แพทย์ประจำบ้าน ตจวิทยา

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน (ทำเนียบแพทย์ประจำบ้านตจวิทยา รามาธิบดี)

เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

1. ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย)       หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

(ภาษาอังกฤษ)   Residency Training in Dermatology, Division of dermatology, Ramathibodi Hospital

 

2. ชื่อวุฒิบัตร

ชื่อเต็ม

(ภาษาไทย)       วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาเวชกรรมสาขาตจวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)   Diploma of the Thai Board of Dermatology

 

ชื่อย่อ

(ภาษาไทย)       วว. สาขาตจวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)   Diploma, Thai Board of Dermatology

 

คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ

(ภาษาไทย)       วว. ตจวิทยา

(ภาษาอังกฤษ)   Diplomate, Thai Board of Dermatology หรือ Dip., Thai Board of Dermatology

 

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ   

สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

4. วัยน์/พันธกิจของแผนฝึกอบรม หลักสูตรฝแพย์ ประจำบ้านตจวิทยา

ิสัทัศ (Vision)

เป็นผู้นำทางตจวิทยาของประเทศและเป็นประทีปส่องทางด้านสุขภาพผิวหนังของประเทศ

พันกิจ(mission)

1.  ผลิตตจแพทย์ที่มีคุณภาพ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ

 2.  ให้มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และการนําไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนังของประเทศ

3.  ให้มีความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์และบริการวิชาการที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพทางผิวหนังของชุมชนและสังคม การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อผู้ร่วมงาน และองค์กร ทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่น มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

พันกิลักสูตรกาฝึกบรพท์ประจำบ้าน ตจวิทยา

ผลิตตจแพทย์ที่มีคุณภาพ มีความเป็นสากล และมีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ

 

5. ผลลัพธ์ของแผนฝึกอบรม/หลักสูตร

แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นตจแพทย์ต้องมีคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถขั้นต่ำาตามที่สาขาวิชาฯ ได้กำหนด

ผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes) ซึ่งครอบคลุมสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน อิงตามเกณฑ์

สากลของ Accreditation Council for Graduate Medical Education (ACGME) และเกณฑ์หลักสูตรกลางสาขาตจวิทยา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

5.1 การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)

5.1.1. สามารถซักประวัติ ตรวจร่างกาย ได้ครบถ้วนและถูกต้อง

5.1.2 มีทักษะในการแปลผลทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับทางผิวหนัง

5.1.3 สามารถให้การวินิจฉัย การวางแผนการรักษาโดยใช้ยา (medical) หรือหัตถการ (procedures) และให้ความรู้แก่ผู้มีปัญหาผิวหนัง

5.1.4 สามารถให้ความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพทางผิวหนัง

5.1.5 สามารถบันทึกเวชระเบียนได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ

5.2 ความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วย (Medical knowledge and Skills)

5.2.1 มีความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (basic sciences) ทางผิวหนัง

5.2.2 มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาตจวิทยา

5.2.3 สามารถวิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์

5.3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง (Practice-based Learning)

5.3.1 มีงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข

5.3.2 สามารถเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

5.3.3 สามารถใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล

5.3.4 มีความสามารถทางทักษะด้านอื่นๆ เช่น ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใช้โปรแกรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (software literacy)

 

 

5.4 ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

5.4.1 มีทักษะการนำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

5.4.2 สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้บุคลากรทางการแพทย์

5.4.3 มีทักษะการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

5.4.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

5.4.5 มีทักษะการเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่แพทย์ต่างแผนก และบุคลากรอื่น

5.5 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

5.5.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงานเพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน

5.5.2 มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

          (Continuous Professional Development)

5.5.3 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

5.6 การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)

5.6.1 มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ

5.6.2 มีความรู้และมีส่วนร่วมในพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย

5.6.3 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย

5.6.4 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้ป่วย

5.6.5 สามารถใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสมและสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

 

6. แผนฝึกอบรม/หลักสูตร

มีคณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญาดูแล กำกับ ประเมินแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรให้ดำเนินไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้

6.1. วิธีการให้การฝึกอบรม

การจัดการฝึกอบรมตลอดระยะเวลาฝึกอบรม 4 ปี การศึกษานั้นให้จัดการฝึกอบรมดังนี้

ปีที่ 1 ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1 (ตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2560)

ปีที่ 2 - 4 ฝึกอบรมในสาขาตจวิทยาจำนวน 3 ปี สำหรับการฝึกอบรมในสาขาตจวิทยา ต้องได้รับการฝึกอบรมในหัวข้อดังต่อไปนี้

 

 

6.1.1 สมรรถนะการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)

การดูแลรักษาผู้ป่วยนอก

  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ ดูแลผู้ป่วยนอกในแผนกอายุรศาสตร์อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกับแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกทางตจวิทยาอย่างน้อยรวม 750 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรโดย
    • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 -3 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 300 ชั่วโมงต่อปี
    • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 4 ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 150 ชั่วโมงต่อปี
  • จัดการเรียนการสอนเฉพาะทางโรคต่างๆ เช่น leprosy, sexually transmitted diseases, photodermatology, immunodermatology,dermatopathology, contact dermatitis, genetic diseases, pediatric dermatology, laser and cosmetic dermatology
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

การดูแลรักษาผู้ป่วยใน

  • แพทย์ประจำบ้านตจวิทยาปีที่ 1 ปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ดูแลผู้ป่วยในในแผนกอายุรศาสตร์ รวมทั้งห้องฉุกเฉินและหอผู้ป่วยวิกฤติในความควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมเช่นเดียวกับแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1
  • แพทย์ประจำบ้านบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยในได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

6.1.2 ความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วย (Medical knowledge and Skills)

  • แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ (correlated basic medical science)
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 -4 เรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ (correlated basic dermatological science) ที่จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 เรียนและปฏิบัติงานในสาขาวิชาเฉพาะทางต่างๆ ของตจวิทยา
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ เช่น grand round, clinicopathological conference, journal club, research forum และ การประชุมวิชาการ เป็นต้น
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับหัตถการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่างๆที่ใช้ในตจวิทยา

