รากเหง้าของความเสี่ยง

 

รากเหง้าของความเสี่ยง

 

โดย สุรเดช จองวรรณศิริ , สถาบันวิทยาการจัดการ ทริส คอร์ปอเรชั่น , เมษายน 2558

 

" In this word nothing can be said to be certain , except death and taxes "

 

           อมตะวาจาในปี 1789 ของเบนจามิน แฟรงคิน (Benjamin  Franklin) เป้นหนึ่งในแกนนำผู้สร้างชาติ (Founding Fathers) ของ

ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นทั้งนักเขียน นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป และนักการทูตคนสำคัญ

ของ สสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวยังถูกอ้างอิงถึงในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงว่าสิ่งต่างๆในโลกล้วนมีแต่ความไม่แน่นอน (Uncertainty)

ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายให้กับการดำเนินการต่างๆที่วางแผนหรือคาดหวังไว้

 

          จึงเห็นได้ว่าความเสี่ยงที่เราพยายามจัดการมันนั้น เริ่มต้นจากการรับรู้ (Perception) ถึงสภาวะที่มีความไม่แน่นอนในอนาคตนั่นเอง ซึ่งการรับรู้ดังกล่าวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแต่ละหน่วยงาน หรือแต่ละองค์กรที่จะมีความแตกต่างกันไป

          ในปี 1952 แฮรรี่ มาโควิช (Harry Markiwitz) ได้นำเสนอ Moderm Portfolio Theory (MPT) ซึ่ง เป็นการบุกเบิกในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยง ในลักษณะการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนหรือ Diversification

          อย่างไรก็ตามการบริหารความเสี่ยงตามแนวทางดังกล่าวเป็นการจัดการความเสี่ยง ในส่วนที่เรียกว่า ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(Unsystematic Risks)  เช่นความเสี่ยงจากปัจจัยและการบริหารจัดการจากภายในเท่านั้น และยอมรับว่ามีความเสี่ยงเชิงระบบ (Systematic Risks)อยู่ โดยความเสี่ยงเชิงระบบอาจเป็นความสเี่ยงที่เราไม่สามารถบริหารจัดการได้เองหรือเป็นปัจจัยจากสภาพแวดล้อมนั่นเอง เพราะฉะนั้นในการให้ความหมายของการบริหารความเสี่ยงตาม COSO นั้น จึงนิยามว่า " A process, effected by an antity's board of directors, management and other personnel, applied in stregy and across the enterprise,designed to identify potential events that may affect the entity, and manage risks to be within its risk appetite, to provide resonable assurance regrading the achievement of entity objectives"

หรือแปลแบบสั้นได้ว่า การบริหารความเสี่ยง หมายถึง การกำหนดนโยบาย โครงสร้าง และกระบวน การเพื่อบ่งชี้เหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง และกำหนดวิธีการจัดการที่เหมาะสม โดยให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คือ เราจะไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้นไปได้ แต่จะจัดการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม(ตามกรอบความคิดของเราหรือขององค์กรนั่นเอง)

 

          เมื่อกลับมาพิจารณาเรื่องของความไม่แน่นอน ในการบริหารความเสี่ยงเรามักใช้คำว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ หรือ Liklihood เราเข้าไปดูรายงานความเสี่ยงระดับโลกที่เป็นการสำรวจข้อมูลจากผู้นำ ผู้บริหารชั้นนำใน Word Economic Forum ที่เรียกว่า Global Risks Survey 2015 จะพบว่ามีการจัดอันดับปัจจัยเสี่ยงสูงสุดในด้านโอกาส ที่จะเกิดขึ้นได้ 3 อันดับแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (Interstate conflict) สภาพภูมิอากาศที่รุนแรง (Extreme weather events) และความล้มเหลวของธรรมาภิบาลของภาครัฐ (failure of the national govennance) ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันก้จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับผลการสำรวจดังกล่าวที่ได้จัดทำขึ้นในปี 2014 และเผยแพร่ช่วงต้นปี 2015

          ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดของรายงานสามารถใช้ประโยชน์ต่อการวางแผนกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงในส่วนของสภาพแวดล้อมภายนอก (Macro Enviroment) ได้เป็นอย่างดี

           สำหรับในมุมมองของเราเองนั้น ได้มีการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสัมมนาของสถาบันวิทยาการจัดการ ที่ดำเนินการในเดือนมีนาคม 2558 ที่ผ่านมา สามารถประมวลผลข้อมูล   ความเสี่ยงที่เห็นว่ามีความเสี่ยงสูงสามารถสร้างผลกระทบทางลบต่อองค์กรไทยในปัจจุบัน ใน 3 ประเภทความเสี่ยง คือ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหาภาค (Macro Economic Risks) ได้แก่ ความ    ไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจ สำหรับความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks)       ได้แก่ ความพร้อมในการจัดการกับวิกฤติที่ไม่คาดคิด กฏระเบียบและการตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบ สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม  ความคาดหวังของลูกค้า และผลจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมออนไลน์และอินเตอร์เน็ต และสำหรับความเสี่ยงในด้านกรดำเนินงาน (Operational Risks)   หรือความเสี่ยงภายในองค์กร ได้แก่ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนการวางกลยุทธ์ การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ขององค์กร และความสามารถในการรักษาพนักงานที่มีความสามารถสูงไว้ได้ทั้งหมดนี้ ทุกท่านสามารถนำมาเป็นประเด็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงสำหรับองค์กรของท่านต่อไปได้

 

ดาวน์โหลดบทความที่นี่