คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

ขึ้นชื่อว่า.. การกําเนิด.. หลายคนก็คงนึกถึงภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่คลอดลูก การวางแผนครอบครัวเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะมีบุตร แล้วเมื่อมีการตั้งครรภ์ด้วยความรักจากพ่อแม่เกิดขึ้นแล้ว กระบวนการถัดไปของการดูแลลูกในครรภ์ก็คือ การฝากครรภ์และดูแลครรภ์ในช่วง 9 เดือนของคุณแม่ จนเมื่อถึงเวลาของ..การกําเนิด..คุณแม่ก็จะตัดสินใจที่จะคลอดในแบบวิธีต่างๆ ทั้งคลอดเองตามธรรมชาติ คลอดในน้ำ และผ่าตัดคลอด

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

อุแว้.... อุแว้.... เมื่อถึงเวลาคลอดแล้ว จะมีการเลือกวิธีคลอดอย่างไรดี แล้วการคลอดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร  รวมไปถึงคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น..ดีอย่างไรบ้าง คอลัมน์ Rama Today  ฉบับนี้  มีคําตอบจาก รศ. นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากกัน

เลือกคลอดแบบใดอย่างไรดี

การคลอดในปัจจุบันที่ทราบกันจะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การคลอดเองตามธรรมชาติ และการผ่าตัดคลอด ซึ่งการคลอดแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คุณแม่มีสิทธิที่จะเลือกว่าจะคลอดแบบใด ซึ่งแพทย์มักจะให้คําแนะนําโดยคํานึงถึงพื้นฐานของความปลอดภัย ฉะนั้น หน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เองหรือพยาบาลที่จะดูคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ก็มักจะให้คําแนะนําที่เหมาะสมสําหรับการเลือกวิธีคลอด เมื่อคุณแม่เริ่มมาฝากครรภ์ แพทย์จะทําการตรวจครรภ์และซักประวัติเพื่อตรวจหาโรคประจําตัว รวมไปถึงการวินิจฉัยว่ามีภาวะความจําเป็นที่จะต้องทําการผ่าตัดคลอดหรือไม่ เช่น วางแผนไว้ว่าจะคลอดเอง แต่พบปัญหาว่าปากมดลูกไม่เปิดหรือเด็กตัวโตเกินไป ก็จําเป็นจะต้องทําการผ่าตัดคลอด เป็นต้น

ความแตกต่างของการคลอดธรรมชาติกับการผ่าตัดคลอด

ความแตกต่างของการคลอดธรรมชาติกับการผ่าคลอดนั้นไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพราะสิ่งสําคัญที่สุดคือต้องการให้คุณแม่และลูกคลอดได้อย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งวิธีการคลอดธรรมชาติเป็นวีธีที่คุณแม่ส่วนใหญ่เลือกมากที่สุดและเป็นวิธีที่เจ็บตัวน้อยที่สุด เพราะไม่มีแผล พื้นตัวเร็ว ส่วนการผ่าตัดคลอดนั้น คุณแม่อาจไม่เจ็บเพราะต้องทําการวางยาสลบ  เมื่อตื่นมาก็จะได้เห็นหน้าลูกเลย แน่นอนว่าการผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องก็จะมีแผลผ่าตัดยาวหน่อย และมีการพื้นตัวช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ ทั้งยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น การผ่าตัดอาจไปโดนอวัยวะข้างเคียง หรือแม้แต่ตัวเด็กเองอาจได้รับบาดเจ็บเช่นเดียวกันจากการลงมีดผ่าตัดได้ แน่นอนเป็นหน้าที่หลักของแพทย์ที่ต้องให้ความรู้แก่คุณแม่ก่อนว่า คลอดแต่ละแบบมีผลอย่างไร

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

ความพร้อมในการดูแลของทีมแพทย์ เมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์

ต้องบอกว่าโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับชั้นนําของประเทศ ฉะนั้นก็จะมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ครบครัน ทั้งการดูแล คุณแม่ที่มาฝากครรภ์หรือทารกที่คลอดแล้ว อีกทั้งโรงพยาบาลรามาธิบดียังสามารถให้การดูแลทารกที่มีน้ำหนักน้อยค่อนข้างดีและมีชื่อเสียงในระดับประเทศ นอกจากนี้ หากกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย ก็ยังมีทีมระดับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมให้การดูแลรักษาอย่างเป็นระบบอีกด้วย ฉะนั้น คุณแม่ที่มาฝากครรภ์และมาคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี

การเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายและการเตรียมตัวก่อนคลอด