6.1.3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning)

  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมสหวิชาชีพ
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีปฎิบัติงานสอนนักศึกษาแพทย์ และ แพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ต้องทำงานวิจัยและมีทักษะในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การเขียนขอทุนงานวิจัย การทำงานวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก และมีความรู้ของการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น SPSS, Excel
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 ให้การประเมินและวางแผนการรักษาแก่ผู้ป่วยต่างแผนกได้ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2-4 รักษาผู้ป่วยบนหลักการของการใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล

6.1.4 ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วยและญาติ
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่ดีกับผู้ร่วมงาน รวมถึงแพทย์ต่างแผนกที่มาปรึกษาเคส
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีปฏิบัติงานสอนนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาในกิจกรรมวิชาการ เช่น grand round, clinicopathological conference เป็นต้น

6.1.5 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ทางด้านบูรณาการทางการแพทย์      
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีพัฒนาให้มีเจตคติที่ดีระหว่างการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยรวมถึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องจริยธรรมทางการแพทย์
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้องทำงานวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

6.1.6 การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)

  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพของโรงพยาบาล ระบบความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งสิทธิผู้ป่วย
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลรักษา หลักการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ

 

การจัดการฝึกอบรมตลอด 4 ปี การศึกษานั้นให้จัดการฝึกอบรม ดังนี้

  • จัดการฝึกอบรมปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกทางตจวิทยาอย่างน้อยรวม 750 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร
  • จัดการฝึกอบรมปฏิบัติงานในสาขาเฉพาะทางด้านต่างๆ เช่น leprosy, sexually transmitted diseases, photodermatology, immunodermatology, dermatopathology, contact dermatitis, genetic disease, pediatric dermatology, laser and cosmetic dermatology
  • สาขาวิชาโรคผิวหนัง รพ. รามาธิบดีจัดให้มีวิชาเลือกได้ไม่เกิน 3 เดือนตลอดหลักสูตร โดยให้เลือกไปปฏิบัติงานตามที่สถาบันฝึกอบรมเห็นสมควรและได้รับการรับรองจากแพทยสภา
  • จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ entrustable professional activities (EPA) ตามที่กำหนดในภาคผนวก 1
  • จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  • จัดการฝึกอบรมภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

6.2 เนื้อหาของการฝึกอบรม/หลักสูตรต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

6.2.1 ความรู้พื้นฐาน (ภาคผนวก 2)

6.2.2 โรคหรือภาวะต่างๆ   (ภาคผนวก 3)

6.2.3 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปลผล (ภาคผนวก 4)

6.2.4 หัตถการต่างๆ (ภาคผนวก 5)

6.2.5 การทำวิจัย โดยฝึกอบรมระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) ความเชื่อถือได้และจุดอ่อนของการศึกษาแบบต่างๆ การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การประเมินความคุ้มค่า 

6.2.6 ความรู้ด้านบูรณาการ (ภาคผนวก 6)

 

6.3 การทำงานวิจัย

แพทย์ประจำบ้านต้องทำงานวิจัย ได้แก่ งานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ได้แก่ retrospective, prospective, cross sectional, systematic review หรือ meta-analysis ในระหว่างการปฏิบัติงาน 3 ปี โดยเป็นผู้วิจัยหลักหรือผู้นิพนธ์หลัก งานวิจัยดังกล่าวต้องประกอบด้วยหัวข้อหลักดังนี้

(1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

(2) วิธีการวิจัย

(3) ผลการวิจัย

(4) การวิจารณ์ผลการวิจัย

(5) บทคัดย่อ

 

ขอบเขตความรับผิดชอบ

เนื่องจากการมีความสามารถในการทำวิจัยด้วยตนเองเป็นสมรรถนะหนึ่งที่แพทย์ประจำบ้านตจวิทยาต้องบรรลุตามหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 และการพิจารณาผลการประเมิน ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของผู้ที่จะได้รับวุฒิบัตรฯ เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ดังนั้นสาขาวิชาโรคผิวหนัง รพ. รามาธิบดีจะเตรียมความพร้อมให้กับแพทย์ประจำบ้าน โดยส่งแพทย์ประจำนชั้นปีที่ 1 ไปอบรมหลักสูตรการทำวิจัยเบื้องต้น ซึ่งเป็นหลักสูตรกลางของคณะแพทยศาสตร์ และกำกับดูแลการเตรียมโครงร่างการวิจัย ไปจนสิ้นสุดการทำงานวิจัยและจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อนำส่งราชวิทยาลัยฯ ทั้งนี้สาขาวิชาโรคผิวหนัง รพ. รามาธิบดีจะรายงานชื่องานวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษา และความคืบหน้าของงานวิจัย ตามกรอบเวลาที่กำหนดไปยังราชวิทยาลัยฯ

 

 คุณลักษณะของงานวิจัย

1. เป็นผลงานที่ริเริ่มใหม่ หรือเป็นงานวิจัยที่ใช้แนวคิดที่มีการศึกษามาก่อนทั้งในและต่างประเทศ แต่นำมาดัดแปลงหรือทำซ้ำในบริบทของสถาบัน

2. แพทย์ประจำบ้านและอาจารย์ผู้ดำเนินงานวิจัยทุกคน ควรผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในคน หรือ good clinical practice (GCP)

3. งานวิจัยทุกเรื่องต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน

4. งานวิจัยทุกเรื่อง ควรดำเนินงานวิจัยภายใต้ข้อกำหนดของ GCP หรือระเบียบวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสมกับคำถามวิจัย

5. ใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

วิธีการดำเนินการวิจัยและขอบเขตความรับผิดชอบ

1. เมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยแล้ว ต้องดำเนินการทำวิจัยตามข้อตกลงโดยเคร่งครัด

2. เมื่อมีการลงนามในเอกสารชี้แจงผู้ป่วยหรือผู้แทนเพื่อให้ยินยอมเข้าร่วมวิจัยต้องให้สำเนาแก่ผู้ป่วยหรือผู้แทนเก็บไว้ 1 ชุด

3. ให้ทำการระบุในเวชระเบียนผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในถึงสถานะการเข้าร่วมงานวิจัยของผู้ป่วย

4. การตรวจหรือรักษาเพิ่มเติมจากโครงการวิจัยที่ผ่านการอนุมัติแล้ว โดยการกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาผู้ป่วยตามปกติ ไม่สามารถทำได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นได้มีการระบุและอนุมัติในโครงการวิจัยแล้ว และผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย

5. กรณีที่โครงการวิจัยกำหนดให้ทำการตรวจหรือรักษาที่เพิ่มเติมจากการดูแลรักษาผู้ป่วยตามปกติ หากมีผลลัพธ์ที่อาจส่งผลต่อประโยชน์ให้การดูรักษาผู้ป่วย ให้ดำเนินการแจ้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เพื่อวางแผนแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบต่อไป

6. หากเกิดกรณีอื่นนอกเหนือการคาดการณ์ ให้รีบปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย หรือคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย กรณีที่ไม่สามารถปรึกษาได้ ให้ย้อนกลับไปใช้หลักพื้นฐาน 3 ข้อของจริยธรรมทางการแพทย์ในการตัดสินใจ คือ

6.1 การถือประโยชน์สุขของผู้ป่วยเป็นหลัก และการไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วย

6.2 การเคารพสิทธิของผู้ป่วย

6.3 การยึดมั่นในหลักความเสมอภาคของทุกคนในสังคม ที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน

 

 

 

 

กรอบการดำเนินงานวิจัยในเวลา 3 ปี (36 เดือนของการฝึกอบรม)

ทั้งนี้ เดือนที่กำหนดขึ้นเป็นระยะเวลาที่ประมาณการ อาจจะทำได้เร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ได้บ้าง โดยให้แต่ละสถาบันไปกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเอง

เดือนที่           ประเภทกิจกรรม

6                  จัดเตรียมคำถามวิจัยและติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา

9                  จัดทำโครงร่างงานวิจัย

13                ขออนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย

ขอทุนสนับสนุนงานวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในและนอกสถาบัน (ถ้าต้องการ)

15                เริ่มเก็บข้อมูล

21                นำเสนอความคืบหน้างานวิจัย

30                วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลงานวิจัย

31                จัดทำรายงานวิจัยฉบับร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษาปรับแก้ไข

32                ส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ต่อสถาบัน เพื่อส่งต่อไปยังสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยให้ทำการประเมินผล สำหรับประกอบคุณสมบัติการเข้าสอบเพื่อวุฒิบัตร ภาคปฏิบัติขั้นสุดท้าย

 

  • การรับรอง วุฒิบัตร (วว.) หรือ หนังสืออนุมัติ (อว.) สาขาตจวิทยา ให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก รายละเอียดดัง ภาคผนวก 7

6.4 จำนวนปีของการฝึกอบรม    

ลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 4-6 ปีโดยมีการระยะเวลาอย่างต่ำ 4 ปี เพื่อให้ สามารถพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ให้พร้อม แต่สามารถขยายเวลาการฝึกอบรมออกเป็นไม่เกิน 6 ปี โดยดูจากการประเมิน milestone ที่มีการทำไว้และการประเมินอื่นๆ ในเกณฑ์การเลือนชั้นปี

6.5 การบริหารการจัดการฝึกอบรม สาขาวิชาฯจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการขั้นต่ำของหลักสูตรกลางสาขาตจวิทยา ดังนี้

 

การเรียนการสอน

แพทย์ประจําบ้านชั้นปีที่

ปีที่ 2 และ 3

ปีที่ 4

(ชั่วโมง) ต่อชั้นปี

(ชั่วโมง)

ออกตรวจผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 300 ชั่วโมง

300

150

Basic science

12

12

Case discussion/Interesting case conference/Teaching round

40

30

Topic discussion/Topic review

25

15

Clinical slide

12

8

Journal club

40

20

Grand round

40

20

Dermatopathological conference

40

20

Interhospital Conference

15

15

Research

8

6

Leprosy/ Sexually transmitted disease/

Genetic diseases/ Pediatric dermatology

 

35

Photodermatology

35

Immunodermatology

35

Dermatopathology

35

Contact dermatitis

35

Laser and cosmetic dermatology

35

 

 

 

 

6.6 สภาพการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาฯ จัดสภาวะการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

- ให้แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ (รวมถึงการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ) ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ระบุกฎเกณฑ์และประกาศให้ชัดเจนเรื่องเงื่อนไขงานบริการและความรับผิดชอบของแพทย์ประจำบ้าน

- ในกรณีที่แพทย์ประจำบ้านมีการลา เช่น ลาคลอดบุตร ลาป่วย สาขาวิชาฯ ได้มีการกำหนดจำนวนวันลาที่เหมาะสมตามประกาศของคณะ เรื่องหลักเกณฑ์การลาของแพทย์ประจำบ้าน หากมีการลาเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะต้องมีการปฏิบัติงานเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ครบตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ในการฝึกอบรม (การลาหยุดของแพทย์ประจำบ้าน เอกสารแนบ 2)

- ในการปฏิบัติงานในเวลาราชการ แพทย์ประจำบ้านทุกคนจะได้รับเงินเดือน โดยผู้ที่มีต้นสังกัดจะรับเงินเดือนจาก

ทางต้นสังกัด ส่วนผู้ที่ไม่มีต้นสังกัด จะได้รับเงินเดือนจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และได้รับสวัสดิการ

ประกันสังคมของโรงพยาบาลรามาธิบดี

6.7 การวัดและประเมินผล

ผู้ที่จะมารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านตจวิทยาชั้นปีที่ 2-4 จะต้องผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมชั้นปีที่ 1 ตามเกณฑ์ที่กำหนดของราชวิทยาลัยอายุรศาสตร์

สำหรับผู้ที่จะมารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านตจวิทยา ซึ่งได้รับวุฒิบัตรอายุรศาสตร์จากสถาบันอื่นให้เป็นไปตามข้อตกลงกับภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

- กรณีแพทย์ประจำบ้านนั้นจบจากรามาธิบดีและต้นสังกัดที่มีการแบ่งฝ่ายอายุกรรมแล้ว ให้ปฏิบัติงานที่ต้นสังกัดต่อ และมาเริ่มปฏิบัติงานในสาขาวิชาฯ เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2

- กรณีแพทย์ประจำบ้านไม่มีต้นสังกัด ให้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ช่วยวิจัยในสาขาวิชาฯ และหมุนเวียนไปช่วยงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมาเริ่มปฏิบัติงานในสาขาวิชาฯ เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2

ระหว่างการฝึกอบรมจะมีวัด และประเมินผลแพทย์ประจำบ้านตามที่กำหนดไว้ โดยจะมีการแจ้งกระบวนการ การวัดและประเมินผลให้แพทย์ประจำบ้านได้รับทราบตั้งแต่การปฐมนิเทศและสามารถตรวจสอบและอุทธรณ์ได้เมื่อต้องการ

 

 

 

6.7.1 สาขาวิชาฯ จัดให้มีการประเมินแพทย์ประจำบ้านระหว่างการฝึกอบรม ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และกิจกรรมทางการแพทย์ ในข้อกำหนดต่างๆ ดังนี้

มิติที่ 1 ประเมินสมรรถนะโดยอาจารย์ (EPA 7)

มิติที่ 2 การตรวจใบตอบรับให้คำปรึกษา (EPA 2)

มิติที่ 3 การตรวจเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (EPA 1)

มิติที่ 4 คะแนนสอบจัดโดยสาขาวิชา และสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

มิติที่ 5 การร่วมกิจกรรมวิชาการส่วนกลาง

มิติที่ 6 การประเมินสมรรถนะโดยผู้ร่วมงาน (EPA 7)

มิติที่ 7 การประเมินสมรรถนะโดยผู้ป่วย (EPA 7)

- สาขาวิชาฯบันทึกข้อมูลการประเมินแพทย์ประจำบ้านในมิติต่างๆ ทั้งรายบุคคลและรายสถาบัน (ผ่านระบบสารสนเทศ) แล้วรายงานผลมายังคณะกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ ตามที่กำหนด

 

(1) Achievable EPAs ในแต่ละชั้นปี (ภาคผนวก 1)

ผลการประเมินนำไปใช้ในกรณี ต่อไปนี้

1. เพื่อเลื่อนระดับชั้นปี โดยเกณฑ์ผ่านตามที่คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ ประกาศกำหนดก่อนการเข้าฝึกอบรม

2. เพื่อใช้พิจารณาประกอบการตัดสินผลสอบภาคปฏิบัติ (การสอบเมื่อจบการฝึกอบรมปีที่ 3 นับจากวันเริ่มเข้าอบรมทางตจวิทยา) การประเมินระหว่างการฝึกอบรมอย่างสม่าเสมอโดยมีการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ให้แพทย์ประจำบ้านได้รับทราบ จะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านต่างๆ ของแพทย์ประจำบ้านให้สมบูรณ์ขึ้น

 

 

การสอบในแต่ละปีการศึกษา

1. การจัดสอบภายในสาขาวิชา

- การสอบกลางปี                  

MCQ formative ไม่น้อยกว่า 100 ข้อ

- การสอบปลายปี

MCQ summative ไม่น้อยกว่า 100 ข้อ

Clinical slide ไม่น้อยกว่า 50 ข้อ

Short case ไม่น้อยกว่า 10 ข้อ

Histopathology ไม่น้อยกว่า 30 ข้อ

2. การจัดสอบร่วมกับสถาบันอื่นโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

การสอบกลางปี MCQ formative 150 ข้อ

การสอบปลายปี MCQ Summative 300 ข้อ

 

(2) เกณฑ์การเลื่อนชั้นปี

1. Entrustable Professional activities (EPA) ตามที่กำหนด (ภาคผนวกที่ 1)

2. ปฏิบัติงานได้ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาปฏิบัติงานที่กำหนด

3. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่กำหนดไว้

4. มิติที่ 4 เกณฑ์ผ่านคิดคะแนนโดยคิดคะแนนสอบ summative (50%) รวมกับการสอบภายใน (50%) โดย

ชั้นปีที่2 ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 40%

ชั้นปีที่ 3 ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 50% จึงถือว่าผ่าน กรณีที่ไม่ผ่านเฉพาะมิติที่ 4 สอบไม่ผ่านให้สอบซ่อมและตัด elective 1 เดือนต่อครั้ง

5. ปฏิบัติงานได้สอดคล้องตามข้อกำหนดของสาขาวิชาฯ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สาขาวิชาฯ

 

(3) แนวทางการดำเนินการกรณีไม่ผ่านการประเมินเพื่อเลื่อนชั้นปี

1. ต้องปฏิบัติงานเพิ่มเติมในส่วนที่สาขาวิชาฯ กำหนด แล้วทำการประเมินซ้ำ ถ้าผ่านการประเมินจึงสามารถเลื่อนชั้นปีได้

2. ถ้าไม่ผ่านการประเมินเพื่อเลื่อนชั้นปีซ้ำตามข้อที่ 1 หรือไม่ผ่านการประเมินเพื่อรับการเสนอชื่อเข้าสอบวุฒิบัตร ต้องปฏิบัติงานในระยะชั้นปีเดิมอีก 1 ปี

3. หลังจากปฏิบัติงานซ้ำในชั้นปีเดิมอีก 1 ปี แล้วยังไม่ผ่านการประเมินเพื่อเลื่อนชั้นปี ให้ยุติการฝึกอบรม

ทั้งนี้สาขาวิชาฯ จะส่งผลการประเมินแพทย์ประจำบ้าน ภายในวันที่ 31 กรกฎาคมของทุกปี เพื่อเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบของสมาคมและราชวิทยาลัยฯและแพทยสภาตามลำดับ

 

 

 

(4) การดำเนินการสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านการประเมิน

1. แจ้งผลการประเมินให้แพทย์ประจำบ้านรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในแบบประเมินผลของสมาคม พร้อมแนวทางการพัฒนา รายละเอียดการปฏิบัติงานเพิ่มเติม การกำกับดูแล และการประเมินผลซ้ำ

2. เมื่อแพทย์ประจำบ้านลงชื่อรับทราบ ให้ส่งสำเนาผลการประเมินชุดหนึ่งให้อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบของสมาคมและราชวิทยาลัยฯ

 

(5) การดำเนินการเพื่อยุติการฝึกอบรม

1. การลาออก แพทย์ประจำบ้านต้องทำเรื่องชี้แจงเหตุผลก่อนพักการปฏิบัติงานล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อสาขาวิชาฯอนุมัติให้พักการปฏิบัติงานแล้วจึงแจ้งต่อคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯเพื่อเห็นชอบ และแจ้งต่อแพทยสภาพร้อมความเห็นประกอบว่าสมควรให้พักสิทธิ์การสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านเป็นเวลา 1 ปีในปีการศึกษาถัดไปหรือไม่ โดยพิจารณาจากเหตุผลประกอบการลาออกและคำชี้แจงจากสถาบันฝึกอบรม การลาออกจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อได้รับอนุมัติจากแพทยสภา

2. การให้ออก

2.1 ปฏิบัติงานโดยขาดความรับผิดชอบหรือประพฤติตนเสื่อมเสียร้ายแรงจนก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยหรือต่อชื่อเสียงของสาขาวิชาฯ หรือภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

2.2 ปฏิบัติงานโดยขาดความรับผิดชอบหรือประพฤติตนเสื่อมเสีย ไม่มีการปรับปรุงพฤติกรรมหลังการตักเตือน และกระทาซ้าภายหลังการภาคทัณฑ์

เมื่อสาขาวิชาฯ เห็นสมควรให้ออก ให้ทำการแจ้งแพทย์ประจำบ้านรับทราบพร้อมให้พักการปฏิบัติงาน แล้วทำเรื่องแจ้งต่อคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ ซึ่งจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนจำนวน 5 คน ประกอบด้วยกรรมการตัวแทนจากสถาบันฝึกอบรมอื่น จำนวน 3 แห่ง กรรมการจากภาควิชาอายุรศาสตร์ จำนวน 1 คน และกรรมการจากสาขาวิชาฯ จำนวน 1 คน เพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์ภายหลังจากได้รับเรื่อง ผลการสอบสวนจะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ เพื่อลงความเห็น ถ้าสมควรให้ออกจึงแจ้งต่อแพทยสภา จนเมื่อได้รับการอนุมัติจึงถือว่าการให้ออกสมบูรณ์ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรให้ออกจึงส่งเรื่องคืนให้สาขาวิชาฯ พร้อมคำแนะนำ

 

6.7.2 การวัดและประเมินผลเพื่อวุฒิบัตรฯ

ภาคทฤษฎี (จัดสอบด้วยวิธีการสอบ Multiple Choice Questions : MCQ)

ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

          1. ส่งบทความเคสเพื่อการศึกษา (case report) ฉบับตีพิมพ์แล้วในฐานข้อมูล TCI : Thai-Journal Citation Index Centre (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย) หรือสูงกว่า โดยต้องส่งให้ถึงสมาคมแพทย์ผิวหนังภายในวันที่ 31 มีนาคม ก่อนสอบในปีการศึกษานั้นๆ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์สอบ และหากเป็น letter to editor จะต้องสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลมาตรฐาน ถ้าเป็นผลงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์จะต้องมี Digital object identifier (DOI)

          2. ผ่านเงื่อนไขการผ่านชั้นปีที่ 2 และมีหลักฐานรับรองจากสาขาวิชาฯ

 

เกณฑ์การผ่านการสอบ

          คณะกรรมการตัดสินโดยใช้วิธีการตัดสินอ้างอิงจากอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่ม

โดยผลการสอบภาคทฤษฎีจะประกาศผลสอบภายใน 3 สัปดาห์ก่อนวันจบปีการศึกษา  ผู้ที่ผ่านการสอบภาคทฤษฎีสามารถเก็บผลการสอบไว้ได้ 3 ปีการศึกษาโดยนับจากปีที่สอบผ่านเป็นปีแรก

ภาคปฏิบัติ

ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบภาคปฏิบัติ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

          1. ผ่านการฝึกอบรมครบตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรม

          2. ส่งผลงานวิจัยฉบับพร้อมตีพิมพ์ (manuscript)

          3. ใบคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาฯ

          4. ส่งคะแนนสอบในแต่ละสถาบันและใบประเมินผ่านชั้นปีที่ 2 และ 3 (สาขาวิชาฯเป็นผู้ส่งให้สมาคม)

ภาคปฏิบัติจัดสอบภายใน 2 สัปดาห์หลังวันจบปีการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

          1. Objective structured clinical examination (OSCE) และ Assessment structured clinical examination (ASCE)

          2. Clinical slide แบบ 2 questions and laboratory tests

          3. Slide histopathology

 

เกณฑ์การผ่านการสอบ

          คณะกรรมการตัดสินโดยใช้วิธีการตัดสินจากอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่ม

โดยผลการสอบภาคปฎิบัติสามารถเก็บผลการสอบไว้ได้ 3 ปีการศึกษาโดยนับจากปีที่สอบเป็นปีแรกจะประกาศผลสอบภายใน 4 สัปดาห์หลังจากวันสอบภาคปฏิบัติ

          ผู้ที่สอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติและผลการสอบยังไม่หมดอายุจะได้ประกาศชื่อจากแพทยสภาเป็นผู้ได้รับวุฒิบัตร/อนุมัติบัตร

