ยาพ่นจมูก (Nasal spray)

ยาพ่นจมูก (Nasal spray)

ยาพ่นจมูก (Nasal spray)

ยาพ่นจมูก (Nasal spray) สำหรับรักษาอาการภูมิแพ้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาละลายหรือแขวนลอยอยู่ในกระสายยาบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเครื่องพ่นยา (Sprayer) เป็นหัวฉีดสำหรับพ่นเข้าโพรงจมูก พร้อมที่กด เพื่อบริหารยาให้อยู่ในรูปละอองฝอยที่มีขนาดยาแน่นอนต่อครั้งที่พ่นยา

ยาพ่นจมูก สามารถแบ่งการรักษาตามกลุ่มยา ดังนี้

  1. ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น บูดีโซนายด์ (Budesonide) ฟลูติคาโซน (Fluticasone) โมเมทาโซน (Mometasone) ใช้รักษาอาการคันจมูกจามน้ำมูกไหลคัดแน่นจมูกเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดตลอดปีริดสีดวงจมูกและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของริดสีดวงจมูกภายหลังการผ่าตัดไม่ควรใช้ยาพ่นชนิดนี้ติดต่อกันเกิน 7วัน เพราะอาจทำให้เกิดเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากยาและบวมมากขึ้น อาการคัดจมูกแย่ลง และควรระวังการใช้ยานี้ใน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงต้อหินมุมปิดโรคหัวใจโรคจิตต่อมลูกหมากโตต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือไซนัสอักเสบร่วมด้วย
  2.  ยาพ่นจมูกที่ออกฤทธิ์หดหลอดเลือดของเยื่อบุโพรงจมูกเช่น เอฟีดรีน (Ephedrine)ออกซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline) ไซโลเมตาโซลีน (Xylometazoline) ใช้บรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูกในโรคหวัด โพรงจมูกอักเสบ และหยุดเลือดกำเดาที่ออกทางจมูก แพทย์จะปรับขนาดยาชนิดนี้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะลดขนาดยาและความถี่ในการใช้ยานี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อควบคุมอาการเท่านั้น
มารู้จักวิธีการใช้ยาพ่นจมูกกัน
ยาพ่นจมูก (Nasal spray) ยาพ่นจมูก (Nasal spray) ยาพ่นจมูก (Nasal spray)
ถ้ามีน้ำมูกมาก ควรสั่งน้ำมูกออกก่อน หรือ
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และล้างมือให้สะอาด
เปิดฝาขวดอุปกรณ์จับขวดยาโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง
อยู่ที่ไหล่ของขวดเขย่าขวดยาก่อนใช้ทุกครั้ง(กรณีใช้
ยาขวดใหม่ให้ทดลองกดพ่นยาจนได้ละอองฝอยก่อน)
นั่งตัวตรง เอนศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย
ตั้งศีรษะตรง หรือก้มศีรษะ(ขึ้นอยู่กับชนิด
ของยา) ปิดปากให้สนิท
ยาพ่นจมูก (Nasal spray) ยาพ่นจมูก (Nasal spray) ยาพ่นจมูก (Nasal spray)
สอดปลายหัวพ่นยาเข้ารูจมูกข้างใดข้างหนึ่งให้
ปลายหัวพ่นชี้ไปทางหางตาข้างเดียวกับจมูก
ใช้นิ้วมืออีกข้างปิดรูจมูกที่เหลือ
สูดหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับกดที่พ่นยาเข้าจมูกกลั้น
หายใจ 2-3 วินาทีแล้วพ่นยาในรูจมูกอีกข้างด้วยวิธี
เดียวกัน (ถ้าต้องพ่นยาทั้งสองข้างจมูก) ในกรณีพ่น
ยาข้างละ 2 ครั้ง ควรพ่นข้างละ 1 ครั้ง ให้ครบทั้ง
สองข้างก่อน แล้วจึงเริ่มพ่นครั้งถัดไป
เช็ดทำความสะอาดปลายหัวพ่นยาด้วย
กระดาษสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย และ
ล้างมือให้สะอาด

 

ผู้เขียน : ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์ งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 30 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th