ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
 

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จาก พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2562 (Thailand Inventors’ Day 2019) ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อความก้าวไกลของประเทศ” โดยมี ศ.นพ.บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ Event Hall 102–104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนทำงานวิจัยด้านการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตให้กับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โดยเป็นผู้ริเริ่มทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากบุคคลอื่นที่มิใช่พี่ น้อง พ่อ แม่ ในกรณีที่ผู้ป่วย หรือพี่น้องที่มีเนื้อเยื่อตรงกันที่จะบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตได้ และการปลูกถ่ายโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพ่อหรือแม่ที่มีเนื้อเยื่อ (HLA) ไม่ตรงกันที่เรียกว่า haploidentical โดยสามารถปลูกถ่ายได้เกือบทุกอายุ จนถึงอายุ 30 ปี มีอัตราการหายขาดจากโรค และรอดชีวิตมากกว่าร้อยละ 95 ไม่ว่าจะทำการปลูกถ่ายโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพี่น้อง หรือจากบุคคลอื่นที่มีเนื้อเยื่อตรงกัน แม้กระทั่งใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพ่อหรือแม่ที่มีเนื้อเยื่อเหมือนกันครึ่งหนึ่งแบบ haploidentical ซึ่งความรู้จากการปลูกถ่าย haploidentical ในโรคธาลัสซีเมียนี้ สามารถนำไปรักษาโรคอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกฝ่อ และโรคพันธุกรรมอื่น ๆ ความรู้ที่ได้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้มากยิ่งขึ้น