกล่าวจะค่อยๆทุเลาลงในเวลา ๓ – ๕ นาที
  ๓. หลังจากฉีดยาเสร็จห้ามผู้ป่วยปัสสาวะจนกว่าเจ้าหน้าที่จะบอกให้ไปปัสสาวะเพราะจะทำให้ยาที่ฉีดเข้าไปนั้นถูกขับออกมากับปัสสาวะหมดและทำให้การตรวจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
  ๔. เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยเป็นระยะๆตามลำดับขั้นตอนการตรวจ
  ๕. หลังจากฉีดยาประมาณ ๓๐ นาทีเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าที่เตรียมไว้จนหมดแล้วรอจนผู้ป่วยปวดปัสสาวะ
  ๖. ถ้าผู้ป่วยปวดปัสสาวะมากให้แจ้งเจ้าหน้าที่

 

 

  หลังการตรวจ
  ๑. การตรวจจะเสร็จสิ้นเมื่อผู้ป่วยปัสสาวะออกจนหมดและได้ถ่ายภาพเอกซเรย์หลังจากปัสสาวะ ๑ รูประยะเวลาที่ใช้ในการตรวจทั้งสิ้นตั้งแต่ ๓๐ นาทีขึ้นไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วย
  ๒. สารทึบแสงทีฉีดเข้าไปในระหว่างตรวจจะไม่ตกค้างหรือถูกดูดซึมไว้ในร่างกายจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

 

**ผู้ป่วยมาตามวันที่แผนกตรวจเดิมนัดหรือถ้าไม่มีนัดให้ผู้ป่วยมาฟังผลอีก ๒ วันที่แผนกตรวจเดิม**
**ผู้ป่วยรายที่สงสัยการตั้งครรภ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนจะเริ่มทำการตรวจ**

Barium Enema
          เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพ และความผิดปกติของ สำ ไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบแสงเข้าทาง ทวารหนัก ประกอบกับ การถ่ายภาพรังสี

 

  ก่อนตรวจ
  ๑. ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้
  ๒. เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพเอกซเรย์ ๑ ภาพเพื่อดูว่ายังมีเศษอุจจาระตกค้างอยู่ในลำ ไส้ใหญ่ หรือไม่
  ๓. ในกรณีที่มีเศษอุจจาระตกค้างอยู่ในลำ ไส้ใหญ่ ซึ่งจะทำ ให้การตรวจไม่ได้ผลดีเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ป่วยปฏิบัติ ดังนี้
    ๓.๑ ต้องเลื่อนการตรวจออกไปโดยให้ผู้ป่วยทานยา ระบายใหม่อีกครั้ง
    ๓.๒ เจ้าหน้าที่จะจัดคิวนัดให้ผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด

 

 

  เริ่มตรวจ
  ๑. เจ้าหน้าที่จะสอบถามผู้ป่วยว่าสามารถ กลั้นอุจจาระได้หรือไม่ ถ้ากลั้นไม่ได้จะใช้หัวสวนชนิดเป่าลมเข้าไปในหัวสวนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สารทึบแสงไหลย้อนกลับออกมา
  ๒. เมื่อเริ่มการตรวจเจ้าหน้าที่จะเริ่มปล่อยสารทึบแสงเข้าไปในลำ ไส้ใหญ่ ขณะที่รังสีแพทย์จะเริ่มถ่ายภาพเอกซเรย์ส่วนที่ต้องการ
  ๓. ระหว่างตรวจผู้ป่วยอาจจะมีอาการแน่นท้องคล้าย ๆ ปวดอุจจาระให้กลั้นไว้ก่อน โดยผู้ป่วยควรหายใจเข้า – ออก ลึก ๆ ทางปาก อาการปวดท้องจะค่อย ๆ ทุเลาลง
  ๔. ในระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่จะพลิกตัวผู้ป่วยไป – มา เพื่อถ่ายภาพรังสี ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือ
  ๕. เมื่อได้ภาพเอกซเรย์ตามความต้องการจะอนุญาตให้ผู้ป่วยไปถ่ายอุจจาระหลังจากนั้นจะเอกซเรย์อีก ๑ รูป

 

 

 

  หลังการตรวจ
  ๑. สารทึบแสงที่สวนเข้าไปตรวจจะถูกขับถ่าย ออกมากับอุจจาระในระยะ ๑ – ๒ วัน สารทึบแสงจะไม่ตกค้างหรือถูกดูดซึมไว้ในร่างกาย ระยะทั้งสิ้น ๔๕ นาที - ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที
  ๒. ให้ผู้ป่วยมาตามวันที่แพทย์แผนกตรวจเดิมนัด หรือถ้าไม่มีการนัดให้ผู้ป่วยมาฟังผลเอกซเรย์ได้ในอีก ๒ วัน ที่แผนกตรวจเดิม

 

**ผู้ป่วยรายที่สงสัยการตั้งครรภ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนจะเริ่มทำการตรวจ**