ประวัติความสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตับ , ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี

ประวัติสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตับ , ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี
     ประวัติความเป็นมา ใน ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงปัญหาและนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศ องก์ความรู้และเทคโนโลยีการผ่าตัดมีความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วงานของศัลยศาสตร์ทั่วไปมีการแบ่งย่อยออกเป็นระบบต่างๆเพื่อมุ่งหวังสู่ความ เป็นเลิศเฉพาะด้าน ได้แก่ ระบบหลอดเลือด ระบบเต้านมและต่อมไร้ท่อ ระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และระบบตับ ตับอ่อนและทางเดินน้ำดี ในช่วงปี 2550-2551 ภาควิชาศัลยศาสตร์ได้จัดมีการสัมมนาภายในเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และปรับปรุงการทำงานของภาควิชาฯให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ปัญหาสำคัญที่แพทย์ประจำบ้านได้นำเสนอ คือภาระว่างานของหน่วยฯศัลยศาสตร์ทั่วไปได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก (หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านหนึ่งคนต้องรับผิดชอบผู้ป่วยในน้อยกว่า 40-60 ราย) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย และการฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้านเอง คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ จึงได้ปรับโครงสร้างของหน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป A&B ให้เป็นหน่วยต่างๆ โดยให้เริ่มดำเนินการในเดือน มิถุนายน 2552 สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี (Hepato-pancreato-biliary Surgery) ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายดังกล่าวข้างต้น โดยมีปรัชญาและปณิธาน มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย สาขาวิชาฯ ยังมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสาขาวิชาฯ ดังนี้ 1) ให้บริการรักษาโรคซับซ้อนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิผล ให้บริการการผ่าตัดชนิด open, minimally invasive surgery, Endoscopic และรวมถึง robotic surgery ในอนาคต 2) จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะฯ และหลักสูตรการฝึกอบรมราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยและ แพทยสภา 2555 3) เป็นสถาบันสมทบเพื่อเปิดฝึกอบรมศัลยศาสตร์ โรคตับ ตับอ่อนและทางเดินน้ำดี 4) พัฒนาองก์ความรู้โดยสร้างงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง