สมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ ประจำปีการฝึกอบรม 2567

 รายละเอียดการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปีการฝึกอบรม 2567
 

1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัคร
                     1.1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยจะต้องผ่านการทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะอย่างน้อย  1 ปี ก่อนจะเข้าฝึกอบรม (ช่วงที่เปิดรับสมัคร อาจยังทำงานไม่ครบ 1 ปีได้)
                1.2 หากผู้สมัครมีความพิการ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นจิตแพทย์ เช่น ความพิการที่รุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและการดูแลผู้ป่วย

                *สำหรับปีการฝึกอบรม 2567 รับแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ได้จำนวน 7 คน
 

2. ขั้นตอนการสมัคร
สมัครผ่านทางระบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 4-31 ตุลาคม 2566 โดยจะต้องสมัครให้ครบทั้ง 2 ขั้นตอน ดังนี้
                2.1 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย:
https://www.rcpsycht.org/th/training/recruitment
                2.2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี: http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/

 

3. เอกสารประกอบการสมัคร 
ตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 กำหนดไว้ สำหรับเอกสารข้อ 2.1 ให้ยื่นโดยตรง หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยัง 2 แห่ง ดังนี้

                3.1 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 1 ชุด
                3.2 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ชุด (เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 3.1) 

 และจะต้องส่ง เอกสารต่อไปนี้มาที่ภาควิชาฯด้วย ได้แก่

                1. ผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
                2. ผลสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.)
                3. ผลสอบภาษาอังกฤษ: สามารถใช้ผลสอบของปี พ.ศ. 2562 – ปีปัจจุบัน โดยใช้ผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
                     - MU GRAD Plus (Computer Based)
                     - IELTS
                     - TOEFL iBT
                4. บทความ 1 เรื่อง โดย ให้ท่านค้นคว้าความหมายของ “psychological mindedness” และอธิบายว่าคุณสมบัตินี้มีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งให้วิเคราะห์คุณสมบัตินี้ในตัวท่าน พร้อมยกตัวอย่าง (ใช้ font Cordia New ขนาด 14, ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษขนาด A4)

                                หากเอกสารไม่ครบถ้วน จะไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์

4. แนวทางการรับแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์

หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ ก่อนวันกำหนดสอบสัมภาษณ์ โดยประกอบด้วย
                -  หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์  เป็นประธาน
                -  ประธานหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์  เป็นเลขานุการ
                -  กรรมการหลักสูตรฯ
                - อาจารย์ในภาควิชาที่ได้รับการเสนอจากที่ประชุมภาควิชาฯ

 

5. เกณฑ์พิจารณา

คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
              1. ผลการศึกษาตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
              2. ผลสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.)
              3. ผลสอบภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
                   - MU GRAD Plus (Computer Based)
                   - IELTS
                   - TOEFL iBT
              4. บทความเรื่อง psychological mindedness
              5. ต้นสังกัด
              6.
คะแนนจากการสัมภาษณ์โดยพิจารณาถึง บุคลิกภาพ (ประเมินจากการสื่อสารและการควบคุมอารมณ์) และทัศนคติ (ประเมินจาก ความชัดเจนในความต้องการที่จะเป็นจิตแพทย์ ความชอบ/ความสนใจในเรื่องจิตใจ แรงจูงใจในการมาฝึกอบรม และทัศนคติต่อวิชาชีพจิตแพทย์)

                * พิจารณารับทั้งผู้สมัครที่มีและไม่มีต้นสังกัด

                การพิจารณารับสมัครแพทย์ประจำบ้านแต่ละรายจะเป็นไปตามมติของที่ประชุม หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้ประชุมและร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาด้วยความโปร่งใส  เสมอภาค ปราศจากอคติ ในเรื่องเชื้อชาติ, เพศ, ศาสนา, การเมือง หรืออำนาจโดยมิชอบใดๆ

6. การประกาศผล

                เมื่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการโทรศัพท์ไปแจ้งผลแก่ผู้สมัครโดยตรง

7. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกและการรับรองคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก

7.1 ก่อนเข้ารับการฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้านทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราเหมาจ่าย
ไม่เกินปีการศึกษาละ 9,200 บาท (จัดเก็บจำนวน 3 ปี) และจะต้องสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตรฯ (สามารถสอบหลังเข้ารับการฝึกอบรมได้)

 

ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดลเรื่องค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก 

 

เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ดูรายละเอียดได้จากประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ตามลิ้งค์  https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency

*โดยไม่ได้ใช้ entrance requirement ใช้เฉพาะ graduation requirement (ต้องผ่านเกณฑ์จึงจะได้ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง โดยสามารถสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษภายหลังจากเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านแล้วได้)

7.2 ผู้สมัครที่ประสงค์ให้มีการรับรองคุณวุฒิ "เทียบเท่าปริญญาเอก" เมื่อสำเร็จการฝึกอบรม มีรายละเอียดดังนี้ 

8. การอุทธรณ์

                หากผู้สมัครต้องการอุทธรณ์ผลการคัดเลือก สามารถทำได้โดยการยื่นคำร้อง หลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการภายใน 15 วัน โดยติดต่อขออุทธรณ์ผลได้ที่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
 

9. ช่องทางติดต่อ
 

-  คุณประไพ อยู่ไสว  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (อาคาร 3 ชั้น 7) 

    270 ถนนพระราม 6  แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี  กทม. 10400  โทร 02-2011478 ต่อ 210

-  เจ้าหน้าที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญา  หน่วยการศึกษาหลังปริญญา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
    270 ถนนพระราม 6  แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี  กทม. 10400  โทร 02-2011804-6

-  คุณจันทนา สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
   กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15 ถนนราชวิถี  เขตราชเทวี กทม. 10400
   โทร  02-640-4488
 

*หมายเหตุ ก่อนเข้าฝึกอบรม ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องฉีดวัคซีนให้ครบตามประกาศของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจภูมิด้วยตนเอง

*** กรุณาทำแบบสอบถามตามลิ้งค์ข้างล่าง ***
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdcwnOxuJGh9p57u6WKNEZVd5pIiEsdC_oXvppl_ebvtDqthA/viewform