เนื่องด้วยโรงพยาบาลรามาธิบดีมีอัตราการทําคลอด 2 แบบ ทั้งแบบคลอดเองตามธรรมชาติและผ่าตัดคลอด ซึ่งสามารถขอคําปรึกษาจากอาจารย์แพทย์ได้ โดยห้องคลอดของที่โรงพยาบาลรามาธิบดีขณะนี้มีมาตรฐานคุณภาพและมีการดูแลคุณแม่ที่มาฝากครรภ์อย่างใกล้ชิด

ส่วนการเตรียมตัวก่อนคลอดนั้น หากเป็นคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่นี่ก็จะมีการจัดคอร์สอบรมการเตรียมตัวในทุก 3 เดือน ตั้งแต่ตั้งครรภ์อ่อนๆ จนถึงใกล้คลอด และจะมีการให้คําแนะนําสําหรับคุณแม่ที่ใกล้คลอดว่ามีอาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าให้มาโรงพยาบาล  ต้องบอกว่าท้องแรกอาจใช้เวลานานในการเรียนรู้ แต่เมื่อท้องที่ 2 แล้ว จะใช้เวลาในการเรียนรู้เร็วมากขึ้น

ข้อมูลสําหรับผู้ที่สนใจคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

ห้องคลอด

ห้องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดี มีเป้าหมายให้บริการรักษาพยาบาลสตรี ตั้งครรภ์ การทําคลอด และดูแลทารกแรกเกิดทั้งที่ปกติและมีภาวะแทรกซ้อนในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเน้นให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ด้วยมาตรฐานและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความชํานาญในการดูแลผู้ที่มาทําคลอด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและความปลอดภัยสูงสุด

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?
คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

ปัจจุบัน  ห้องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ปรับปรุงพื้นที่ใหม่ให้ทันสมัย ดูโอ่โถงสวยงาม มีความเป็นส่วนตัวและให้บรรยากาศที่อบอุ่น สําหรับผู้ที่มคลอดจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ห้องตรวจคัดกรองซึ่งเป็นห้องที่เน้นอํานวยความสะดวก  และมีคุณภาพสูงในการตรวจคัดกรองผู้คลอดและทารกในครรภ์ มีห้องรอคลอดจํานวน 7 ห้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นห้องเดี่ยว แต่ละห้องจะเตรียมเตียงคลอด 1 เตียงสําหรับรอคลอด การคลอด และพักหลังคลอด จนกระทั่งย้ายออก เน้นความเป็นส่วนตัว ความสุขสบาย ความสะอาดและความปลอดภัยของผู้คลอดและทารกแรกเกิด

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูงในการติดตามสัญญาณชีพของทั้งมารดาและทารกตลอดระยะคลอด บรรยากาศสงบเงียบ สามารถปรับความสว่างและอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมกับผู้คลอดแต่ละรายโดยเฉพาะผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนทารกแรกเกิดจะได้รับการดูแลและสังเกตอาการในห้องทารกแรกเกิด ซึ่งเน้นความสะอาดมิดชิด ความอบอุ่น และความปลอดภัย ญาติสามารถเยี่ยมทารกโดยมองผ่านกระจกและติดต่อพยาบาลทางเครื่องติดต่อภายใน ที่สําคัญทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 6 ชั่วโมงแรกเกิดจากพยาบาลวิชาชีพพร้อมเทคโนโลยีให้ความอบอุ่นและช่วยชีวิตที่มีคุณภาพสูง

ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการ Rama Kid D Live ทางสถานี Rama Channel True visions 24

เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา

สําหรับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ใหม่ๆ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามีสารหรือยาบางชนิดไปกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทําให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณของสารที่ได้รับ การรับประทานยาก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะสมหรือไม่รู้เท่าทัน ก็จะเกิดอันตรายแก่ลูกในครรภ์ได้ เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกัน

คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร?

1) ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ ยาเตตราซัยคลิน มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์ / ยาซัลฟา อาจทําให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง / ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสําาหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น / ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักใช้ไม่ถูกวิธี จึงทําให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทําให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา มีอาการตกขาวและคันช่องคลอดมากได้

2) ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทําางานของเกล็ดเลือดสําหรับทารกในครรภ์ ทําให้เลือดไหลไม่หยุดได้ / ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้ตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์ / คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทําให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อนกําหนดได้

3) ยาแก้คัน แก้แพ้ ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทําให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ

4) ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูกที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้

5) ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดรับประทานอาจจะทําให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำได้

6) ยากันชัก  อาจทําให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปก

7) ยาแก้ไอ  ไม่แนะนําให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทําให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้

8) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจจะทําให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

9) ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

การใช้ยาเป็นเรื่องที่สําคัญมาก สําหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด ถ้าจําเป็นจริงๆ ให้ไปพบแพทย์ ย้ำว่า “ใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์”

ผู้เขียน : กิติยา สุวรรณสิทธิ์, ดนัย อังควัฒนวิทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 13 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th