ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร

           ภาษาไทย         : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์

           ภาษาอังกฤษ     Doctor of Philosophy Program in Nutrition

 

ประเภทหลักสูตร : ปกติ

ระดับ              : ปริญญาเอก

 

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านโภชนศาสตร์เชิงลึก มีความเป็นผู้นำทางวิชาการและงานวิจัย สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเป็นอิสระ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักวิชาการในระดับนานาชาติ มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย           :   ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โภชนศาสตร์)

                        :   ปร.ด. (โภชนศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ     :   Doctor of Philosophy (Nutrition)           

                         :   Ph.D. (Nutrition)

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  ดุษฎีบัณฑิตจะมีความรู้ ความสามารถดังนี้

1. มีจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม เจตนคติที่ดีในวิชาชีพและในการวิจัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

2. มีความรู้ในระดับแนวหน้าอย่างเชี่ยวชาญในหลักการและทฤษฎีทางโภชนบำบัด โภชนาการชุมชน พิษวิทยาโภชนาการ และโภชนาการเชิงการทดลอง เพื่อนำไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม

3. สามารถริเริ่มคิดและวิจัยที่มีผลต่อการสร้างองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติใหม่ด้วยตนเอง

4. เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นํา สามารถให้ความเห็นในวิชาชีพ เพื่อการบริหารจัดการด้านงานวิจัยหรือองค์กร และรับผิดชอบอย่างสำคัญในการขยายองค์ความรู้และแนวปฏิบัติ รวมทั้งสร้างสรรค์แนวความคิดและ/หรือกระบวนการใหม่ในวิชาชีพ

5. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขและสถิติได้อย่างถูกต้อง สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ และใช้ภาษาอังกฤษในการนําเสนอผลงานทางวิชาการได้อย่างดี

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.  นักวิจัย หรือนักวิชาการ ในโรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ สถาบันวิจัย หรือสถาบันอุดมศึกษา

2. นักโภชนาการในโรงพยาบาล สถาบันสุขภาพ สถานบริการอาหาร สถานออกกำลังกาย บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ หรือกระทรวงสาธารณสุข

3. ที่ปรึกษาองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ

 

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

       ภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น หลักสูตรฯ กำหนดผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (PLOs) คือเพื่อคาดหวังให้บัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถ :

1. ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม และจริยธรรม มีจรรยาบรรณ และเจตนคติที่ดีในการปฏิบัติงานและการทำวิจัย มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2. สังเคราะห์องค์ความรู้เชิงลึกทางด้านโภชนบำบัด โภชนาการชุมชน พิษวิทยาโภชนาการ โภชนาการเชิงการทดลอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในบริบทใหม่ ที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับอาเซียนและสากล เพื่อพัฒนาและทดสอบทฤษฎีใหม่ หรือค้นหาคำตอบใหม่ที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม 
3. วิเคราะห์ประเด็นและปัญหาสำคัญทางโภชนาการ โดยบูรณาการองค์ความรู้เชิงลึกด้านโภชนศาสตร์และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยวิธีการใหม่ๆในการตอบสนองความต้องการของชาติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต  
4. ทำงานวิจัยด้านโภชนศาสตร์เชิงลึกได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องและเป็นระบบ เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม และตอบสนองการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน
5. แสดงภาวะผู้นําที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและพร้อมทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวและแสดงความคิดเห็นบนจุดยืนของ พื้นฐานความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ของโภชนศาสตร์ และริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน 
6. ประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์และประมวลผล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสาร และใช้ภาษาอังกฤษในการนําเสนอผลงานทางวิชาการและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

 

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน 

     จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 -16.30 น.)

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรอง หรือ

2. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ

3. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ  

4. สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง

5. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

โครงสร้างหลักสูตร

      จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง  เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 หลักสูตรปริญญาเอก แบบ 2 ดังนี้

 

                             1) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน  

ไม่นับหน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

20  หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

5  หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

48   หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

                    78 หน่วยกิต

2) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่นๆ

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน  

ไม่นับหน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

 9  หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

  4  หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

36  หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

49  หน่วยกิต

                             3) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์

หมวดวิชาบังคับ     

  6   หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

  6   หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

36   หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

48  หน่วยกิต

 

 

4) สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความ ชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง

 

หมวดวิชาบังคับ     

  6   หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

  6   หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

36   หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

48  หน่วยกิต

 

รายวิชาในหลักสูตร

1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน   ไม่นับหน่วยกิต

                                                                                      หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

RUNU

501

Fundamental Nutritional Biology and Biochemistry

2 (2-0-4)

2. หมวดวิชาบังคับ

 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 20 หน่วยกิต   

NUNU

605

Advanced Nutrition Science

3 (3-0-6)

NUNU

633

Ph.D. Seminar in Nutrition

3 (3-0-6)

RANU

601

Nutrition Science

3 (3-0-6)

RANU

603

Biostatistics in Nutrition

2 (2-0-4)

RANU

608

Nutrition Assessment

3 (3-0-6)

RANU

609

Research Methodology in Nutrition

3 (3-0-6)

RANU

629

Nutritional Toxicology

1 (1-0-2)

RANU

637

Critical Reading and Thinking in Nutrition

2 (2-0-4)

               

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาอื่นๆ 9 หน่วยกิต

NUNU

605

Advanced Nutrition Science

3 (3-0-6)

NUNU

633

Ph.D. Seminar in Nutrition

3 (3-0-6)

RANU

601

Nutrition Science

3 (3-0-6)

 

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์  หรือ

สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง       6 หน่วยกิต

NUNU

605

Advanced Nutrition Science

3 (3-0-6)

NUNU

633

Ph.D. Seminar in Nutrition

3 (3-0-6)

 

3. หมวดวิชาเลือก 

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  5 หน่วยกิต

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่นๆ  4 หน่วยกิต

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์  หรือ

สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง      6 หน่วยกิต

NUNU

608

Advanced Nutritional Toxicology

3 (3-0-6)

NUNU

622

Advanced in Clinical Nutrition

3 (3-0-6)

NUNU

631

Advanced Nutrition in Carbohydrates and Lipid

3 (3-0-6)

NUNU

634

Current Impacts of Nutrition and Toxicology on Health

3 (3-0-6)

NUNU

635

Nutrigenomics in Nutritional Research

3 (3-0-6)

NUNU

636

Application of Stable Isotope in Food and Nutrition

2 (2-0-4)

NUNU

637

Global Perspectives of Nutrition for Health

3 (3-0-6)

 

4. วิทยานิพนธ์ 

NUNU

699

Dissertation

36 (0-144-0)

NUNU

799

Dissertation

48 (0-192-0)

 

แผนการศึกษา
1. สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

แผนการศึกษาปริญญาตรีต่อเอกโภชนศาสตร์ปี2561

 

2. สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาอื่นๆ

แผนการศึกษาปริญญาโทอื่นต่อเอกโภชนศาสตร์ปี2561

 

3. สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความ ชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง

แผนการศึกษาปริญญาโทโภขนศาสตร์ต่อเอกโภชนศาสตร์ปี2561

 

 

ประมาณค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร