เรื่อง “สิว..สิว..”

เรื่อง “สิว..สิว..”

เรื่อง “สิว..สิว..”

เรื่อง “สิว..สิว..”

เกริ่นชื่อเรื่องขึ้นมาแบบนี้ มาเอาใจวัยรุ่นกันหน่อย .. พอย่างเขาสู่วัยรุ่น สิ่งหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็คือ “สิว” ที่มาปรากฏกายบนใบหน้า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่อง “สิว..สิว” ก็ตามคอลัมน์ Beauty full ฉบับนี้ มีเรื่อง “สิว..สิว” ที่ไม่ค่อยสิวมาฝากกัน

เรามาทําความเข้าใจกันก่อนว่าสิวคืออะไร?

สิว คือ การอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งตามปกติแล้ว ไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามรูขุมขน หากมีการอุดตันของทางเดินก็จะทําให้เกิดสิวอุดตันขึ้น ซึ่งจะพบเป็นลักษณะตุ่มเม็ดเล็กๆ เป็นไตสีขาวๆ อยู่ข้างใน หากมีตัวกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น แบคทีเรีย ก็อาจจะทําให้เกิดการอักเสบได้ และหากสิวอักเสบมากขึ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นตุ่มหนอง เป็นสิวหัวช้าง และเป็นซีสต์ได้

เรื่อง “สิว..สิว..”

ชนิดของสิว

สิวมีหลายชนิด แต่สามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ 2 ชนิดตามลักษณะที่พบ ได้แก่ สิวอักเสบ และสิวที่ไม่อักเสบ

  1. สิวที่มีการอักเสบ เช่น สิวที่เป็นตุ่มแดง (สิวอักเสบ) สิวที่มีหนอง (สิวตุ่มหนอง) สิวอักเสบขนาดใหญ่ (สิวหัวช้าง) และสิวที่มีการทําลายของผิวข้างในจนเป็นโพรงคล้ายซีสต์
  2. สิวที่ไม่มีการอักเสบ เช่น สิวอุดตันหัวขาว (สิวอุดตันหัวปิด) สิวอุดตันหัวดํา (สิวอุดตันหัวเปิด)

การเกิดสิว

สิวมักเกิดบริเวณใบหน้า หน้าอก หลังช่วงบน ไหล่  ซึ่งเป็นบริเวณที่ต่อมไขมันทํางานมาก ต่อมไขมันเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนัง มีหน้าที่สร้างน้ำมันและไขมัน น้ำมันและไขมันที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะถูกขับออกทางท่อน้ำมัน ซึ่งมีรูเปิดเดียวกับรูขุมขน เมื่อมีการกระตุ้นต่อมไขมัน น้ำมันและไขมันจะถูกสร้างมากขึ้น หากระบายออกจากท่อไขมันไม่ทัน จะเกิดการสะสมและค้างในรูขุมขน น้ำมันและไขมันก็จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังบริเวณดังกล่าวสร้างสารเคราตินมากขึ้น สารเคราตินก็จะจับตัวแน่นกับน้ำมันและไขมัน เกิดเป็นสิวอุดตัน หรือที่เรียกว่า โคมิโดน ต่อมาการอุดตันนั้นทําให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนในรูขุมขน แบคทีเรียที่ทําให้เกิดสิว หรือ โพรพิโอนิแบคทีเรียม แอคเน่ จะเจริญเติบโตได้ดี  และทําให้เกิดการย่อยสลายไขมันและเป็นจุดเริ่มต้นของสิวอักเสบ

เรื่อง “สิว..สิว..”

เรื่อง “สิว..สิว..”

สาเหตุของการเกิดสิว

ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดสิวอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีผลต่อการเกิดสิว และยังมีปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อการเกิดสิว เช่น กรรมพันธุ์ อารมณ์ อาหาร อากาศ ยา โดยรวมแล้วสามารถแบ่งปัจจัยหลักได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. ปัจจัยภายในร่างกาย คือ ปัจจัยที่เกิดจากร่างกายเราเอง เช่น ระดับฮอร์โมน การตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมน กรรมพันธุ์ โรคเรื้อรัง และผิวพรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตั้งแต่กําเนิด
  2. ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากนอกร่างกายของเรา เช่น ยา ครีม และเครื่องสําอางบางชนิด สภาพแวดล้อม แสงแดดและอุณหภูมิ และอาหาร ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ สําหรับฮอร์โมนแล้ว ร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมไขมันได้ โดยส่วนมากแล้วฮอร์โมนจะเริ่มสร้างเมื่ออายุ 11-14 ปี จึงมักพบสิวได้มากในวัยนี้และอาจอยู่ได้นานหลายปี ส่วนอาหารโดยทั่วไปไม่มีผลต่อการเกิดสิว แต่มีผลจากงานวิจัยเบื้องต้นว่าอาหารที่หวาน และอาหารจําพวกแป้ง จะทําให้เกิดสิวได้ง่าย นอกจากนี้ปัจจัยด้านอากาศ ก็จะมีผลบ้างขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนเป็นสิวมากในฤดูหนาว บางคนเป็นสิวมากในหน้าร้อน

การใช้เครื่องสําอาง เช่น แป้ง ครีมบางชนิด เป็นปัจจัยที่สําคัญในการเกิดสิว เนื่องจากส่วนผสมในเครื่องสําาอางบางชนิดจะอุดตันรูขุมขนได้ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สามารถพบสิวได้ในคนที่เลยช่วงวัยรุ่นไปแล้ว การระคายผิวบนใบหน้า เช่น การล้างหน้าที่มีการถูมาก หรือการบีบสิว รวมทั้งการใช้ยาบางชนิดก็ทําให้เกิดสิวเพิ่มขึ้นได้ เช่น ยาคุมกําเนิด ยาเสตียรอยด์

ผู้เขียน : อ.นพ.วาสนภ วชิรมน แผนกผิวหนังและเลเซอร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 8 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th