บทสัมภาษณ์พิเศษ ผู้ช่วยอาจารย์ เทวิกา โชคประสานชัย เรื่อง Virtual Reality 360° กับรูปแบบการเรียนการสอนทางการพยาบาล สู่ “เมตาเนิร์ส” (Meta Nurse)

 

บทสัมภาษณ์พิเศษ ผู้ช่วยอาจารย์ เทวิกา โชคประสานชัย ผู้ช่วยอาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่อง Virtual Reality 360° กับรูปแบบการเรียนการสอนทางการพยาบาล สู่ “เมตาเนิร์ส” (Meta Nurse)

ปัจจุบันการเรียนการสอนด้านการพยาบาลต้องอาศัยการฝึกฝนในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่น เวลาในการฝึกปฏิบัติ จำนวนหุ่น  อุปกรณ์การฝึกไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาพยาบาล เมื่อนักศึกษาต้องไปทำหัตถการที่หอผู้ป่วยจริงจะเกิดความตื่นเต้น และไม่มั่นใจในการทำหัตถการนั้น ๆ ทางทีมอาจารย์จึงพัฒนาวิธีการสอนหรือสื่อการสอนที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงสถานการณ์จริงได้มากขึ้น โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง

ดังนั้น การนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR 360°) ซึ่งเป็นการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงผ่านแว่น Virtual Reality (VR 360°) หรือ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือในรูปแบบ 3D 360° มาใช้ในการเรียนการสอนจะทำให้นักศึกษาพยาบาลสามารถเรียนรู้ และตอบสนองกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในคลินิกนั้นได้ รวมถึงสามารถเห็นกระบวนการทบทวนขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยให้เกิดทักษะความชำนาญทางการพยาบาล รวมถึงนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยจริง โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางได้อย่างเหมาะสมต่อไป สอดคล้องกับนโยบายของทางโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ในการพัฒนาพยาบาลให้เป็น “เมตาเนิร์ส”

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีได้มุ่งเน้นในการจัดการเรียนการสอน โดยนำ Virtual Reality (VR 360°) มาใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชาที่มีความจำเป็นต้องฝึกทักษะให้มีความชำนาญ ก่อนดูแลผู้ป่วยจริงบนคลินิค ตัวอย่างเช่น การดูแลสตรีตั้งครรภ์ระยะคลอด เช่น การทำคลอดทารกและรก เพื่อให้กระบวนการคลอดนั้นผ่านไปด้วยดี ตามแนวคิดที่ว่า "ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย" ทางทีมจึงได้จัดทำ คลิปวิดีโอ ที่ใช้สำหรับแว่น Virtual Reality (VR 360°)

การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ จึงถือว่าเป็นจุดแข็งในการพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้เป็น “เมตาเนิร์ส” (Meta Nurse) สำหรับการผลิตสื่อการสอนโดยใช้ VR โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยและมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตสื่อลักษณะนี้ ทั้งจากทางโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่คอยให้คำปรึกษาร่วมด้วย โดยทางทีมอาจารย์ผู้จัดทำ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายลม เกิดประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สตรีรัตน์ ธาดากานต์ และผู้ช่วยอาจารย์เทวิกา โชคประสานชัย ผู้ช่วยอาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ส่วนปัญหาที่พบจะเป็นส่วนของขั้นตอนการผลิตสื่อที่ทางทีมอาจจะยังเข้าใจในระบบการทำ VR ที่ชัดเจน รวมถึงระยะเวลาที่ผลิตสื่อออกมาให้เป็นรูปแบบที่ใช้งานจริงจะใช้เวลานาน แต่ผลที่ได้มีความคุ้มค่ามาก

“เมตาเนิร์ส”

#Exclusive #NurseVR #MetaNurse

#พยาบาลรามาธิบดี #พยาบาลแห่งอนาคต