 

6.7.3 การประเมินเพื่อหนังสืออนุมัติบัตร

การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติบัตร

  • ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพเวชกรรม

พ.ศ.2525 และได้ทำงานสาขาตจวิทยาในระดับโรงพยาบาลที่ราชวิทยาลัยรับรอง (โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำในการเปิดสถาบันฝึกอบรม) และทำงานติดต่อกันจนถึงวันสอบไม่น้อยกว่า 8 ปี ไม่นับเวลาที่ฝึกอบรมในโรงเรียนแพทย์

  • มีรายงานผู้ป่วย 1 เรื่อง และงานวิจัย 1 เรื่อง ที่ส่งตีพิมพ์แล้วก่อนยื่นใบสมัครสอบในปีนั้นๆ เช่นเดียวกับผู้สอบวุฒิบัตรฯ โดยมีหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์/หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรมหรือสาขาตจวิทยารับรอง
  • การสอบจะใช้ข้อสอบและเกณฑ์การตัดสินเช่นเดียวกับการสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ

ผู้สมัครสอบที่ได้รับวุฒิบัตร สาขาตจวิทยาจากต่างประเทศที่แพทยสภารับรองไม่เกิน 5 ปีรวมทั้งการ recertify การสอบให้ใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์อย่างเดียว

 

7. การรับและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ประมาณเดือนกันยายนของทุกปีการศึกษา ก่อนการเปิดรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิชาฯ จะประกาศคุณสมบัติของผู้สมัครแพทย์ประจำบ้านในเว็บไซด์ของสาขาวิชาฯ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับและประกาศของแพทยสภา

7.1 คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

7.1.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง

7.1.2 ได้รับการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภามาแล้ว 3 ปีและผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ

7.1.3 ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรสาขาอายุรศาสตร์ของแพทยสภาแล้ว สามารถเข้าฝึกอบรมได้ในชั้นปีที่ 2 โดยต้องทำเรื่องขอยกเว้นการฝึกอบรมอายุรศาสตร์ปีที่ 1 ส่วนการพิจารณาว่าจะยกเว้นการฝึกอบรมอายุรศาสตร์ปีที่ 1 หรือไม่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมตจวิทยาและคณะกรรมการฝึกอบรมอายุรศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

คุณสมบัติแพทย์ประจำบ้านของสาขาวิชาฯ

  1. ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต
  2. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  3. ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษณะฯ ครบถ้วน
  4. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรสาขาอายุรศาสตร์ มีสิทธิ์ขอยกเว้นการฝึกอบรมตจวิทยาปีที่ 1
  5. ชดใช้ทุนครบถ้วนแล้ว หรือหมดพันธะในการชดใช้ทุน
  6. เป็นผู้สมัครที่มีต้นสังกัด หรือผู้สมัครอิสระ

7.2 การคัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรม

ในการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านในแต่ละปีการศึกษา สาขาวิชาฯ จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและเกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน โดยยึดหลักความเสมอภาคโปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์พิจารณารับแพทย์ประจำบ้านตจวิทยา

  1. คะแนนสอบสัมภาษณ์
  2. คะแนนสอบข้อเขียน
  3. คะแนนสอบเจตคติ
  4. คะแนนภาษาอังกฤษ
  5. คะแนน GPA ระดับอุดมศึกษา

 

7.3 จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

สาขาวิชาฯมีศักยภาพของการรับแพทย์ประจำบ้านตามเกณฑ์ของแพทยสภา ดังแสดง

จำนวนแพทย์ประจำบ้านใน แต่ละชั้น ปีละ(คน)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

จำนวนอาจารย์แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรม (คน)

2

4

6

8

10

12

14

16

18

20

จำนวนผู้ป่วยนอกคลินิกโรคผิวหนัง (ครั้ง/ปี)

1500

3000

4500

6000

7500

9000

10500

12000

13500

15000

จำนวนผู้ป่วยในโรคผิวหนังที่

ปรึกษา(ทั้งในและนอกแผนก)(ครั้ง/ปี )

250

500

750

1000

1250

1500

1750

2000

2250

2500

หัตถการ skin biopsy (ครั้ง/ปี )

100

200

300

400

500

600

700

800

900

1000

หมายเหตุ จำนวนผู้ป่วยในโรคผิวหนังที่ปรึกษาถือว่า 1รายไปติดตามอาการ 5 ครั้ง

          ตามที่สาขาวิชาฯ ขอเพิ่มศักยภาพการฝึกอบรมของหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา เมื่อวันที่....................2558 ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ประเทศไทย ได้ตรวจรับรองสถาบันฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา และได้ผ่านการรับรองตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภา ซึ่งได้รับการอนุมัติให้เพิ่มศักยภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา จากคณะกรรมการแพทยสภาในการประชุม ครั้งที่ ..../2558 วันที่ ................... พ.ศ. 2558 จำนวนปีละ 5 ตำแหน่ง

 

8. อาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม

8.1 คุณสมบัติของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม ต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยาจาก แพทยสภา และต้องเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาชิกตลอดชีพของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย  ผู้ที่รับผิดชอบเป็นประธานการฝึกอบรมของสถาบันฝึกอบรมจะต้องปฏิบัติงานทางด้านตจวิทยามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีภายหลังได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติฯ

8.2 คุณสมบัติและจำนวนของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม

- สาขาวิชาฯได้จัดอาจารย์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยาจาก แพทยสภา แบบเต็มเวลาอย่างน้อย 2 คนต่อจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1 คน

- สาขาวิชาฯได้จัดอาจารย์แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรมแบบไม่เต็มเวลา ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนอาจารย์แพทย์ประจำ

- ภาระงานของอาจารย์แบบไม่เต็มเวลาแต่ละคน ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของภาระงานอาจารย์เต็มเวลา

