Medical Simulation Room

Medical Simulation Room

Medical Simulation Room

Medical Simulation Room

นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว การเรียนภาคปฏิบัติน่าจะเป็นการเรียนรูปแบบหนึ่งที่ทุกคนเคยเจอใช่มั้ยคะ ในชั้นเรียนของนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีก็มีวิชาให้นำความรู้ทางการแพทย์มาปฏิบัติเสมือนจริง โดยอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในห้อง Medical Simulation Room ณ ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมและโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีนั่นเองค่ะ

คอลัมน์ Education Talk ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อุเทน ปานดี อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักสูตร RamathibodiPediatric Medical Simulation Program มาแนะนำห้องเรียนภาคปฏิบัตินี้ให้พวกเราได้ฟังกันค่ะ

อาจารย์อุเทนเล่าให้ฟังว่า Medical Simulation Room เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จุดเด่นของห้องเรียนนี้คือ การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่เจอไม่บ่อย แต่มีความเสี่ยงสูง (Low Frequency–  High Risk) เพราะหากเป็นสถานการณ์จริงต้องทำการช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยก่อน จึงทำการสอนไม่สะดวก แต่ห้องเรียนนี้ทำให้ผู้สอนสามารถสอนได้ในที่ปลอดภัยและนักศึกษาเรียนรู้ได้หลายกรณี (Save Environment) ซึ่งสามารถแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องได้ทันที (Real Time) โดยแบ่งหุ่นจำลองเป็น 4  ห้อง ได้แก่ หุ่นผู้ป่วยเด็กเล็ก หุ่นผู้ป่วยเด็กโต หุ่นผู้ป่วยผู้ใหญ่เพศชาย และหุ่นผู้ป่วยผู้ใหญ่เพศหญิง

Medical Simulation Room

ปัจจุบัน Medical Simulation Room ใช้สำหรับการฝึกปฏิบัติทั้งหมด 3 รายวิชา ได้แก่

1. การสอนแสดงทางในภาวะกุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน(Pediatric Emergency Medicine) สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

2. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในเด็ก (  Pediatric AdvancedLife    Support –  PALS) สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

3. Pediatric Advanced Life    Support-PALS and Neonatal Resuscitation: Medical Simulation Program for Nurse at Emergency Room สำหรับพยาบาลห้องฉุกเฉิน

ในส่วนของการสอนแสดงทางในภาวะกุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉินนั้น เมื่อนักศึกษาแพทย์ได้เข้ามาในห้องนี้แล้ว จะแบ่งหน้าที่ผลัดกันทำหน้าที่ต่าง ๆ  ทั้งในบทบาทของแพทย์ นักศึกษาแพทย์และพยาบาล โดยในชั้นเรียนของอาจารย์นายแพทย์อุเทนนั้น   นักศึกษาจะได้รับโจทย์อาการต่างๆ ทั้งหมด 3  อาการ ได้แก่ ภาวะหอบหืดกำเริบ ภาวะชักต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยและรักษาอาการของโรคเหล่านั้น ทั้งนี้หุ่นจำลองสามารถกำหนดให้หายใจได้มีสัญญาณชีพ สามารถวัดความดันเลือดได้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีอาการไอ หายใจผิดปกติหรือปากเขียวได้อีกด้วย

Medical Simulation Room

อาจารย์นายแพทย์อุเทนกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ข้อดีของMedical  Simulation  Room  นี้คือ ด้วยจำนวนผู้ป่วยให้ทำการศึกษานั้นมีน้อย เพราะในสถานการณ์จริงนักศึกษาอาจจะได้เจออาการของโรคได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น การใช้หุ่นจำลองจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสังเกตอาการของโรคได้เหมือนกัน นอกเหนือจากชั้นเรียนในระดับปริญญาตรีแล้ว ยังมีชั้นเรียนของแพทย์ประจำบ้านของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ เพื่อศึกษาอาการของผู้ป่วยเด็กในระดับที่ยากขึ้น และยังมีการจัดชั้นเรียนสำหรับพยาบาลจากห้องฉุกเฉินเพื่อสอนการฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดและเด็กโต โดยจัดรูปแบบการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน

สำหรับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีที่จะได้เรียนรู้ภาคปฏิบัติในMedical Simulation Room นี้  จะต้องศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 6  เสียก่อน เพราะจะต้องมีประสบการณ์ทางการแพทย์มาแล้วพอสมควรเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนก็จะต้องอยู่ในความดูแลของอาจารย์แพทย์ผู้สอนเพื่อจะได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม ถือได้ว่าเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างเสริมทักษะด้านการรักษาให้แก่นักศึกษาให้เป็นแพทย์ที่ดีในอนาคตต่อไป