หมอฟันแนะหมั่นดูแลสุขภาพฟัน

หมอฟันแนะหมั่นดูแลสุขภาพฟัน

หมอฟันแนะหมั่นดูแลสุขภาพฟัน

“ฟัน”จะว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความแข็งแรงก็ใช่ จะว่าเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ที่มีความคงทนก็เชิง แต่ต่อให้แข็งแรงคงทนอย่างไร ก็ย่อมมีวันสึกหรอได้ครับเพราะ “ฟัน” คืออวัยวะที่เป็นอุปกรณ์สําาคัญในชีวิตประจําวัน ที่เกี่ยวข้องทั้งการรับประทานอาหาร และการเสริมสร้างความมั่นใจ ผมจึงมีข้อมูลคําาแนะนําดีดีมาฝากกันครับ

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันทันตสาธารณสุขและวันพยาบาลแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงได้จัดงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพโดยมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับดูแลตนเองอย่างง่ายมากมายหลายงาน หนึ่งในงานที่มีผู้ให้ความสนใจกันมากนั่นคือ งานบรรยายเรื่องรักษ์ฟัน ณ  หอประชุมอารี วัลยะเสวี ได้มีการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฟันที่ทุกคนควรต้องรู้จักดูแลกัน

ทพญ.นันทพร โรจนสกุล งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในงานไว้ว่า การดูแลฟันถือเป็นสิ่งสําคัญมาก เพราะเราต้องใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารอยู่ตลอดทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลฟันตั้งแต่วัยเด็ก เป็นเรื่องที่ควรให้ความสําคัญมาก เนื่องจากฟันมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วงวัยเด็ก แรกเกิดถึง 2  ขวบ ตั้งแต่ฟันน้ำนมไปจนถึงการขึ้นของฟันแท้ เราดูแลช่วงนี้  ทั้งการเตรียมช่องปาก การเรียงตัวของฟัน การทําความสะอาดฟันให้ดี ซึ่งจะมีผลดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากในอนาคต จึงควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลช่องปากเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจและดูแลอย่างสม่ำเสมออย่างที่บอกไว้ เพราะทุกคนต้องรับประทานอาหาร และทุกวันก็จะมีคราบหลงเหลืออยู่ภายในช่องปาก การแปรงฟันจึงเป็นการนําคราบต่างๆ ออกไป ซึ่งจะช่วยลดโรคฟันผุและโรคเหงือกได้ สําาหรับคนที่กลัวการหาหมอฟันก็อยากจะบอกว่า ไม่ต้องกลัว หากกลัวแล้วไม่มาพบหมอฟัน ก็จะยิ่งลุกลามเห็นผลมากขึ้น ใครที่กลัวเจ็บจากการถอนฟัน หรือไม่มาทําการอุดฟันตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะยิ่งทําให้การทําฟันเจ็บมากขึ้นได้

นอกจากนี้ ทพญ.นุชนาถ  โอปิลันธน์  งานทันตกรรม  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้กล่าวถึงการดูแลฟันชุดที่ 3  หรือฟันเทียมไว้ว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า คนเรามีฟัน 2  ชุด  คือ  ฟันน้ำนม และฟันแท้ แต่จะทําอย่างไรเมื่อสูญเสียฟันแท้ไป ฟันเทียมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันตามธรรมชาติไป

หมอฟันแนะหมั่นดูแลสุขภาพฟัน

ฟันเทียมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) ฟันเทียมชนิดถอดเข้าออกได้ ซึ่งจะใช้งานได้ลําบากกว่า เคี้ยวอาหารแล้วอาจจะไปโดนเหงือกเจ็บได้มากกว่าแต่มีวิธีการทําที่ง่ายกว่า ขั้นตอนการทําาและราคาจะถูกกว่า

2) ฟันเทียมชนิดติดแน่น ไม่สามารถถอดออกได้ จะมีขั้นตอนในการทํายุ่งยากกว่า อาจมีการสูญเสียเนื้อฟันไปบ้างในบางครั้ง แต่เมื่อทําเสร็จแล้ว การเคี้ยวจะได้ประสิทธิภาพมากกว่า

ฟันเทียมจะทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อการดําาเนินชีวิตประจําวัน ทั้งในเรื่องการรับประทานอาหารการพูดที่ชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น แต่ก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลรักษาที่ดีด้วยเช่นกัน

การดูแลฟันเทียมที่ถูกวิธี จะช่วยให้ฟันเทียมอยู่ภายในช่องปากของเราไปได้นาน ซึ่งหลักในการดูแลฟันเทียมมีอยู่ด้วยกัน 4  ข้อ คือ 1. ใช้งานให้ถูกต้อง 2. การทําความสะอาด 3. อาหาร แนะนําว่าเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของหวาน ขนมขบเคี้ยว อาหารเหนียวแข็ง 4. การพบทันตแพทย์เป็นประจํา เพื่อที่จะดูแลฟันชุดใหม่ให้สามารถใช้งานได้นานและดียิ่งขึ้น

ฟันเทียมทําให้ผู้ที่สูญเสียฟันแท้มีฟันที่สวยงาม และใช้งานฟันได้ใกล้เคียงกับฟันแท้ และเพื่อให้ฟันชุดใหม่ของเรานี้อยู่กับเรายาวนาน ก็ควรปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของแพทย์อย่างถูกวิธี

ผู้เขียน : ดนัย อังควัฒนวิทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 17 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th