- สาขาวิชาฯ ได้กำหนดและดำเนินนโยบายการสรรหาและคัดเลือกอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมให้สอดคล้องกับพันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร โดยระบุคุณสมบัติของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมที่ชัดเจน โดยครอบคลุมความชำนาญด้านตจวิทยาที่ต้องการ คุณสมบัติทางวิชาการ ให้สมดุลระหว่างคุณวุฒิด้านการสอน วิจัย และงานบริการ

- ถ้าผู้ฝึกอบรมวุฒิบัตรฯในระดับเดียวกันใช้ศักยภาพได้ 35 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ใน 1 สาขาวิชา แต่ถ้าฝึกอบรมมากกว่า 2 สาขาวิชา ต้องแบ่งศักยภาพเป็น 2 สาขาวิชา โดยคิดสาขาวิชาหลักไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

- สาขาวิชาฯ ต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระงานของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม ให้สมดุลระหว่างงานด้านการศึกษา การวิจัยและการบริการ

- อาจารย์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้ อาจารย์จะต้องมีเวลาเพียงพอสำหรับการให้การฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และกำกับดูแล นอกจากนั้นอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม ยังต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านการแพทย์และด้านแพทยศาสตรศึกษา สถาบันฯ ต้องจัดให้มีการพัฒนาอาจารย์อย่างเป็นระบบ และมีการประเมินอาจารย์เป็นระยะ

8.3 ในกรณีที่หลักสูตรการฝึกอบรมเป็นแบบที่มีสถาบันร่วมฝึกอบรม หรือมีสถาบันฝึกอบรมสมทบ

ให้อนุโลมใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าว สำหรับการกำหนดจำนวนอาจารย์ในแต่ละสถาบันฝึกอบรม โดยทอนเป็นสัดส่วนตามเวลาที่สถาบันฝึกอบรมนั้นมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม

 

ผู้ฝึกอบรมแบบเต็มเวลา หมายถึง ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำรวมทั้งอาจารย์เกษียณอายุราชการ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์หรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเต็มเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทั้งหมด และได้รับอัตราเงินเดือนในอัตราเต็มเวลา

 

ผู้ฝึกอบรมแบบไม่เต็มเวลา  แบ่งเป็น 2 ประเภท

ก. พนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างประเภทบางเวลาอย่างน้อยครึ่งเวลา และได้รับเงินเดือนตามสัดส่วนงาน ให้นับเวลาปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง

ข. ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถาบันอื่น แผนกอื่น หรืออาจารย์เกษียณอายุมาช่วยสอนบางเวลา โดยไม่ได้มีสัญญาจ้างจากหน่วยงาน หรือปฏิบัติงานน้อยกว่าครึ่งเวลา ให้คิดเวลาปฏิบัติงานเฉพาะที่มาปฏิบัติงานสำหรับการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้านสาขาตจวิทยา ไม่นับเวลาที่มาทำงานวิจัย งานบริการ เช่นตรวจผู้ป่วย หรือทำหัตถการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับแพทย์ประจำบ้านสาขาตจวิทยา รวมทั้งไม่นับเวลาที่มาสอนนักศึกษา/นิสิตแพทย์

 

 

 

9. ทรัพยากรทางการศึกษา

สาขาวิชาฯ ได้จัดทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนโอกาสการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในทุกด้านดังนี้

การเรียนรู้ภาคทฤษฎี

สำนักงานสาขาวิชาฯ ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคาร 1 มีห้องพักอาจารย์แพทย์ สำนักงานธุรการ ห้องบรรยายและห้องประชุม 1 สำหรับสอนภาคทฤษฎี และดำเนินกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ของแพทย์ประจำบ้าน นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมเมืองไทยประกันชีวิต ชั้น 2, ห้องประชุมศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง ชั้น 4 หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกพิเศษ เวชสำอาง-ศัลยกรรมตกแต่ง, ห้องประชุม Mini theater ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ซึ่งใช้เป็นที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อแพทย์ประจำบ้านออกปฏิบัติงานตรวจผู้ป่วย ในห้องประชุมทุกห้องของสาขาวิชาฯ มีการติดตั้งอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน

การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ

  • มีการปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา ทีมีอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์ตรวจชิ้นเนื้อที่ทันสมัย สามารถดูชิ้นเนื้อร่วมกันสูงสุดได้ถึง 16 คน รวมทั้งมีกล้องวีดีทัศน์ถ่ายทอดภาพขึ้นจอขนาดใหญ่เพื่อให้เพิ่มจำนวนผู้เรียนได้มากขึ้นอีก
  • มีห้องปฏิบัติการตจอิมมูนวิทยา ให้แพทย์ประจำบ้านได้ฝึกปฏิบัติดูผลการย้อม immunofluorescent ทางผิวหนังภายใต้การให้คำปรึกษาอาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาวิชาฯ
  • Cadaveric workshop ของแพทย์ประจำบ้าน จะไปเรียนที่ห้องปฏิบัติการ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การเพิ่มพูนประสบการณ์ทางคลินิก

แพทย์ประจำบ้านจะได้ออกตรวจโรคผิวหนังที่ หน่วยตรวจโรคผิวหนังทั่วไป ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอ และชนิดของผู้ป่วยที่หลากหลายสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ประมาณ 45,000 รายต่อปี) นอกจากนี้แพทย์ประจำบ้านยังมีการหมุนเวียนออกตรวจที่ห้องตรวจคลินิกพิเศษเฉพาะโรค เช่น โรคผื่นแพ้สัมผัส โรคลมพิษ โรคสะเก็ดเงิน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเส้นผม โรคเล็บและ ตจศัลยกรรมมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น หน่วยตรวจโรคผิวหนัง มีระบบสนับสนุนครบถ้วนทั้งคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านได้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางคลินิก และได้เรียนภาคปฏิบัติที่พอเพียงสำหรับสนับสนุนการเรียนรู้ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แพทย์ประจำบ้านได้รับปรึกษาผู้ป่วยในที่มีปัญหาโรคผิวหนังจากทั้งในภาควิชาอายุรศาสตร์และภาควิชาอื่นๆ ในโรงพยาบาลรามาธิบดี (โดยเฉลี่ย 50 รายต่อเดือน) ภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม

  • การเพิ่มพูนประสบการณ์การทำหัตถการ

แพทย์ประจำบ้านหมุนเวียนปฏิบัติงานทำหัตถการทางผิวหนังที่ห้องหัตถการ ชั้น 2 หน่วยตรวจโรคผิวหนัง และฝึกหัตถการตจศัลยกรรม เลเซอร์ผิวหนังชนิดต่างๆ ได้แก่ Carbon dioxide laser, pigment laser, vascular laser เป็นต้น สังเกตุและฝึกหัตถการฉีด Toxin แoxin งชนิดต่างๆ ฉีด นปรทำหัตถการ แพทย์ประจำบ้านหมุนเวียนปฏิบัติงานทำหัตถการทางผิวหนังที่ห้องหัตถาการ หน่วยตรวจโรคผิวหนัง และใกทละสารเติมเต็ม ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โดยมีอาจารย์ประจำควบคุมดูแล

  • การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่ทันสมัย

ทางสาขาวิชาฯ และคณะแพทยศาสตร์ฯ มีการสนับสนุนสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาหรับการเรียนรู้ให้แพทย์

ประจาบ้านสามารถเข้าถึงได้ โดยจัดให้มีบริการ intranet/internet ภายในโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ประจำบ้านทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของคณะฯ รวมถึงเว็บไซด์ห้องสมุดของคณะฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำให้สามารถ

เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัยได้ นอกจากนี้แพทย์ประจำบ้าน ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากภายนอกโรงพยาบาลทาง virtual server access อีกด้วย

สาขาวิชาฯ ได้จัดห้องพักให้แพทย์ประจeบ้านที่สานักงานสาขาวิชาฯ ซึ่งมีสิ่งอานวยความสะดวกด้านการศึกษา

ได้แก่ computer, printer เพื่อให้ได้ใช้นั่งค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมหรือทำวิจัย และจัดเตรียมตำราเรียนมาตรฐานทางตจวิทยาไว้

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย

  • การฝึกอบรมในสถาบันอื่น

สาขาวิชาฯ จัดให้มีช่วงวิชาเลือกเป็นเวลารวมไม่เกิน 3 เดือนตลอดหลักสูตร โดยให้แพทย์ประจำบ้านเลือกไปปฏิบัติงาน

ในสถาบันตามที่คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญาเห็นสมควร และได้รับการรับรองจากแพทยสภาทั้งใน และต่างประเทศ

โดยหากเป็นสถาบันต่างประเทศ แพทย์ประจำบ้านสามารถขอทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนแพทย์ประจำบ้านกับนานาชาติจาก

คณะฯ

 

10. การประเมินแผนฝึกอบรม/หลักสูตร

สาขาวิชาฯได้กำกับดูแลการฝึกอบรมให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรม/หลักสูตร และมีการประเมินแผนฝึกอบรม/หลักสูตร ทุกปลายปีการศึกษา โดยครอบคลุม

  • พันธกิจของแผนฝึกอบรม/หลักสูตร
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์
  • แผนฝึกอบรม
  • ขั้นตอนการดำเนินงานของแผนฝึกอบรม
  • การวัดและประเมินผล
  • พัฒนาการของผู้รับการฝึกอบรม
  • ทรัพยากรทางการศึกษา
  • คุณสมบัติของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม
  • ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการรับสมัครผู้รับการฝึกอบรมและความต้องการของระบบสุขภาพ

 

นอกจากนี้ ยังดำเนินการหาข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการฝึกอบรม/หลักสูตร จากผู้ใช้บัณฑิต และตจแพทย์ผู้สำเร็จการ

ฝึกอบรม มีประสบการณ์ทำงานประมาณไม่เกิน 3 ปี ในการประเมินการฝึกอบรม/หลักสูตร

 

 

 

11. การทบทวนและการพัฒนา

สาขาวิชาฯ จัดให้มีการทบทวน และพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอทุกปี โดยข้อมูลที่ได้จากการ

ประเมินหลักสูตรของแพทย์ประจำบ้านปัจจุบัน ศิษย์เก่าตจแพทย์ และผู้ใช้บัณฑิตจะถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุม

คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญาของสาขาวิชาฯ และของภาควิชาอายุรศาสตร์ และวิเคราะห์สรุปเป็นข้อดี/ข้อควรปรับปรุง นำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ และนำเสนอในงานสัมมนาประจำปีของสาขาวิชาฯ

 

12. ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ

  • สาขาวิชาฯ บริหารจัดการหลักสูตรให้สอดคล้องกับกฏระเบียบที่กาหนดไว้ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับสมัครผู้เข้ารับ

การฝึกอบรม (เกณฑ์การคัดเลือก และจำนวนที่รับ) กระบวนการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ผลลัพธ์ของการ

ฝึกอบรมที่พึงประสงค์เมื่อจบการฝึกอบรม สาขาวิชาฯ จะเป็นผู้ออกประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการฝึกอบรม

  • สาขาวิชาฯ กาหนดให้คณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญา มีหน้าที่รับผิดชอบ และอำนาจในการบริหารจัดการ

งบประมาณของแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านการฝึกอบรม

  • สาขาวิชาฯ มีบุคลากรที่ปฏิบัติงาน และมีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อยทาง

ตจวิทยาต่างๆ อย่างครบถ้วน รวมถึงบุคลากรสายสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการฝึกอบรมตามข้อบังคับของแพทยสภา

13. การประกันคุณภาพการฝึกอบรม

13.1 การประกันคุณภาพการฝึกอบรมภายใน

สาขาวิชาฯ ได้รับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อย่างสม่ำเสมอทุก 1 ปี

13.2 การประกันคุณภาพการฝึกอบรมภายนอก

สาขาวิชาฯ ได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดยใช้เกณฑ์ของ WFME ทุก 5 ปี